เวชปฏิบัติทันยุค 2

รายงานผลการประชุมการจัดการความรู้ เรื่อง เวชปฏิบัติทันยุค 2

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

ครั้งที่ 1/2554 วันที่ 3 พฤษภาคม 2554

ณ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ เวลา 10.00 – 12.00 น.

 

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. อ. โสภา               ลี้ศิริวัฒนกุล      ประธานการประชุม
  2. ดร.ศรีสกุล           เฉียบแหลม       กรรมการ
  3. อ. จิตติยา            สมบัติบูรณ์        กรรมการ
  4. อ. รัชชนก            สิทธิเวช            กรรมการ
  5. อ. ภโวทัย            พาสนาโสภณ   กรรมการ
  6. อ. จีราภา             ศรีท่าไฮ            กรรมการ
  7. อ. พุฒตาล          มีสรรพวงศ์        กรรมการ
  8. อ. วิภารัตน์          ภิบาลวงษ์         กรรมการ
  9. อ. นิศารัตน์          รวมวงษ์            กรรมการ
  10. อ. นครินทร์          สุวรรณแสง      กรรมการ
  11. อ. บุษยารัตน์       ลอยศักดิ์          กรรมการ และเลขาการประชุม

ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม

  1. ดร.มัณฑนา          เหมชะญาติ       ประชุม
  2. อ. สุมาลี               ราชนิยม             เยี่ยมบ้านนักศึกษาที่ขอรับทุนกยศ.
  3. อ. คณิสร              แก้วแดง             เยี่ยมบ้านนักศึกษาที่ขอรับทุนกยศ.
  4. อ. ศราวุธ              อยู่เกษม            เก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพที่ จ.ตราด

เรื่องที่ประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการไปอบรมฟื้นฟูวิชาการสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติครั้งที่ 2 เรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2
ผู้ไปอบรมที่เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางโสภา               ลี้ศิริวัฒนกุล

2. นางรัชชนก             สิทธิเวช

3. นางสาวบุษยารัตน์ ลอยศักดิ์

 

วันที่อบรม 14 – 18 กุมภาพันธ์ 2554   ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น.

 

แนวโน้มทิศทางการพยาบาลเวชปฏิบัติในประเทศไทย (จากการประชุมเรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บรรยายโดย รศ.ดร.สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ)

มีแนวโน้มที่จะให้พยาบาลเวชปฏิบัติ ปฏิบัติงานอยู่ประจำ หน่วยบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ทุกหน่วย โดยความก้าวหน้าในการศึกษา ณ ปัจจุบัน คือ

ปี พ.ศ. 2554 ผู้ที่สนใจจะศึกษาในด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติ Nurse Practitioner(NP) จะต้องลงทะเบียนเรียน จำนวน 42 หน่วยกิต ในระดับปริญญาโทสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน และเมื่อได้ศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาโทแล้ว มีการพัฒนางานในหน้าที่จนมีความชำนาญจึงมีสิทธิ์สอบขึ้นทะเบียนเป็น  ผู้มีความรู้ความชำนาญ  เฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติชุมชนได้ (Advanced Practitioner Nurse : APN) ซึ่งเป็นสาขาเวชปฏิบัติ (Nurse Practitioner:NP หรือ APN -NP) ที่สภาการพยาบาลออกใบรับรองอยู่ในขณะนี้

 

การต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ของสภาการพยาบาล ในปัจจุบัน มีข้อปฏิบัติ ดังนี้ (จากการประชุมเรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  บรรยายโดย รศ.ดร.สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ)

  1. การต่ออายุโดยทั่วไป เมื่อครบ 5 ปี ให้อบรมวิชาการพยาบาลทั่วไปอย่างน้อย 50 หน่วย
  2. ในกรณีผู้ที่ผ่านการอบรมเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) การต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ กรณีครบ 5 ปี ต้องอบรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูวิชาการสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ อย่างน้อย 30 หน่วย และ อื่นๆอีก 20 หน่วย
  3. กรณีเป็น APN ผู้ต่อต้องอบรมเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลขั้นสูงทั้งหมด 50 หน่วย
  4. ปริญญาโทสาขาการพยาบาล เมื่อจบปริญญาโทสามารถนำใบปริญญาบัตร ไปขอต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ได้ 1 ครั้ง

