ประโยชน์ของการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ ในงานส่งเสริมสุขภาพจิต

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

เรื่อง “ประโยชน์ของการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ ในงานส่งเสริมสุขภาพจิต”

ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ

ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.อรัญญา  บุญธรรม

วันที่ประชุม     20  กันยายน 2555

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ

2. อ.อรัญญา     บุญธรรม

3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม

4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม

5. อ.ลลนา        ประทุม

6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์

7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ในการจัดโครงการบูรณาการการเรียนการสอนให้นักศึกษาพยาบาลได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในโครงการบริการวิชาการแก่สังคมด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชนเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างยิ่ง เพราะแต่ละคนต่างมีศักยภาพที่มีความเด่นแตกต่างกัน  นักศึกษาพยาบาลมีความรู้ด้านตำราแต่ขาดทักษะและประสบการณ์ด้านการทำงานในชุมชน  ส่วนอสม.มีทักษะในการอยู่ร่วมกับชุมชนแต่อาจจะขาดองค์ความรู้เชิงวิชาการ ต่างคนต่างถ่ายทอดประสบการณ์ที่ตนเองมี ต่างเติมเต็มให้แก่กันและกัน สิ่งที่ได้คือประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่า ซึ่งหาไม่ได้จากตำราใดๆ  บทบาทและบุคลิกภาพของนักศึกษาพยาบาลที่เข้าไปปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตให้แก่ชุมชนได้  เป็นที่รักใคร่และยอมรับของคนในชุมชนคือ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือว่าตนเองมีความรู้เหนือกว่าคนในชุมชน  ยอมรับและรับฟังปัญหาของเขาโดยไม่ใช้ตนเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจแทนผู้อื่น  เอาใจใส่ที่จะช่วยเหลือทั้ง case และครอบครัวอย่างเต็มใจ มีน้ำใจไม่ดูดาย ไม่มุ่งแต่จะทำงานของตนจนไม่ใส่ใจในวิถีชีวิตของประชาชนที่นักศึกษารับผิดชอบ  มีความสม่ำเสมอในการเยี่ยม case  ช่างสังเกตทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง เข้าใจในสิ่งที่เขาพูดทั้งเนื้อหาและความรู้สึก มีความจริงใจไม่เสแสร้ง  มีความเป็นธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความรู้ในงานที่จะช่วยเหลือชุมชนได้อย่างดี มีความเกรงใจ ที่สำคัญคือเก็บความลับที่ case ไม่ต้องการเปิดเผยได้

Tags: , , , ,

กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

เรื่อง “กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต”

ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ

ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม

วันที่ประชุม     13  กันยายน 2555

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ

2. อ.อรัญญา     บุญธรรม

3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม

4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม

5. อ.ลลนา        ประทุม

6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์

7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กระบวนการในโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตของคนในชุมชนที่ทำให้อสม.ได้ใช้ศักยภาพของเขาในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ลดปัญหาการฆ่าตัวตาย สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านจิตใจให้แก่คนในชุมชนนี้ได้เกิดจาก กระบวนการ 3 ข คือ เข้าใจ เข้าถึง เข้าร่วมพัฒนา โดยมีกลยุทธ์ดังนี้

เข้าใจ ใช้วิธีการให้ความรู้ทางภาคทฤษฎี โดยการจัดประชุมอบรมให้ความรู้เพื่อเป็นฐานความรู้เรื่องสุขภาพจิตและบทบาทการทำงานของอสม.

เข้าถึง  เป็นการนำความรู้จากภาคทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการลงฝึกปฏิบัติกับคนในพื้นที่จริงโดยมีอาจารย์พยาบาลเป็นผู้นิเทศการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด

เข้าร่วมพัฒนา หลังจากลงพื้นที่จริงกับคนในชุมชนแล้ว อสม.จะสามารถวิเคราะห์ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นในชุมชนของเขาได้ ทำให้เขาเกิดการตระหนักรู้ในปัญหาและคิดแก้ไขปัญหาโดยผลักดันให้เกิดขึ้นในรูปของโครงการที่จะพัฒนาชุมชนของเขา โดยใช้ศักยภาพของคนในชุมชนที่จะแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชนของเขา

ถ้าให้ความรู้ จัดอบรมเพียงอย่างเดียวแต่ไม่ฝึกปฏิบัติเพื่อนำความรู้ไปใช้ คงไม่ก่อประโยชน์และไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพราะขาดทักษะและประสบการณ์ การมีอาจารย์ช่วยนิเทศทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่เขายังไม่สันทัดในช่วงแรกได้  การให้อสม.ได้คิดโครงการต่างๆที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนของเขาด้วยตัวเขาเอง ทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจ มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนในชุมชนของเขาและมั่นใจในศักยภาพของตนเอง

