“จะทำให้นักศึกษาจดจำได้ดีต้องทำอย่างไร? ”

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น

“จะทำให้นักศึกษาจดจำได้ดีต้องทำอย่างไร? ”

วันที่ประชุม 3 พฤษภาคม 2554  เวลา 11.00 – 11.30 น

ผู้นำและบันทึกการประชุม อ. ยศพล   เหลืองโสมนภา

ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลเด็ก  ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุดังนี้

  1. อ.คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
  2. อ. สุชาดา  นิ้มวัฒนากุล
  3. อ. สาคร พร้อมเพราะ
  4. อ. คงขวัญ  จันทรเมธากุล
  5. อ. สุปราณี  ฉายวิจิตร์
  6. อ. นวนันท์  ปัทมสุทธิกุล
  7. อ. รัชสุรีย์  จันทเพชร
  8. อ. วารุณี  สุวรวัฒนกุล
  9. อ. จริยาพร  วรรณโชติ
  10. อ.พจนาถ  บรรเทาวงษ์
  11. อ. นุชนาถ  ประกาศ
  12. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
  13. อ. ศศิโสภิต แพงศรี
  14. อ. สุภา  คำมะฤทธิ์
  15. อ. สุนิสา  ดีทน
  16. อ. อรพรรณ  บุญลือ
  17. ดร. ศรีสุดา  งามขำ

 

สรุปเนื้อหาการประชุมและแลกเปลี่ยนความรู้

ก่อนอื่นควรเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทเมื่อคนเรามีการใช้ความจำ   ซึ่งมีจุดที่เกี่ยวข้องดังนี้

[...]

Tags: , , , , , ,

โรคเรื้อรังในหญิงตั้งครรภ์ “เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์”

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่ 3 วันที่ 21 มีนาคม 2554  เวลา 13.30 -16.00 น.

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์   วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง โรคเรื้อรังในหญิงตั้งครรภ์ “เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์”

วิทยากร อ.ทิพวรรณ   ลิ้มประไพพงษ์   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ดร. ศรีสุดา   งามขำ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  32  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  12  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  44  คน

[...]

Tags: , , , ,

บรูณาการรายวิชา พย.1412 กับงานวิจัยผลของรางจืด

ชื่อโครงการ บริการวิชาการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา พย.1412 ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว

และชุมชน 2 กับงานวิจัยเรื่องผลของรางจืดร่วมกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการได้รับ

สารเคมีเข้าสู่ร่างกายในผู้ที่มีผลการตรวจสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย

จัดโครงการเมื่อ วันที่   16 – 28  พฤศจิกายน  2553

สรุปกิจกรรมโครงการโดยย่อ

การดำเนินโครงการบริการวิชาการโครงการนี้เป็นโครงการที่มีการบูรณาการในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ซึ่งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553 เข้าร่วมโครงการ   มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ และการวิจัย โดยปฏิบัติกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการและพยาบาลเวชปฏิบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาเรืองดังนี้

1. เจาะเลือดตรวจหาระดับสารเคมีในเลือดก่อนและหลังการให้รับประทานรางจืดเถา

2. ประเมินความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

3. ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

-   จากการพ่นสารเคมีฆ่าแมลงและกำจัดวัชพืช

-    จากการรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิตประจำวัน

4. ให้ผู้รับบริการที่มีระดับสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยรับประทานรางรางจืดเถาจำนวน 5   ใบต้มกับน้ำ 250  ซีซี เดือดนาน 15 นาที ทิ้งไว้พออุ่นดื่มให้หมดครั้งเดียวเป็นเวลา 7วันก่อนอาหารเช้า

5.  แจกกล้าต้นรางจืดเถา

6. สังเกตพฤติกรรมการใช้สารเคมี

การสังเคราะห์สาระ ความรู้  และประเด็นที่น่าสนใจ

1. เกษตรกรไม่สามารถใช้อุปกรณ์ปิดปากจมูกขณะพ่นยาได้เนื่องจากต้องพ่นยาเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่า 3  ชั่วโมงต่อครั้งติดต่อกัน ทำให้มีเหงื่อออกชุ่มฟองน้ำที่อยู่ด้านในของอุปกรณ์ปิดปากจมูกทำให้หายใจไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องเลิกใช้ และใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกแทนเพราะหายใจสะดวกกว่าทำให้ทำงานได้นานกว่าแต่หลังพ่นยาผ้าที่ใช้จะเปียกชุ่มด้วยเหงื่อและละอองยา

