พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล

โดย ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์

มัณฑนา  เหมชะญาติ

 

        การสังเคราะห์ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  โดยมุ่งวิเคราะห์และสังเคราะห์ในส่วนของผลการวิจัย จากรายงานวิจัยในประเด็นดังกล่าวในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวน ๒ เรื่อง คือ (๑) การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล โดยยศพล เหลืองโสมนภา  เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และสาคร พร้อมเพราะ (๒๕๕๑) และ (๒) พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และโครงการปกติของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี โดยทองสวย สีทานนท์ และยศพล เหลืองโสมนภา (๒๕๕๓) ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้

        พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล แบ่งเป็น ๖ องค์ประกอบ ได้แก่ (๑) ส่งเสริมสัมพันธภาพในการช่วยเหลือและไว้วางใจ (๒) สนับสนุนแหล่งทรัพยากรแบบองค์รวม (๓) เสริมสร้างศรัทธาและคุณค่าในตนเอง (๔) สร้างค่านิยมการรับใช้เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น (๕) เป็นแบบอย่างและผู้เสริมพลัง และ (๖) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการเรียนการสอน  ตามกรอบแนวคิดพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรซึ่งแบ่งเป็น ๖ องค์ประกอบนี้ เมื่อนำมาใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ในภาพรวมและรายองค์ประกอบพบว่าอยู่ในระดับดี  โดยนักศึกษาในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และนักศึกษาในระบบการรับปกติ ซึ่งได้รับการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเหมือนกันตั้งแต่ชั้นปีที่ ๒ ถึง ชั้นปีที่ ๔  มีการรับรู้พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลแตกต่างกัน โดยนักศึกษาในระบบการรับปกติรับรู้ว่าอาจารย์พยาบาลมีพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรทั้งภาพรวมและรายองค์ประกอบ ๖ องค์ประกอบ สูงกว่าการรับรู้ของนักศึกษาในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

        ในการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ ได้ข้อมูลที่บ่งชี้ว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ยังมีจำนวนน้อย ดังนั้น ข้อสรุปจากการสังเคราะห์ผลการวิจัยจึงมีข้อจำกัดตามจำนวนผลงานวิจัย แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ผลการวิจัย ๒ เรื่องนี้ร่วมกัน ช่วยให้เห็นประเด็นสำคัญอย่างน้อย ๒ ประเด็น คือ (๑) กระบวนการพัฒนาเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลในการวิจัยเรื่องที่ ๑  ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๔๙ จำนวน ๑,๓๒๐ คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก อาจเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับนักศึกษาในระบบการรับปกติมากกว่านักศึกษาในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีผลถึงความแตกต่างในการรับรู้พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลตามผลการวิจัยในเรื่องที่ ๒ ฉะนั้น การนำแบบสอบถามเพื่อวัดพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลไปใช้ในนักศึกษากลุ่มต่างๆที่มีความแตกต่างไปจากกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยที่ ๑ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง และ (๒) การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลในครั้งต่อไปควรใช้แบบสอบถามดังกล่าวกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาพยาบาลในภาคใต้เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาต่างศาสนาและวัฒนธรรมโดยอาจารย์และนักศึกษาอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งอาจช่วยให้มีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาเครื่องมือวิจัยให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมมากขึ้น

Tags: , , ,

มาเลิกสูบบุหรี่กันดีกว่า (ตอนที่ 2)

     ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปจากการรณรงค์ของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน  โดยเฉพาะนับตั้งแต่ประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงอนุสัญญาที่ร่วมกับ 191 ประเทศทั่วโลก ในการควบคุมการบริโภคยาสูบในรูปแบบต่างๆ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นผลให้มาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบมีความเข้มข้นเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน หลายๆ ประเทศ เช่น การขึ้นภาษีบุหรี่ที่มีผลให้ราคาบุหรี่แพงขึ้น การห้ามโฆษณาบุหรี่ในสื่อทุกประเภท การห้ามวางโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย การกำหนดให้มีฉลากคำเตือนด้านสุขภาพเป็นรูปภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลังของซองบุหรี่ และการกำหนดพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่จำนวนมากต้องการเลิกสูบบุหรี่

