การพยาบาลแบบประคับประคอง Heart to Heart: Quality of Palliative care Nursing

สรุปสาระจากการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออก เรื่องจากใจถึงใจ : คุณภาพการพยาบาลแบบประคับประคอง Heart to Heart: Quality of Palliative care Nursing วันที่ 30 พฤศจิกายน-  1 ธันวาคม 2012 ปาฐกถาพิเศษเรื่องจากใจถึงใจ:มิติแห่งคุณภาพการพยาบาล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา  ยูนิพันธ์ อุดมการณ์ในการทำงานของพยาบาลในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันความท้าทายในระบบสุขภาพ Palliative care คือ อะไร ทำอย่างไรถึงจะเกิด Palliative care คือ การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลแบบองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณของผู้ป่วย ควบคู่ไปกับอาการทางกาย สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคที่คุมคามต่อชีวิต  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตในระยะเวลาที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่มีอาการทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนทางกายและจิตใจ รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวได้เมื่อผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต พยาบาลกับการดูแลแนวคิด Palliative care แบบองค์รวม 1)      พยาบาลในบทบาทผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจต่อการดูแลแบบ Palliative care และ Focus ที่ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล  และ [...]

Tags: , , , , , , , ,

การเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความมั่นใจของนักศึกษาในการปฏิบัติงาน รายวิชา พย.๑๓๒๒ A/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ๑A

การเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความมั่นใจของนักศึกษาในการปฏิบัติงาน ณ แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว (ANC) โรงพยาบาลพระปกเกล้า รายวิชา พย.๑๓๒๒ A/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ๑A ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ …………………………………………………………………….. ผู้เขียน  อาจารย์ขนิษฐา  เมฆกมล ผู้ร่วมจัดการความรู้       อาจารย์ธนพร  ศนีบุตร  อาจารย์อารีรัตน์  วิเชียรประภา และนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๓ แต่ละกลุ่มที่ขึ้นปฏิบัติงาน ณ แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว (ANC) โรงพยาบาลพระปกเกล้า           จากผลการสำรวจความพึงพอใจของการได้รับบริการจากนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ที่ปฏิบัติงาน ณ แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว (ANC) โรงพยาบาลพระปกเกล้า พบว่าความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อนักศึกษาที่มากที่สุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ พฤติกรรมการให้บริการยิ้มแย้ม แจ่มใส การเปิดโอกาสให้พูดคุยซักถาม และการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สำหรับข้อที่พบว่าผู้รับบริการพึงพอใจน้อยที่สุดใน ๓ อันดับสุดท้าย ได้แก่ การจดจำในรายละเอียดและความต้องการของผู้รับบริการ ระยะเวลาในการซักประวัติและระยะเวลาในการตรวจร่างกาย/การตรวจครรภ์ จากข้อมูลดังกล่าวอาจารย์นิเทศและนักศึกษาที่ขึ้นปฏิบัติงาน จึงได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน [...]

Tags: , , , , , , , , , , ,

DM Care Model ในชุมชน

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  และกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่  9 วันที่  10 กันยายน  2555  เวลา 13:30-16:00 น. ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี   เรื่อง    DM Care Model ในชุมชน วิทยากร    นายแพทย์วีระ  สุเจตน์จิตต์   นายแพทย์เชี่ยวชาญ  ผู้อำนวยการ รพ.แหลมสิงห์ ผู้เข้าร่วมประชุม  จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  20 คน จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  10  คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   30  คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้           สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของนายแพทย์วีระ  สุเจตน์จิตต์ การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาล แหลมสิงห์ ชื่อโครงการ “สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยสไตล์แหลมสิงห์ Laemsing Chronic Care Model”  [...]

Tags: , , , , ,

ประโยชน์ของการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ ในงานส่งเสริมสุขภาพจิต

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง “ประโยชน์ของการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ ในงานส่งเสริมสุขภาพจิต” ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.อรัญญา  บุญธรรม วันที่ประชุม     20  กันยายน 2555 อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ 2. อ.อรัญญา     บุญธรรม 3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม 4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม 5. อ.ลลนา        ประทุม 6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์ 7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการจัดโครงการบูรณาการการเรียนการสอนให้นักศึกษาพยาบาลได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในโครงการบริการวิชาการแก่สังคมด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชนเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างยิ่ง เพราะแต่ละคนต่างมีศักยภาพที่มีความเด่นแตกต่างกัน  นักศึกษาพยาบาลมีความรู้ด้านตำราแต่ขาดทักษะและประสบการณ์ด้านการทำงานในชุมชน  ส่วนอสม.มีทักษะในการอยู่ร่วมกับชุมชนแต่อาจจะขาดองค์ความรู้เชิงวิชาการ ต่างคนต่างถ่ายทอดประสบการณ์ที่ตนเองมี ต่างเติมเต็มให้แก่กันและกัน สิ่งที่ได้คือประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่า ซึ่งหาไม่ได้จากตำราใดๆ  บทบาทและบุคลิกภาพของนักศึกษาพยาบาลที่เข้าไปปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตให้แก่ชุมชนได้  เป็นที่รักใคร่และยอมรับของคนในชุมชนคือ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือว่าตนเองมีความรู้เหนือกว่าคนในชุมชน  ยอมรับและรับฟังปัญหาของเขาโดยไม่ใช้ตนเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจแทนผู้อื่น  เอาใจใส่ที่จะช่วยเหลือทั้ง case และครอบครัวอย่างเต็มใจ [...]

Tags: , , , ,

กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง “กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต” ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม วันที่ประชุม     13  กันยายน 2555 อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ 2. อ.อรัญญา     บุญธรรม 3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม 4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม 5. อ.ลลนา        ประทุม 6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์ 7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการในโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตของคนในชุมชนที่ทำให้อสม.ได้ใช้ศักยภาพของเขาในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ลดปัญหาการฆ่าตัวตาย สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านจิตใจให้แก่คนในชุมชนนี้ได้เกิดจาก กระบวนการ 3 ข คือ เข้าใจ เข้าถึง เข้าร่วมพัฒนา โดยมีกลยุทธ์ดังนี้ เข้าใจ ใช้วิธีการให้ความรู้ทางภาคทฤษฎี โดยการจัดประชุมอบรมให้ความรู้เพื่อเป็นฐานความรู้เรื่องสุขภาพจิตและบทบาทการทำงานของอสม. เข้าถึง  เป็นการนำความรู้จากภาคทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการลงฝึกปฏิบัติกับคนในพื้นที่จริงโดยมีอาจารย์พยาบาลเป็นผู้นิเทศการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด เข้าร่วมพัฒนา [...]

Tags: , , , , ,