Tags: , , , , ,

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

เรื่อง “ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน”

ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ

ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม

วันที่ประชุม  4 กันยายน 2555

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ

2. อ.อรัญญา     บุญธรรม

3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม

4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม

5. อ.ลลนา        ประทุม

6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์

7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. การจัดทำโครงการใดๆนั้น ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญหาที่พบ และทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาแล้วจึงจัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

2.  การดำเนินการนั้นควรอยู่ในเนื้องานของบุคคล  เพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะการปฏิบัติในงานของตน และจะไม่รู้สึกว่าเสียเวลาในการมาอบรมเพราะสิ่งที่เขาได้คือการพัฒนางานของเขานั่นเอง

3. งานสุขภาพจิตชุมชนต้องอาศัยใจในการเยียวยา  ในการทำงานจึงต้องคำนึงถึงใจผู้ปฏิบัติงานให้มาก เมื่อใดเกิดความรู้สึกไม่เข้าใจกัน จะทำให้เกิดความท้อแท้และการปฏิบัติงานจะสะดุดก้าวต่อไปได้ยากหรืออาจจะล้มได้เลย ถึงแม้ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดกับบุคคลเพียงแค่คนเดียว แต่ควรคำนึงว่าทุกคนคือน๊อตตัวสำคัญ ขาดคนหนึ่งคนใดงานจะไม่ประสบผลสำเร็จ  การให้กำลังใจ การให้คำชื่นชมแก่ผู้ปฏิบัติงานโดนเฉพาะกลุ่มอสม. เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะขาดไม่ได้

4. งานสุขภาพจิตชุมชนจะสำเร็จได้ต้องได้รับความสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย และต้องทำให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น  และร่วมแรงร่วมใจที่จะขจัดปัญหานั้นออกไปจากชุมชน  โครงการต่างๆที่เกิดขึ้นควรเป็นโครงการที่ชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันจัดทำ ร่วมกันประเมินผลงาน เป็นโครงการที่อยู่คู่ชุมชน พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง  ถึงแม้ช่วงแรกอาจมีหน่วยงานภายนอกเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือแต่เมื่อถอนตัวออกมาแล้ว โครงการนั้นยังคงดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ไม่ใช่ทำเพราะกระแสสังคมหรือถูกสั่งให้ดำเนินการ

5. การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้นั้น จะต้องทำให้ชุมชนตระหนักเห็นปัญหาของชุมชนด้วยตัวเขาเอง

Tags: , , ,

รวมพลังสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน

สรุปผล  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ประจำภาควิชา, งานพัฒนาบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

เรื่อง  รวมพลังสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน

จัดโดย
1. คณะกรรมการดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข

2. แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

3.  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

4. สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข

5. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

6. วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ทำหน้าที่จัดประชุมสัมมนาพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ระดับเขต

ผู้เขียน  อาจารย์วราภรณ์  จรเจริญ

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อาจารย์พัทธยา  เกิดกุล, อาจารย์จารุณี ตฤณมัยทิพย์, อาจารย์ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์,

อาจารย์ศรีสกุล  เฉียบแหลม, อาจารย์คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร, อาจารย์เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์,

อาจารย์โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ, อาจารย์อรัญญา บุญธรรม, อาจารย์เชษฐา แก้วพรม,

อาจารย์มงคล ส่องสว่างธรรม, อาจารย์ลลนา ประทุม, อาจารย์จันทรมาศ เสาวรส,

อาจารย์จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์, อาจารย์วารุณี สุวรวัฒนกุล, อาจารย์ยศพล เหลืองโสมนภา,

อาจารย์ลลิตา เดชาวุธ

     ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 279 ได้กำหนดให้มาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการ อีกทั้งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ.2551 มาตรา 78 และมาตรา 79 ได้กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนต้องรักษาจรรยาบรรณข้าราชการ ให้เป็นผู้ที่รักษาไว้ซึ่งคุณธรรม คุณภาพและคุณค่าต่อตนเอง และสังคมโดยรวม นโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่มีการกำหนดในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 1 ต่อเนื่องฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555-2559) เพื่อมุ่งเสริมสร้างคุณภาพบุคลากรสาธารณสุข ให้เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมคนดี มีจิตบริการและดำเนินชีวิตพอเพียง โดยมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นฐาน ภายใต้องค์กรธรรมาภิบาล