     จากการศึกษาวิจัยของคณาจารย์วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่เคยพยายามลองเลิกสูบบุหรี่มาก่อนแล้ว บางคนเคยพยายามเลิกมาแล้ว 10 ครั้ง  สาเหตุสำคัญของการเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ เป็นเพราะความรู้สึกของตนเองที่คิดว่าไม่สามารถเลิกได้ เพราะเลิกแล้ว มีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย เครียด ไม่มีสมาธิ ทำงานที่ใช้สมองได้ช้าลง โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเลิกสูบ ซึ่งระดับนิโคตินในเลือดลดลง  ดังนั้น ในช่วงสัปดาห์แรก จึงเป็นช่วงที่ผู้เลิกสูบุหรี่ต้องความอดทนต่ออาการขาดนิโคตินให้ได้จึงจะเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ  นอกจากนั้น เมื่อเลิกสูบได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 1-2 เดือน การเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น งานเลี้ยง สังสรรค์ ดื่มสุรากับเพื่อน ก็เป็นสถานการณ์ที่เอื้อต่อการกลับไปสูบบุหรี่อีก และถ้าคนใกล้ชิด เช่น ภรรยาไม่ได้แสดงปฏิกิริยาคัดค้านการกลับไปสูบบุหรี่ของสามี พฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำก็จะกลับมาอีก

     ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ของวิทยาลัยพยาบาลฯ ดังกล่าว ได้ข้อสรุปสำหรับการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่ ดังนี้

          1. การให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพของผู้สูบและคนใกล้ชิด โดยเฉพาะคนในบ้าน ซึ่งเป็นเด็ก และหญิงตั้งครรภ์ โดยชี้ให้เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างความตระหนักและความพร้อมในการเลิกสูบบุหรี่

          2. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลดีของการเลิกสูบบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพของผู้สูบเองและคนที่อยู่ใกล้ชิด และผลดีต่อสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัวที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายรายวันในการซื้อบุหรี่ และเศรษฐกิจของประเทศที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาประชาชนที่เจ็บป่วยโรคอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่

          3. การแนะนำเทคนิคและวิธีการเลิกสูบบุหรี่แก่ผู้ที่พร้อมจะเลิก เช่น การวางแผนเลิกโดยมีผู้รู้เห็นเป็นพยาน การเลิกแบบหักดิบ การใช้นิโคตินทดแทนถ้าจำเป็น การใช้บริการช่วยเลิกสูบบุหรี่ของหน่วยงานต่างๆ การหลีกเลี่ยงหรือกำจัดปัจจัยที่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย การดื่มน้ำมากๆ และการใช้วิธีการต่างๆที่ช่วยลดอาการต้องการสูบบุหรี่ เช่น การเคี้ยวมะนาวที่ฝานเป็นชิ้นเล็กๆคลุกกับเกลือ และการเคี้ยวหมากฝรั่ง เป็นต้น

          4. เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ หรือคนใกล้ชิดให้การสนับสนุนด้านจิตใจ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การพูดคุยทางโทรศัพท์เพื่อให้ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้ระบายความรู้สึก และเป็นการสร้างความเข้าใจ รับฟังปัญหาและให้กำลังใจ โดยปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสัปดาห์แรกของการเลิกสูบบุหรี่ นอกจากนั้น ยังควรให้ข้อมูลย้อนกลับ เช่น ชมเชยเมื่อปฏิบัติได้สำเร็จในแต่ละขั้นหรือแต่ละช่วงเวลาที่สามารถเอาชนะความต้องการอยากสูบบุหรี่ได้ เพื่อสร้างความมั่นใจ และความมุ่งมั่นในการเลิกสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งครบ 1 ปี จึงจะถือว่าเลิกสูบบุหรี่ได้

          5. การสนับสนุนโดยบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดและมีความสำคัญ เช่น ภรรยา บุตร พ่อ-แม่ และญาติพี่น้อง เป็นต้น โดยควรได้รับรู้และให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้น ในช่วงวาระสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิดของลูก วันขึ้นปีใหม่ หรือเมื่อเจ็บป่วยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็อาจใช้เป็นวันเริ่มต้นของการเลิกสูบบุหรี่ได้

          6. การติดตามความก้าวหน้าและผลอย่างจริงจัง โดยเจ้าหน้าที่และคนใกล้ชิด ซึ่งนับว่าเป็นแรงผลักดันให้เลิกสูบบุหรี่ เพราะเป็นความคาดหวังของผู้อื่น แต่ต้องปฏิบัติด้วยระมัดระวังและให้เกียรติ์

          7. การสนับสนุนให้ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ล้มเหลว โดยไม่ย่อท้อ จะช่วยให้เกิดกำลังใจในการเลิกครั้งต่อไป จนกว่าจะเลิกได้สำเร็จ

     โดยสรุป การเลิกสูบบุหรี่ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินความสามารถของผู้ติดบุหรี่ที่จะเลิกได้ ความตั้งใจจริงที่จะเลิก ถือเป็นปัจจัยความสำเร็จอันดับแรก ส่วนวิธีการปฏิบัติต่างๆนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามสภาพการณ์ของแต่ละบุคคล การเลิกสูบบุหรี่หรือการช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่มีผลอย่างยิ่งคนและสังคมในทุกระดับ ดังนั้น… มาเลิกสูบบุหรี่กันดีกว่า

Tags: ,

เวชปฏิบัติทันยุค 2

รายงานผลการประชุมการจัดการความรู้ เรื่อง เวชปฏิบัติทันยุค 2

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

ครั้งที่ 1/2554 วันที่ 3 พฤษภาคม 2554

ณ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ เวลา 10.00 – 12.00 น.

