สรุปประเด็นสำคัญการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเตรียม นศ.ปี 4 รุ่น 43 เพื่อสอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553

รายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 นักศึกษารุ่นที่ 43  เพื่อสอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ และอาจารย์ผู้สอน

การประชุม ครั้งที่ 4 วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประธานการประชุม: ดร.มัณฑนา   เหมชะญาติ

ผู้บันทึกการประชุม: อ.รัชชนก  สิทธิเวช                                

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร                                        2. อ.ธนพร  ศนีบุตร

3. อ.นันทวัน  ใจกล้า                                                         4. อ.สุชาดา  นิ้มวัฒนากุล

5. อ.จารุณี  ตฤณมัยทิพย์                                                   6. อ.อรัญญา  บุญธรรม

7. ดร.พรฤดี  นิธิรัตน์                                                         8. อ.รัชสุรีย์  จันทเพชร

9. อ.จริยาพร  วรรณโชติ                                                 10. อ.นุชนาถ  ประกาศ

11. อ.รุ่งนภา  เขียวชะอ่ำ                                                  12. อ.สุกัญญา  ขันวิเศษ

13. อ.จันทรมาศ  เสาวรส                                                 14. อ.เพ็ญนภา  พิสัยพันธ์

15. อ.จันทร์เพ็ญ  อามพัฒน์                                             16. อ.อารีรัตน์  วิเชียรประภา

17. อ.จิตติยา  สมบัติบูรณ์                                                 18. อ.รัชชนก  สิทธิเวช

19. อ.วิภารัตน์  ภิบาลวงษ์                                                20. อ.นครินทร์  สุวรรณแสง

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากผลการสอบสภาการพยาบาล (แยกตามรายวิชา) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2554 ตามเอกสารที่แจกให้ในการประชุม ผลการสอบเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี คิดเป็น ร้อยละ 54.39

เป้าหมายการสอบในปี พ.ศ. 2555  ของแต่ละรายวิชา  ตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 97.00  ขึ้นไป  ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการสอบผ่านครั้งแรก 8 รายวิชา เป็นไปตามเป้าหมาย ร้อยละ 70.00 ขึ้นไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ มีดังนี้

1.  ผลการสอบสภาฯ ในช่วงย้อนหลัง 3 ปี สรุปได้ว่า เกือบทุกรายวิชามีผู้สอบผ่านในการสอบครั้งแรก ร้อยละ 97 หรือมากกว่า ยกเว้นวิชาการผดุงครรภ์ และวิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ   จากการอภิปรายถึงสาเหตุที่ผู้สำเร็จการศึกษาสอบผ่านสองรายวิชานี้ได้น้อยกว่าวิชาอื่นๆ โดยสรุป มีดังนี้

1)  นักศึกษาไม่ได้เข้าร่วมสอนเสริมตามที่ได้จัดไว้

2)  เนื้อหาวิชาการผดุงครรภ์เป็นเนื้อหาทางสูติศาสตร์ที่ผิดปกติ  ซึ่งนักศึกษามีความรู้พื้นฐานยังไม่ดีพอทำให้การเสริมความรู้ในเนื้อหาสูติศาสตร์ที่ผิดปกติมีเวลาน้อยลง

3)  แม้นักศึกษาสอบไม่ผ่านวิชาการผดุงครรภ์   ก็สามารถรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ              การพยาบาลได้   นักศึกษาบางคนจึงให้ความสำคัญกับวิชานี้น้อย

4)  นักศึกษาบางคนคาดหวังจะผ่านเฉพาะวิชาที่มีข้อสอบน้อย ๆ ก่อน   เนื่องจากเนื้อหาทั้ง             8 รายวิชามีจำนวนมาก

5)  หลักการวิเคราะห์ในข้อสอบที่ถามเกี่ยวกับจริยธรรมและกฎหมายจะแตกต่างกัน  ต้องมีความแม่นยำและมีความเข้าใจจึงจะสามารถวิเคราะห์ได้ถูกต้อง   แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีความแม่นยำและความเข้าใจที่ดีพอ

6)  การสอบวัดผลในการเรียนแต่ละวิชา  เมื่อสอบแล้วไม่มีการนำเนื้อหามาสอบอีกครั้ง  ทำให้ไม่ได้อ่านเนื้อหาทบทวน  ความรู้ของนักศึกษาจึงมีความแม่นยำน้อยลง

2.  แนวทางการเตรียมนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554  เพื่อการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ มีดังนี้