การพยาบาลเวชปฏิบัติในภาวะเกิดโรคระบาด (จากการประชุมเรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บรรยายโดย พญ.วรยา เหลืองอ่อน)

ในปัจจุบันจะพบว่าโรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคระบาดอื่นๆเพิ่มขึ้นสูงมาก และมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้เกิดจาดเชื้อต่างๆ เช่น SARs, H1N1, H5N1, Legionnaires*, Botulism**, ไข้เลือดออกฯลฯ บุคลากรทางสาธารณสุขจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรค โดยยุทธศาสตร์ของ    ทีมแพทย์ และพยาบาลที่ใช้ คือ ค้นหาให้พบ ดูแลรักษาให้ปลอดภัย รีบเตือนภัย เร่งรายงาน เตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล(คน ของ ระบบ) ทำให้สามารถรับมือกับโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

Legionnaires* เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลันจากสิ่งแวดล้อม มักพบจากระบบน้ำร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดฝอยละออง

Botulism** เป็นสารชีวพิษโบทูลิซึม เป็นโปรตีนผลิตจากแบคทีเรียหลายชนิด ชนิดแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน ชื่อคลอสตริเดียม โบทูลินัม มักพบในอาหารกระป๋องที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีสารปนเปื้อนและก่อให้เกิดสารพิษในอาหารกระป๋องนั้น

 

การพยาบาลเวชปฏิบัติ กับแนวทางการดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน (จากการประชุมเรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บรรยายโดย รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ)

  1. การดูแลตามคู่มือมาตรฐาน
    (CPG)
  2. การตรวจคัดกรองและการวินิจฉัย
  3. การรักษาที่สำคัญ
    คือ การปรับพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ คุมน้ำหนักตัว อาหาร คลายเครียด
    การให้ยาโดยปรับลดตามการรักษาของแพทย์ การออกกำลังกาย(อย่างน้อย 4 – 5วัน/สัปดาห์
    เป็นระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง 30 นาที)
  4. มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดี
  5. มีการติดตามเป็นระยะ
    โดยการนัดมาพบที่โรงพยาบาล, เยี่ยมบ้าน, โทรศัพท์ ฯลฯ
  6. ประเมินภาวะแทรกซ้อน
  7. มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
    ระหว่างผู้ป่วย ญาติ และผู้ให้บริการ

พยาบาลเวชปฏิบัติกับการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยพิบัติ
(จากการประชุมเรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บรรยายโดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการ  การบริหารศูนย์เตรียม-ความพร้อมและป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย adpc)

ภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศไทย (พ.ศ.2543-2553) จากจำนวนผู้เสียชีวิต
อันดับหนึ่ง คือ แผ่นดินไหวแล้วทำให้เกิดสึนามิ โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิต 8,345 คน (26 ธ.ค. 2547)
อันดับต่อมา คือ พายุ โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิต 769 คน (27 ธ.ค. 2505)
อันดับที่สาม คือ น้ำท่วม โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิต 664 คน (19 พ.ย. 2531)ฯลฯ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสีย แก่ประเทศ ดังนั้นจึงควรมีการป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ ตามแผนการป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ ดังนี้

ซึ่งในกระบวนการของการลดความเสี่ยงโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานนับเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะความเข้มแข็งของชุมชนเป็นจุดสำคัญในการแก้ปัญหาทุกด้าน

แผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ.2553-2562 (SNAP)

การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2562 (SNAP)