2. ภายหลังได้รับความรู้ ประชาชนสามารถให้ข้อมูลการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้ถูกต้องมากขึ้น

3 ภายหลังจากที่ระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับปลอดภัย พบว่าผู้ที่รับประทานน้ำรางจืดเถาในขนาดที่กำหนดให้ต่อวัน เป็นจำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์ จะสามารถรักษาระดับความปลอดภัยของสารเคมีในเลือดได้

4 เกษตรกรที่มีอาชีพพ่นสารเคมีฆ่าแมลงและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นประจำ  ภายหลังพ่นยาได้

รับประทานรางจืดเถาตามจำนวนที่กำหนดทันทีตามจำนวนที่กำหนด1ครั้ง ภายหลังชำระล้างทำความสะอาดร่างกาย เป็นประจำทุกครั้งหลังพ่นยา พบว่ามีระดับสารเคมีในเลือดในระดับปลอดภัย

นำเสนอต่อสาธารณะผ่านช่องทางใด

- ที่ประชุมหมอพื้นบ้านและบุคลากรแพทย์แผนไทยโรงเรียนแพทย์แผนไทยจังหวัดจันทบุรี ในการประชุมเสวนาเรื่อง “สมุนไพรล้างพิษ”

-  สถานีวิทยุชุมชนของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี FM 95.75 เมกกะเฮิร์ต

-  www.pnc.ac.th

นำเสนอต่อบุคลากรในหน่วยงานผ่านช่องทางใด

- เสียงตามสายของวิทยาลัย

- บอร์ดประชาสัมพันธ์

Tags: , , , , ,

จะทำให้นักศึกษาจดจำได้ดีต้องทำอย่างไร?

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น

“จะทำให้นักศึกษาจดจำได้ดีต้องทำอย่างไร? ”

วันที่ประชุม 3 พฤษภาคม 2554  เวลา 11.00 – 11.30 น

ผู้นำและบันทึกการประชุม อ. ยศพล   เหลืองโสมนภา

ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลเด็ก  ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุดังนี้

  1. อ.คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
  2. อ. สุชาดา  นิ้มวัฒนากุล
  3. อ. สาคร พร้อมเพราะ
  4. อ. คงขวัญ  จันทรเมธากุล
  5. อ. สุปราณี  ฉายวิจิตร์
  6. อ. นวนันท์  ปัทมสุทธิกุล
  7. อ. รัชสุรีย์  จันทเพชร
  8. อ. วารุณี  สุวรวัฒนกุล
  9. อ. จริยาพร  วรรณโชติ
  10. อ.พจนาถ  บรรเทาวงษ์
  11. อ. นุชนาถ  ประกาศ
  12. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
  13. อ. ศศิโสภิต แพงศรี
  14. อ. สุภา  คำมะฤทธิ์
  15. อ. สุนิสา  ดีทน
  16. อ. อรพรรณ  บุญลือ
  17. ดร. ศรีสุดา  งามขำ

 

สรุปเนื้อหาการประชุมและแลกเปลี่ยนความรู้

ก่อนอื่นควรเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทเมื่อคนเรามีการใช้ความจำ   ซึ่งมีจุดที่เกี่ยวข้องดังนี้

1) กระบวนการ synaptic consolidation และ systemic consolidation

synaptic consolidation  เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง(reorganization)ที่ synapses  โดยเมื่อมีตัวกระตุ้นเข้ามา 1 ครั้ง  โครงสร้างที่ synapses จะยังไม่เปลี่ยนอะไร   แต่เมื่อตัวกระตุ้นเข้ามาอีก  ก็จะเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวนั้นเลย    เมื่อมีตัวกระตุ้นเข้ามาเพิ่มขึ้นอีก  โครงสร้างที่ synapses ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆเช่นกัน  ทำให้เกิดเป็นความจำได้ดีขึ้น   ซึ่งสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงได้ดังภาพ

 

 

systemic consolidation  เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบประสาทเช่นกัน  แต่ต่าง จาก synaptic consolidation  ตรงที่ไม่ได้เกิดที่ synaptic  แต่เกิดที่ภาพรวมของสมอง  โดยเกิดที่ cortical circuits    และเวลาของการเกิดก็ต่างจาก synaptic consolidation   ตรงที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะค่อยเป็นค่อยไป  ต้องใช้เวลานานเป็นเดือน  เป็นปี

