มาเลิกสูบบุหรี่กันดีกว่า (ตอนที่ 2)

     ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปจากการรณรงค์ของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน  โดยเฉพาะนับตั้งแต่ประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงอนุสัญญาที่ร่วมกับ 191 ประเทศทั่วโลก ในการควบคุมการบริโภคยาสูบในรูปแบบต่างๆ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นผลให้มาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบมีความเข้มข้นเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน หลายๆ ประเทศ เช่น การขึ้นภาษีบุหรี่ที่มีผลให้ราคาบุหรี่แพงขึ้น การห้ามโฆษณาบุหรี่ในสื่อทุกประเภท การห้ามวางโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย การกำหนดให้มีฉลากคำเตือนด้านสุขภาพเป็นรูปภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลังของซองบุหรี่ และการกำหนดพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่จำนวนมากต้องการเลิกสูบบุหรี่      จากการศึกษาวิจัยของคณาจารย์วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่เคยพยายามลองเลิกสูบบุหรี่มาก่อนแล้ว บางคนเคยพยายามเลิกมาแล้ว 10 ครั้ง  สาเหตุสำคัญของการเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ เป็นเพราะความรู้สึกของตนเองที่คิดว่าไม่สามารถเลิกได้ เพราะเลิกแล้ว มีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย เครียด ไม่มีสมาธิ ทำงานที่ใช้สมองได้ช้าลง โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเลิกสูบ ซึ่งระดับนิโคตินในเลือดลดลง  ดังนั้น ในช่วงสัปดาห์แรก จึงเป็นช่วงที่ผู้เลิกสูบุหรี่ต้องความอดทนต่ออาการขาดนิโคตินให้ได้จึงจะเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ  นอกจากนั้น เมื่อเลิกสูบได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 1-2 เดือน การเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น งานเลี้ยง สังสรรค์ ดื่มสุรากับเพื่อน ก็เป็นสถานการณ์ที่เอื้อต่อการกลับไปสูบบุหรี่อีก และถ้าคนใกล้ชิด เช่น [...]

Tags: ,

มาเลิกสูบบุหรี่กันดีกว่า (ตอนที่ 1)

     ในอดีต การสูบบุหรี่เป็นที่ยอมรับของสังคม แต่ในปัจจุบันมีการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสูบบุหรี่ อย่างมาก เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการที่สามารถป้องกันได้  โรคสำคัญๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ถุงลมปอดโป่งพอง หลอดลมอักเสบ และมะเร็งของอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด กล่องเสียง กระเพาะปัสสาวะ และไต นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์ ยังทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือตายทันทีหลังคลอด  องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ว่าในช่วง ค.ศ. 1990-1999 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เนื่องมาจากการสูบบุหรี่ 1 คน ในทุกๆ 10 วินาที หรือมีผู้เสียชีวิต 3 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี  และถ้าไม่ได้รับการแก้ไข  อัตราการเสียชีวิตของคนที่เนื่องมาจากการสูบบุหรี่ จะเพิ่มเป็น 1 คน ในทุกๆ 3 วินาที หรือมีผู้เสียชีวิต 10 ล้านคน ในแต่ละปีในช่วง ค.ศ. 2020-2030  โดยที่ 70% ของผู้ที่เสียชีวิตอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย      โดยทั่วไป [...]

Tags: ,