การใช้ PIM Score ในการประเมินผลลัพธ์ของกระบวนการให้บริการในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวช

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่ 4 วันที่ 25  เมษายน 2554    เวลา 13.30 -16.00 น.

ณ ห้องประชุมลีลาวดี   โรงพยาบาลพระปกเกล้า

 

เรื่อง การใช้ PIM Score  ในการประเมินผลลัพธ์ของกระบวนการให้บริการในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวช

วิทยากร นายแพทย์ทนง   ประสานพานิช  นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเด็ก

คุณปรีดาวรรณ  บุญมาก  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการทางด้านการพยาบาลเด็ก

ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  30  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  23  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  53  คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

หลักการคิดของทีมผู้รักษามีแนวคิดว่าการช่วยฟื้นคืนชีพในหอผู้ป่วยเด็กเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น  ดังนั้นทีมการรักษาจึงพยายามคิดหาเครื่องมือในการเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วย  เรียกว่า  “MEWS  Score”  (Monitoring  Early  Warming  Sign  Score)

การวัดอัตราการตาย  (Measures of mortality)  จำแนกลักษณะ  ได้แก่ [...]

Tags: , , ,

การประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554

การประชุม ครั้งที่ 2 วันที่ 10  มิถุนายน 2554  เวลา 10:00 น. – 12:00 น.

ณ ห้องประชุม อาคารอำนวยการชั้น  1  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้

การเตรียมนักศึกษารุ่นที่ 44  ชั้นปี 4 เพื่อการสอบสภาฯ ปีการศึกษา 2554

ประธานการประชุม: อ.มัณฑนา  เหมชะญาติ  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร                      6.  อ.รัชชนก  สิทธิเวช
  2. อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร                               7.  อ.จิตติยา   สมบัติบูรณ์
  3. อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์                      8.  อ.จริยาพร วรรณโชติ
  4. อ.นันทวัน  ใจกล้า                                9.  อ.นิศารัตน์ รวมวงษ์
  5. อ.ภโวทัย พาสนโสภณ

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากการประชุมทำ focus group นักศึกษาทั้ง 6 กลุ่ม ตามที่วางแผน สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้ [...]

Tags: , ,

สาระสำคัญของการเรียนรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่

การจัดการความรู้ด้านการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ

สาระสำคัญของการเรียนรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่

เมื่อวันที่  29 เมษายน 2554

ประธานการประชุม: อ.ดร.มัณฑนา  เหมชะญาติ

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. อ.ดร.พรฤดี นิธิรัตน์

2. อ.ดร.ปิ่นนเรศ กาศอุดม

3. อ.รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ

4. อ.วรัญญา ชลธารกัมปนาท

5. อ.นริชชญา หาดแก้ว

6. อ.อรพรรณ บุญลือ

7. อ.วรรณศิริ ประจันโน

8. อ.โสระยา ซื่อตรง

9. อ.เสาวภา เล็กวงษ์

10. อ.สุนิสา ดีทน

11. อ.สุภา คำมะฤทธิ์

[...]

Tags: ,

การประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554

การประชุม ครั้งที่ 1 วันที่ 1  มิถุนายน 2554  เวลา 16:30 น. – 18:30 น.

ณ ห้องประชุม อาคารอำนวยการชั้น  1  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้

การเตรียมนักศึกษารุ่นที่ 44  ชั้นปี 4 เพื่อการสอบสภาฯ ปีการศึกษา 2554

ประธานการประชุม: อ.มัณฑนา  เหมชะญาติ  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร                      7.  อ.รัชชนก  สิทธิเวช
  2. อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร                                 8.  อ.จิตติยา   สมบัติบูรณ์
  3. อ.สุชาดา นิ้มวัฒนากุล                             9.  อ.จันทร์เพ็ญ  อามพัฒน์
  4. อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์                    10. อ.จริยาพร วรรณโชติ
  5. อ.นันทวัน  ใจกล้า                                   11. อ.นิศารัตน์ รวมวงษ์
  6. อ.ภโวทัย พาสนโสภณ

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. จากการประชุมครั้งสุดท้าย ของการเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ในปีการศึกษา 2553 ได้กำหนดแนวทางการเริ่มต้นเตรียมนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554 ด้วยการทำ focus group นักศึกษาทุกคน ซึ่งเป็นเป็นกลุ่มย่อยๆ โดยจัดนักศึกษาที่มี GPA ใกล้เคียงกัน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อการได้ข้อมูลนำเข้าสำหรับการจัดกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการของนักศึกษาทุกกลุ่ม และเป็นการกระตุ้นนักศึกษาให้มีความตื่นตัวในการเตรียมสอบฯ