2) Standard model of consolidation

consolidation คือ  กระบวนการนำความรู้ใหม่มาเก็บให้เป็นความรู้ถาวรในสมอง  ซึ่งต้องผ่านกระบวนการ standard model of consolidation หรือเรียกว่ากระบวนการที่ทำให้เกิดความจำถาวร  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้    เมื่อสมองได้รับข้อมูลเข้ามากระตุ้นที่ cortical areas       hippocampus ก็จะทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นดังภาพ a     เมื่อเวลาผ่านไปสมองมีการใช้ความรู้ส่วนที่เก็บนี้อีกครั้งซึ่งอาจจะเป็นการถูกถามให้ตอบ  สมองก็จะมีการโยงใยข้อมูลมากขึ้นดังภาพ b    จนเกิดเป็นความจำติดที่ cortical areas ไปแล้ว   จุดนี้ hippocampus ก็จะไม่ทำงานแล้ว  เพราะ cortical areasสามารถเชื่อมโยงกันได้เองแล้วจนเป็นความจำถาวรดังภาพ c

 

 

จากการเปลี่ยนแปลงของสองบริเวณที่กล่าวมาข้างต้น   ดังนั้น หากจะให้ผู้เรียนเกิดการจดจำได้ดีและนานนั้น  มีกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้คิดว่าประเด็นหลักๆคือ

  1. ผู้สอนควรช่วยกันการตรอกย้ำข้อความรู้ที่ผู้เรียนควรจะต้องจดจำให้ได้เช่น   การเรียนเนื้อหาทฤษฏีเกี่ยวกับการตรวจร่างกายหรือการแปลค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาแล้ว    เมื่อนักศึกษาเริ่มฝึกภาคปฏิบัติไม่ว่าจะปฏิบัติ field ใด    หากมีข้อมูลที่ต้องตรวจร่างกายหรือมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ   ผู้สอนก็ต้องกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดด้วยเสมอไม่ใช่เป็นหน้าที่ของการฝึกภาควิชาการพยาบาลเด็กหรือผู้ใหญ่เท่านั้น  เมื่อนักศึกษาได้คิดอยู่เรื่อยๆ  จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ synap ดังข้อมูลข้างต้น  และก็จะเป็นความจำถาวรได้ดีขึ้น
  2. ที่ประชุมสะท้อนคิดว่า  การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบประกอบวิชาชีพจากสภาการพยาบาลนั้น  นอกเหนือจากการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพแล้ว    หากผู้เรียนได้ทำข้อสอบบ่อยๆก็จะกระตุ้นคิดและจำได้ดีขึ้น   ซึ่งฝ่ายวิชาการก็มีแนวคิดจะทำชุดข้อสอบประเภทรู้จำให้นักศึกษาได้ฝึกทำเช่นกัน

การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 สอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553 [ประชุมครั้งที่ 3]

รายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 นักศึกษารุ่นที่ 43
เพื่อสอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ และอาจารย์ผู้สอน
การประชุม ครั้งที่ 3 วันที่ 11 มีนาคม 2554
ประธานการประชุม:
ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ
ผู้บันทึกการประชุม: อ.รัชชนก สิทธิเวช
ผู้เข้าร่วมประชุม
     1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร 2. อ.ธนพร ศนีบุตร
     3. อ.สุชาดา นิ้มวัฒนากุล 4. อ.คงขวัญ จันทรเมธากุล
     5. อ. ยศพล เหลืองโสมนภา 6. อ. นุชนาถ ประกาศ
     7. ดร. กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง 8. ดร. ศรีสุดา งามขำ
     9. ดร.พรฤดี นิธิรัตน์ 10. อ.จิตติยา สมบัติบูรณ์
     11. อ.มงคล ส่องสว่างธรรม 12. อ.อรพรรณ บุญลือ

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
     ในช่วงของการสอนเสริมเพื่อเตรียมนักศึกษาสอบสภาฯ ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึง 11 มีนาคม 2554 มีการดำเนินการดังนี้
     1. ฝ่ายวิชาการจัดการสอบวัดความรู้รวบยอดทางการพยาบาลที่ใช้ข้อสอบร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2554 โดยก่อนสอบ ในสัปดาห์นี้จัดให้สอนเสริมวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น [...]

Tags: , , , , , , ,