1)  สำรวจความต้องการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสัปดาห์ที่ 2 ของการเปิดเทอมที่ 1 ในช่วงเวลาพบอาจารย์ประจำชั้นและพบอาจารย์ที่ปรึกษา

2)  แบ่งกลุ่มนักศึกษาแยกกลุ่มเก่ง  กลุ่มอ่อน  โดยพิจารณาจากเกรดเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2553 โดยจัดนักศึกษากลุ่มละประมาณ 10 คน

3)  อาจารย์ประจำชั้นและอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาที่สอบสภาฯ ช่วยกันสัมภาษณ์เชิงลึกนักศึกษาในแต่ละกลุ่ม

4)  วางแผนโปรแกรมการสอนเสริมโดยพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นักศึกษาประกอบด้วย

5)  จัดโปรแกรมการสอนเสริมตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1  โดยให้นักศึกษาฝึกทำข้อสอบในเว็บไซต์ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1

6)  จัดกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับนักศึกษาตั้งแต่เริ่มแรกและมีการกระตุ้นเป็นระยะๆ  โดยให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างพลังอำนาจด้วย   เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของตนเอง  และมีพลังในการสอบมากขึ้น

7)  มีกระบวนการเสริมให้นักศึกษามีสมาธิมากขึ้นในการเรียนรู้  เช่น การทำสมาธิก่อนเรียน  เป็นต้น

8)  วางแผนในการจัดทำข้อสอบตามผังการออกข้อสอบของสภาฯ  โดยมีเฉลยพร้อมคำอธิบายทั้ง 8 รายวิชา

9)  ในแต่ละรายวิชาต้องมีการวิเคราะห์ว่าเนื้อหาใดที่สภาฯมักนำมาออกข้อสอบเพื่อจะได้นำมาเน้นย้ำกับนักศึกษาได้ตั้งแต่เริ่มเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสอบสภาฯ

10)  ในการสอนภาคปฏิบัติแต่ละรายวิชา  หากมีสถานการณ์ที่สามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอบสภาฯได้   ขอความร่วมมือให้ผู้สอนสอดแทรกเนื้อหาให้กับนักศึกษาด้วย

11)  ในการสอนภาคปฏิบัติ  หากมีการสอบปากเปล่านักศึกษาเป็นรายบุคคลในประเด็นที่สำคัญจะช่วยทำให้ค้นหานักศึกษากลุ่มอ่อนได้เร็วขึ้นและช่วยแก้ไขได้ตรงจุดมากขึ้น

12)  ในการสอนภาคปฏิบัติ  หากให้นักศึกษามีการสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลรายวิชา   จะช่วยทำให้นักศึกษามีความสนใจเพิ่มขึ้น  และช่วยเติมเต็มจุดอ่อนของนักศึกษาได้ดียิ่งขึ้น  โดยจะเป็นข้อสอบอัตนัยหรือปรนัยก็ได้แล้วแต่รายวิชา   แต่ควรเป็นเนื้อหาสำคัญที่นักศึกษาต้องรู้  ในรายวิชานั้นและหากสอบไม่ผ่านจะต้องมีการซ่อมเสริมเพื่อให้ผ่านทุกคน

13)  ในการสอนภาคปฏิบัติที่มีผู้สอนหลายคน  หากมีการทำเนื้อหาสรุปประเด็นสำคัญที่นักศึกษาทุกกลุ่มจำเป็นต้องรู้เพื่อเป็นคู่มือในการเรียนการสอนจะช่วยทำให้นักศึกษาทุกคนสามารถเรียนรู้เนื้อหาที่จำเป็นได้ครบถ้วน

14)  จัดให้มีการสอน Pre-clinic ในกิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญของแต่ละรายวิชาก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชานั้น   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาที่มีการสอบสภาฯ  จะช่วยทำให้นักศึกษามีการทบทวนความรู้เดิมและเสริมความรู้ใหม่ได้ดีขึ้น

โดยสรุป การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4  ต้องเริ่มตั้งแต่เปิดภาคเรียนที่ 1 โดยตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจในรายวิชาที่สอบสภาฯของนักศึกษาแต่ละคน เมื่อฝึกภาคปฏิบัติ และมีการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้นักศึกษาตลอดปีการศึกษาจนกว่าจะเข้าสอบ โดยใช้แนวทางการจัดกิจกรรมในปีทีผ่านมา ซึ่งต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับนักศึกษาในปีการศึกษานี้

Print Friendly
ผู้เขียน ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ (ประวัติการเขียน 19 เรื่อง)

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี


Tags: , , , ,

Comments are closed.