2.  จัดแบ่งนักศึกษา จำนวน 68 คน ออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 -13 คน โดยจัดนักศึกษาที่มี GPA ใกล้เคียงกัน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็น กล้าพูด เพราะเพื่อนๆในกลุ่มมีความสามารถในการเรียนใกล้เคียงกัน

3.  จัดอาจารย์เข้ากลุ่มสำหรับการทำ focus group กลุ่มละประมาณ 2 คน มีการทบทวนเป้าหมาย และหลักการการทำ focus group ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความพร้อม และความต้องการของนักศึกษา โดยใช้แนวคำถามที่จะแจกให้กับนักศึกษาล่วงหน้า 4-5 วัน ก่อน focus group เป็นแนวทางสำหรับการสรุปข้อมูลจากนักศึกษาแต่ละกลุ่ม

4. ใช้เวลาในช่วงพบอาจารย์ประจำชั้นและอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำ focus group โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ภายหลังจากอาจารย์ประจำชั้นชี้แจงข้อมูลต่างๆให้กับนักศึกษาแล้ว

5. เมื่อทำ focus group เสร็จแล้ว อาจารย์ประจำกลุ่ม รวบรวมเป็นสาระสำคัญของกลุ่ม 1 ฉบับ ส่งให้อาจารย์ประจำชั้น (อ.รัชสุรีย์) เพื่อรวบรวมเป็นภาพรวมของชั้นปี และนำเสนอฝ่ายวิชาการ เพื่อการจัดกิจกรรมที่อยู่บนพื้นฐานของความต้องการของนักศึกษา

6. ในระหว่างสัปดาห์นี้ ให้นักศึกษา แต่ละคน ทำข้อสอบเสมือน ทาง website ของวิทยาลัย โดยให้นักศึกษาส่งรายงานผลการทำข้อสอบทั้ง 8 รายวิชา ตามแบบฟอร์มที่แจกให้ และส่งรายงานผลฯที่อาจารย์ประจำชั้น ตามเวลาที่กำหนด (ให้นักศึกษาใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการทำข้อสอบ)

 

นัดประชุมอาจารย์ครั้งต่อไปในวันที่ 10 มิถุนายน 2554 เวลา 10:00-12:00 น. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับความพร้อมและความต้องการของนักศึกษาจากการทำ focus group แต่ละกลุ่มที่มี GPA ต่างกัน

 

มัณฑนา เหมชะญาติ

ผู้บันทึกการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Tags: , , ,

AAR การคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยง

After  Action  Review

จากการบริการวิชาการตอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง

ของภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุฯ

 

หลังสิ้นสุดโครงการในรอบที่  1  ได้นำข้อเสนอแนะจากการบริการวิชาการรอบที่ 1 มาจัดโครงการหลังสิ้นสุดโครงการในครั้งที่  1  เกี่ยวกับการคัดกรองบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพโรคเรื้อรังโดยมุ่งเน้นการคัดกรองกลุ่มเบาหวานตามความต้องการของ อบต.ท่าช้าง เป็นผลสำเร็จแล้วในระดับหนึ่งแต่ก็ยังพบว่ายังมีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังด้านอื่น ๆ อีก เช่น มะเร็ง อบต.ท่าช้าง  จึงทำการสำรวจความต้องการของชุมชนพบว่ายังมีกลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง    คือสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย อบต.ชุมชนท่าช้างจึงทำการประสานความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)  กับภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุร่วมทำการคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยง  ภาควิชาจึงได้ทบทวน AAR ผลจากการดำเนินงาน  ปี 2553 นำมาเป็นปัจจัยนำเข้าทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ประจำปีการศึกษา  2554 เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมในโครงการดังกล่าวให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุได้รวบรวมผลการประเมินและการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาพบว่า การจัดทำโครงการในครั้งที่ 2 นี้สามารถบรรลุตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยให้การบริการวิชาการตามข้อตกลงการทำ MOU กับองค์การบริการส่วนตำบลท่าช้าง และจากการวิเคราะห์แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้หลักสูตรสู่รายวิชา  ยังพบอีกว่าการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 (หัวข้อการดูแลบุคคลที่ปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อและการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์สตรี) สามารถโดยกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้วิธีการตรวจคัดกรองเต้านมสตรีและช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้

 

Tags: , , , ,