  1. การป้องกันและลดผลกระทบประกอบด้วย ระบบพยากรณ์และเตือนภัย ระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ ระบบการประเมินความเสี่ยงภัย ระบบการประเมินความเสียหาย เครือข่ายการประสานงาน
  2. การเตรียมความพร้อมประกอบด้วย ระบบการติดตาม/ประเมินสถานการณ์และรายงานจัดทำแผน การฝึกซ้อมแผน
    การอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมรับภัย เครือข่ายประสานงานการเตรียมพร้อมด้านปัจจัยสี่  สุขภาพอนามัย
  3. การจัดการภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉินประกอบด้วย ระบบสั่งการ การวางแผนทิศทางการหนีภัย การอพยพผู้ประสบภัยการช่วยเหลือเบื้องต้น การประกาศเตือนภัยฉุกเฉิน มาตรการการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ มาตรการตอบโต้และกู้ภัย
  4. การฟื้นฟูบูรณะ ประกอบด้วย การประเมินความต้องการของผู้ประสบภัย มาตรการการช่วยเหลือ บรรเทา การประสานงานเครือข่าย การดูแลสุขภาพอนามัย การฟื้นฟูอำนวยความสะดวกเบื้องต้น การประเมิน ความเสียหาย

สรุปผลเกี่ยวกับข้อพึงระวังในการใช้ยา (จากการประชุมเรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รศ.ดร. ลัดดาวัลย์  ผิวทองงาม)

  1. ผู้ป่วยโรคหอบหืด ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่ม NSAIDS เช่น Ibuprofen และ ASA เพราะจะทำให้อาการของโรคหอบหืดกำเริบได้
  2. การรับประทานยากลุ่ม NSAIDS ติดต่อกันหลายปี ให้ระวังการเกิด Renal failure เพราะจะทำให้เกิดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง จนทำให้เกิดไตวายได้
  3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่ม NSAIDS เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นได้
  4. การให้ยา Omeprasol ควรให้รับประทานยาก่อนอาหาร เพราะจะทำให้การดูดซึมของยามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และควรให้รับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12 ชั่วโมง (ยกตัวอย่างเช่น เริ่มให้ยา เวลา 08.00 น. ควรให้ยาครั้งต่อไปในเวลา 20.00น.)
  5. การให้ยา Ranitidine ต้อง Dilute ด้วย NSS อย่างน้อย 20 ml. และต้อง push เข้าหลอดเลือดช้าๆ อย่างน้อย 5 นาที เพราะจะทำให้เกิดอาการแสบ ร้อน บริเวณหลอดเลือด
  6. การให้ยา Enalapril มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้เกิดอาการไอ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องให้ยา เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอควรปรึกษาแพทย์
  7. การใช้ยาในเด็กต้องคำนวณยาให้ได้ในขนาดที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น ยาที่ใช้บ่อยควรมีการคำนวณติดไว้ให้เห็นชัดเจนเพื่อความรวดเร็วและถูกต้องในการนำไปใช้
  8. การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องระมัดระวัง มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาต่อกันของยาได้มากกว่าปกติเพราะผู้สูงอายุมักใช้ยาหลายชนิดและจะมีการขับออกของยาได้น้อยกว่าบุคคลทั่วไป
  9. การให้คำแนะนำเรื่องอาการแพ้ยาต้องแนะนำกับผู้รับบริการทุกคนเสมอ

การนำไปใช้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

นำไปใช้ในการปรับปรุงรายวิชา พย.1425 การรักษาพยาบาลเบื้องต้น  รายวิชา พย.1426 ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น และเรื่องการใช้ยาในรายวิชา  พย. 1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

 

ปิดประชุมเวลา 12.00 น.

 

นางสาวบุษยารัตน์ ลอยศักดิ์

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

Print Friendly
ผู้เขียน อ.บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์ (ประวัติการเขียน 3 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล และบริหารวิชาชีพ


Tags: , ,

2 Responses to “เวชปฏิบัติทันยุค 2”

  1. jeab พูดว่า:

    การสรุปบทบาทหน้าที่ของพยาบาลเวชปฏิบัติทำได้ครอบคลุม และสร้างความตระหนักให้พยาบาลเวชปฏิบัติทุกคนค่ะ

  2. ชาติ พูดว่า:

    ด้วยความเคารพนะครับ ในมุมมองของผม ผมคิดว่า NP เราควรมาเน้นเรื่องการให้บริการสุขภาพที่บ้าน และการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มากขึ้น

    (กสร้างศักยภาพให้กับผู้ดูแล) น่าจะเหมาะสมกว่า