ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
เรื่อง “ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน”
ผู้เขียน อ.โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ
ผู้บันทึกการเรียนรู้ อ.มงคล ส่องสว่างธรรม
วันที่ประชุม 4 กันยายน 2555
อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อ.วราภรณ์ จรเจริญ
2. อ.อรัญญา บุญธรรม
3. ดร.เชษฐา แก้วพรม
4. ดร.ศรีสกุล เฉียบแหลม
5. อ.ลลนา ประทุม
6. อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์
7. อ.มงคล ส่องสว่างธรรม
ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. การจัดทำโครงการใดๆนั้น ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญหาที่พบ และทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาแล้วจึงจัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
2. การดำเนินการนั้นควรอยู่ในเนื้องานของบุคคล เพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะการปฏิบัติในงานของตน และจะไม่รู้สึกว่าเสียเวลาในการมาอบรมเพราะสิ่งที่เขาได้คือการพัฒนางานของเขานั่นเอง
3. งานสุขภาพจิตชุมชนต้องอาศัยใจในการเยียวยา ในการทำงานจึงต้องคำนึงถึงใจผู้ปฏิบัติงานให้มาก เมื่อใดเกิดความรู้สึกไม่เข้าใจกัน จะทำให้เกิดความท้อแท้และการปฏิบัติงานจะสะดุดก้าวต่อไปได้ยากหรืออาจจะล้มได้เลย ถึงแม้ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดกับบุคคลเพียงแค่คนเดียว แต่ควรคำนึงว่าทุกคนคือน๊อตตัวสำคัญ ขาดคนหนึ่งคนใดงานจะไม่ประสบผลสำเร็จ การให้กำลังใจ การให้คำชื่นชมแก่ผู้ปฏิบัติงานโดนเฉพาะกลุ่มอสม. เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะขาดไม่ได้
4. งานสุขภาพจิตชุมชนจะสำเร็จได้ต้องได้รับความสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย และต้องทำให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมแรงร่วมใจที่จะขจัดปัญหานั้นออกไปจากชุมชน โครงการต่างๆที่เกิดขึ้นควรเป็นโครงการที่ชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันจัดทำ ร่วมกันประเมินผลงาน เป็นโครงการที่อยู่คู่ชุมชน พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ถึงแม้ช่วงแรกอาจมีหน่วยงานภายนอกเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือแต่เมื่อถอนตัวออกมาแล้ว โครงการนั้นยังคงดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ไม่ใช่ทำเพราะกระแสสังคมหรือถูกสั่งให้ดำเนินการ
5. การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้นั้น จะต้องทำให้ชุมชนตระหนักเห็นปัญหาของชุมชนด้วยตัวเขาเอง