     การสนับสนุนให้บุคลากรสาธารณสุขได้รับการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม โดยร่วมกันสร้างความดี มีความสามัคคี รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการให้บริการประชาชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ มองสภาพปัญหาในสังคมด้วยใจที่มีสติ รอบคอบเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มีจิตใจรักสามัคคีปรองดองกัน ไม่แตกแยกกัน ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ยังผลให้บุคคลนั้นมีความสุขเกิดความมั่นคงต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม ที่สำคัญพลังของความดีและความสามัคคีที่เกิดขึ้นในทั่วทุกภูมิภาค ควรได้รับการส่งเสริมโดยรวม ความดีงามเพื่อการยกย่อง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในสังคมกระทรวงสาธารณสุขและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

     สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรของวิทยาลัยทุกหน่วยงาน รวมทั้งนักศึกษาของวิทยาลัยได้มีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง จะทำให้บุคลากรมีจิตสำนึกที่ดี ในการเป็นข้าราชการของรัฐ ในการมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาองค์กรตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข อีกทั้งการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในการศึกษาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติจะเป็นการปลูกจิตสำนึกตั้งแต่การเป็นนักศึกษา ซึ่งจะสามารถสืบเนื่องต่อไปในการเป็นบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งการส่งผลงานการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เข้าประกวดจะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้หน่วยงาน และเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านตัวบุคคลและองค์กร

Tags: , , , ,

Up date การวัดความดันโลหิต

ประธาน อ. อรัญญา บุญธรรม
ผู้บันทึกการเรียนรู้ อ. ลลนา ประทุม
อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ.วราภรณ์ จรเจริญ
2. อ.โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ
3. ดร.เชษฐา แก้วพรม
4. อ. มงคล ส่องสว่างธรรม
5. ดร. ศรีสกุล เฉียบแหลม

          จากการเตรียมการสอนภาคทดลองวิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล ฐาน การตรวจสอบสัญญาณชีพ โดยการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆพบมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวัดความดันโลหิตในบางขั้นตอน กล่าวคือ แต่เดิมในการพัน Cuff นั้นจะต้องให้สายยางของเครื่องวัดความดันทั้ง 2 สายคร่อมบริเวณ Bracial Pulse ซึ่งในตำราก็ไม่ได้ระบุเหตุผลว่าเพราะเหตุใด แต่จากการรวบรวมเอกสารเรื่องการวัดความดันโลหิตพบว่าตำราใหม่ๆทั้งตำราภาษาไทย และ Text book ใช้วิธีพัน Cuff โดยให้กึ่งกลางของ Bladder (ถุงลม) ทับบริเวณ Bracial Pulse ซึ่งการพัน Cuff ด้วยวิธีใหม่นี้จะทำให้ส่วนกลางของถุงลมซึ่งจะขยายตัวก่อนบริเวณอื่นเกิดแรงกดมากที่สุดซึ่งกั้นเลือดได้เร็วขึ้นโดยไม้ต้องบีบลมจนเต็ม Cuff ก็เกิด pressure พอที่จะกั้นเลือดจนคลำ Pulse ที่ Bracial Pulse ไม่ได้ นอกจากนี้การพัน Cuff ด้วยวิธีใหม่จะทำให้สายยางทั้ง2 สายไม่เกะกะเวลาคลำ Bracial Pulse และเวลาวาง Stethoscope เนื่องจากการพัน Cuff โดยให้กึ่งกลางของ Bladder (ถุงลม) ทับบริเวณ Bracial Pulse นั้น จะทำให้สายยางทั้ง 2 เลื่อนไปอยู่ด้านข้างของแขนผู้ป่วย(วัดแขนขวาสายยางจะอยู่ด้านในของแขนผู้ป่วย และถ้าวัดแขนซ้ายสายยางจะอยู่ด้านนอกของแขนผู้ป่วย) จึงทำให้ผู้วัดความดันโลหิตสามารถคลำ Bracial Pulse วาง Stethoscope ได้สะดวก

          จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การวัดความดันโลหิตและการนิเทศนักศึกษาพยาบาลในการวัดความดันโลหิตกับอาจารย์ในภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชและ ดร.ศรีสกุล ซึ่งเป็นผู้สอนภาคทดลองฐานการตรวจสอบสัญญาณชีพในปีการศึกษาที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่าการวัดความดันโลหิตด้วยวิธีใหม่น่าจะเกิดผลดีต่อการฝึกทักษะดังกล่าวของนักศึกษาพยาบาลมากกว่าการวัดแบบเดิม

Tags: , , ,