 

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. อ. โสภา               ลี้ศิริวัฒนกุล      ประธานการประชุม
  2. ดร.ศรีสกุล           เฉียบแหลม       กรรมการ
  3. อ. จิตติยา            สมบัติบูรณ์        กรรมการ
  4. อ. รัชชนก            สิทธิเวช            กรรมการ
  5. อ. ภโวทัย            พาสนาโสภณ   กรรมการ
  6. อ. จีราภา             ศรีท่าไฮ            กรรมการ
  7. อ. พุฒตาล          มีสรรพวงศ์        กรรมการ
  8. อ. วิภารัตน์          ภิบาลวงษ์         กรรมการ
  9. อ. นิศารัตน์          รวมวงษ์            กรรมการ
  10. อ. นครินทร์          สุวรรณแสง      กรรมการ
  11. อ. บุษยารัตน์       ลอยศักดิ์          กรรมการ และเลขาการประชุม

ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม

  1. ดร.มัณฑนา          เหมชะญาติ       ประชุม
  2. อ. สุมาลี               ราชนิยม             เยี่ยมบ้านนักศึกษาที่ขอรับทุนกยศ.
  3. อ. คณิสร              แก้วแดง             เยี่ยมบ้านนักศึกษาที่ขอรับทุนกยศ.
  4. อ. ศราวุธ              อยู่เกษม            เก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพที่ จ.ตราด

เรื่องที่ประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการไปอบรมฟื้นฟูวิชาการสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติครั้งที่ 2 เรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2
ผู้ไปอบรมที่เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางโสภา               ลี้ศิริวัฒนกุล

2. นางรัชชนก             สิทธิเวช

3. นางสาวบุษยารัตน์ ลอยศักดิ์

 

วันที่อบรม 14 – 18 กุมภาพันธ์ 2554   ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา [...]

Tags: , ,

มาเลิกสูบบุหรี่กันดีกว่า (ตอนที่ 1)

     ในอดีต การสูบบุหรี่เป็นที่ยอมรับของสังคม แต่ในปัจจุบันมีการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสูบบุหรี่ อย่างมาก เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการที่สามารถป้องกันได้  โรคสำคัญๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ถุงลมปอดโป่งพอง หลอดลมอักเสบ และมะเร็งของอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด กล่องเสียง กระเพาะปัสสาวะ และไต นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์ ยังทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือตายทันทีหลังคลอด  องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ว่าในช่วง ค.ศ. 1990-1999 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เนื่องมาจากการสูบบุหรี่ 1 คน ในทุกๆ 10 วินาที หรือมีผู้เสียชีวิต 3 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี  และถ้าไม่ได้รับการแก้ไข  อัตราการเสียชีวิตของคนที่เนื่องมาจากการสูบบุหรี่ จะเพิ่มเป็น 1 คน ในทุกๆ 3 วินาที หรือมีผู้เสียชีวิต 10 ล้านคน ในแต่ละปีในช่วง ค.ศ. 2020-2030  โดยที่ 70% ของผู้ที่เสียชีวิตอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

     โดยทั่วไป คนจะเริ่มสูบบุหรี่ในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น ในหลายประเทศ อายุของเด็กที่เริ่มสูบบุหรี่มีแนวโน้มน้อยลง โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุต่ำกว่า 15 ปี ผลจากการศึกษาวิจัยของคณาจารย์วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี พบว่าความตั้งใจในการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นได้รับอิทธิพลมาจากการที่เห็นว่าการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่ ช่วยให้คลายเครียด เป็นวิธีการช่วยให้เข้ากับกลุ่มเพื่อนได้ และการปฏิเสธการสูบบุหรี่ร่วมกับเพื่อน เป็นเรื่องยาก ดังนั้น ถ้าวัยรุ่นหรือผู้ปกครองที่ไม่ต้องการให้บุตร-หลาน สูบบุหรี่จนกระทั่งติดนิโคติน ซึ่งจะเลิกได้ยากมาก ก็ควรตระหนักถึงอิทธิพลของสิ่งเหล่านี้ที่ส่งผลให้วัยรุ่นสูบบุหรี่

     ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ โดยคณาจารย์ของวิทยาลัยฯ อีกเรื่องหนึ่ง พบว่า การรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่โดยนักศึกษาพยาบาล เป็นระยะเวลา 6 เดือน ช่วยให้ญาติ หรือคนรู้จักของนักศึกษาจำนวน 232 คน สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ในช่วงเวลา 1-6 เดือน ประมาณร้อยละ 20 สำหรับเหตุผลสำคัญของเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ คือ ผู้สูบบุหรี่ตระหนักถึงความสำคัญของการเลิกสูบุหรี่ต่อสุขภาพของตนเอง และต่อผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เช่น ภรรยาและบุตร  การเลิกสูบบุหรี่ช่วยลดค่าใช้จ่าย และการมีความเห็นว่าสังคมทั่วไปต่อต้านการสูบบุหรี่มากขึ้น  นอกจากนั้น ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ของสามีที่ภรรยาตั้งครรภ์ พบว่า การให้คำปรึกษาและติดตามเป็นระยะอย่างต่อเนื่องโดยอาจารย์พยาบาลผู้วิจัยช่วยให้สามีที่ภรรยากำลังตั้งครรภ์เลิกสูบบุหรี่ได้นานเกิน 6 เดือน ประมาณร้อยละ 15 เหตุผลสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ได้แก่ เลิกบุหรี่เพื่อลูกและเพื่อสุขภาพของตนเอง และภรรยาต้องการให้เลิก  สำหรับเหตุผลสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่ไม่สำเร็จ คือ การทนต่ออาการถอนบุหรี่ (นิโคติน) ไม่ได้  ทำให้รู้สึกเครียดในช่วงเลิกสูบบุหรี่ ขาดแรงจูงใจในการเอาชนะความอยากสูบบุหรี่ ไม่กล้าพอที่จะเลิกสูบบุหรี่ เพราะยังมีเพื่อนๆที่ยังสูบบุหรี่ และการปฏิเสธบุหรี่จากเพื่อนไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงสังสรรค์ มีการดื่มสุรา รวมทั้งบางคนมีความเครียดเนื่องมาจากเรื่องอื่นๆ ในช่วงที่พยายามเลิกสูบบุหรี่ จึงไม่สามารถควบคุมตนเองให้เลิกสูบบุหรี่ได้

     สำหรับประเทศไทย ความพยายามในการรณรงค์ให้ประชาชนไม่สูบบุหรี่โดยหน่วยงานต่างๆ มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็นับว่าได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่กิจกรรมเพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ยังคงต้องมีการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งต่อไปด้วยความร่วมมือของหลายๆ ภาคส่วน เพราะการตลาดของฝ่ายที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับยาสูบมีกลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น เด็ก และสตรี เพื่อการได้ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าประเภทนี้ ทั้งบุหรี่ที่ผลิตในประเทศและบุหรี่นำเข้ามาจากต่างประเทศ  ดังนั้น เพื่อการมีสุขภาพที่ดี… มาเลิกสูบบุหรี่กันดีกว่า

Tags: ,

สรุปประเด็นสำคัญการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเตรียม นศ.ปี 4 รุ่น 43 เพื่อสอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553

รายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 นักศึกษารุ่นที่ 43  เพื่อสอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ และอาจารย์ผู้สอน

การประชุม ครั้งที่ 4 วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประธานการประชุม: ดร.มัณฑนา   เหมชะญาติ

ผู้บันทึกการประชุม: อ.รัชชนก  สิทธิเวช                                

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร                                        2. อ.ธนพร  ศนีบุตร

3. อ.นันทวัน  ใจกล้า                                                         4. อ.สุชาดา  นิ้มวัฒนากุล

5. อ.จารุณี  ตฤณมัยทิพย์                                                   6. อ.อรัญญา  บุญธรรม

7. ดร.พรฤดี  นิธิรัตน์                                                         8. อ.รัชสุรีย์  จันทเพชร

9. อ.จริยาพร  วรรณโชติ                                                 10. อ.นุชนาถ  ประกาศ

11. อ.รุ่งนภา  เขียวชะอ่ำ                                                  12. อ.สุกัญญา  ขันวิเศษ

13. อ.จันทรมาศ  เสาวรส                                                 14. อ.เพ็ญนภา  พิสัยพันธ์

15. อ.จันทร์เพ็ญ  อามพัฒน์                                             16. อ.อารีรัตน์  วิเชียรประภา

17. อ.จิตติยา  สมบัติบูรณ์                                                 18. อ.รัชชนก  สิทธิเวช

19. อ.วิภารัตน์  ภิบาลวงษ์                                                20. อ.นครินทร์  สุวรรณแสง

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากผลการสอบสภาการพยาบาล (แยกตามรายวิชา) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2554 ตามเอกสารที่แจกให้ในการประชุม ผลการสอบเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี คิดเป็น ร้อยละ 54.39

เป้าหมายการสอบในปี พ.ศ. 2555  ของแต่ละรายวิชา  ตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 97.00  ขึ้นไป  ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการสอบผ่านครั้งแรก 8 รายวิชา เป็นไปตามเป้าหมาย ร้อยละ 70.00 ขึ้นไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ มีดังนี้ [...]

Tags: , , , ,