ความสำคัญของการสะท้อนคิด

ความสำคัญของการสะท้อนคิด

        การใช้การสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล มีบทบาทสำคัญในการทำให้นักศึกษาพยาบาลเรียนรู้และถูกกระตุ้นท้าทายให้ “คิดแบบพยาบาล” (think like a nurse) ไม่ใช่แต่เพียงการท่องจำความรู้ที่ถ่ายทอดจากความจำและริมปากของครูผู้สอน เพื่อนำเอาไปสอบเท่านั้น ช่วยให้การเรียนพยาบาล และการปฏิบัติเกิดความหมาย (meaningful) และเมื่อการกระทำต่างๆ การเรียนรู้มีความหมายขึ้นในจิตใจแล้ว การเรียนรู้และการคงอยู่ในวิชาชีพก็สูงขึ้นด้วย การสะท้อนคิดเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมความรู้เข้ากับการปฏิบัติอย่างมีความหมายที่แท้จริง ช่วยให้เกิดการทบทวนความรู้จากประสบการณ์ (experiential knowledge) และช่วยให้เกิดการสั่งสมความรู้ในตัวบุคคล (tacit knowledge) การใช้การสะท้อนคิดมาบูรณาการในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนพยาบาล และพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาล จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้าม การสะท้อนคิดได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง และได้รับการยอมรับว่าทำให้การเรียนการสอน และการปฏิบัติการพยาบาลเกิดความหมายขึ้นในจิตใจของผู้เรียนและของพยาบาล (make sense of the experience) ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว พัฒนาตัวเองเป็นพยาบาลที่ดีได้อย่างชัดเจน และทำให้พยาบาลลาออกหรือทิ้งงานการพยาบาลน้อยลง มีการให้พยาบาลด้วยหัวใจมากขึ้น เป้าหมายของการศึกษาคือ ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง (transformative education) [...]

Tags: , , , ,

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน กลุ่ม งานห้องสมุด / ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

สรุปผล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน สร้างเสริมค่านิยมองค์กร

ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

กลุ่ม งานห้องสมุด / ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผู้เขียน อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. นางสาววิภา          สุขสำราญ
  2. นางสาววิภา          ขันทองดี
  3. นางจิรพรรณ         จูเทพ
  4. นางสาวสุดาทิพย์   บัวแย้ม
  5. นางอำนวย            ไกรนิวรณ์
  6. นางสมทรง            ทำสวน
  7. นางสาวฒาลิศา      เอื้อนจิตร
  8. นางพรศตภัทร์       ชาวสวน
  9. นางสาวพีรตา         พุ่มคำ
  10. นางสาวผกามาศ     คณะเบญจะ
  11. นางสาวนาตยา       ญาณประดับ
  12. นางสาวสอยดาว     ปัญจะการ

 

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ [...]

Tags: , ,

Update on Chronic Disease Management: มิติทางการพยาบาล

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  และกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่  ๘ วันที่  ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕  เวลา ๑๓:๓๐-๑๖:๐๐ น.

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง    Update on Chronic Disease Management: มิติทางการพยาบาล

วิทยากร    คุณศักดิ์นรินทร์  หลิมเจริญ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  โรงพยาบาลเขาคิชกูฏ จังหวัดจันทบุรี

ผู้เข้าร่วมประชุม  จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  จำนวน  ๒๘  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า    ๒  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   ๓๐  คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของคุณศักดิ์นรินทร์  หลิมเจริญ 

โรคเรื้อรัง หมายถึงโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงช้า ๆ เป็นเวลานาน (WHO, 2549) ส่วนภาวะเรื้อรัง  หมายถึงปัญหาสุขภาพที่ต้องการจัดการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ภาวะป่วยเรื้อรัง (chronic illness) หมายถึงภาวะใด ๆ ที่ต้องอาศัยกิจกรรมและการตอบสนองต่อเนื่องจากผู้ป่วย ผู้ดูแลและระบบบริการทางการแพทย์ ที่มีความครอบคลุมทั้งทางกาย จิตใจ อารมณ์  สังคม และ จิตวิญญาณ

          องค์ประกอบหลักของการดูแลภาวะเรื้อรัง (Chronic Care Model) มี ๖ องค์ประกอบ ดังนี้

          ๑. การสนับสนุนการจัดการตนเอง (self-management support)  คือ  การสร้างความตระหนักและความสามารถในการดูแลรักษาตนเองของผู้ป่วย  โดยให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตั้งเป้าหมายการรักษา  เข้าใจอุปสรรคและข้อจำกัดของตนเอง รวมทั้งสามารถประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้ว่า สามารถจัดการเองได้หรือต้องไปพบแพทย์

          การสนับสนุนการจัดการตนเอง ให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้ป่วยในการจัดการสุขภาพของตนเอง โดยใช้วิธีการสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองที่มีประสิทธิผลประกอบด้วย การประเมินตนเอง  การตั้งเป้าหมาย การวางแผนปฏิบัติตัว  การแก้ปัญหา  และการตรวจสอบตามนัดอย่างต่อเนื่อง

          ปัจจัยสนับสนุนการจัดการตนเอง ได้แก่  แรงจูงใจที่จะดูแลตนเอง  ความรู้ความเข้าใจในโรคของตนเอง  ทักษะในการดำเนินชีวิตอยู่กับโรคเรื้อรัง  ได้รับการสนับสนุนในการจัดการอุปสรรค  และความมั่นใจที่จะดูแล

          ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการตนเอง ได้แก่  ภาระในครอบครัว  ข้อจำกัดด้านสุขภาพ  การให้ความรู้แบบทางเดียว  และการขาดความมั่นใจ  สำหรับเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการตนเอง  ได้แก่  การให้คำปรึกษา และการให้ผู้ป่วยสอนกันเอง

          ๒. ระบบสารสนเทศทางคลินิก (clinical information systems)  มีความสำคัญในการช่วยจัดการข้อมูล ทำให้วางแผนการดูแลรักษาได้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

          ๓. การออกแบบระบบการให้บริการ (delivery system design) ประกอบด้วยหลักการ ๓ ประการคือ  team  based  approach,  case management,  planned  care  service

          ๔. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support) เป็นวิธีช่วยสนับสนุนให้แพทย์และทีมรักษาพยาบาลใช้ความรู้ที่ทันสมัยในการตัดสินใจให้การรักษาผู้ป่วย  สิ่งสำคัญของระบบนี้คือ  การอธิบายให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับแนวทางการดูแลรักษาเพื่อให้มีส่วนร่วมและจัดการตนเอง   การจัดทำ management  protocol/ care pathway เพื่อบอกถึงขั้นตอนและรายละเอียดวิธีการปฏิบัติในการดูแลรักษา

          ๕. นโยบายขององค์กรสุขภาพ (health care organization) ควรเป็นนโยบายที่ส่งเสริมวัฒนธรรม ระบบและกลไกที่สนับสนุนการดูแลรักษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน  ผู้บริหารเป็นผู้นำและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่บริการเชิงรุก   นำและสนับสนุนการพัฒนาทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม  ใช้วิธีการที่มีประสิทธิผลเพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงระบบอย่างเป็นรูปธรรม  ส่งเสริมการจัดการกับปัญหาและข้อผิดพลาดอย่างเป็นระบบ   สนับสนุนให้ทีมบริการมีความพร้อมในการบริการเชิงรุก   และสนับสนุนสิ่งจูงใจ/ค่าตอบแทนเพื่อการดูแลรักษาที่มีคุณภาพ

          ๖. การเชื่อมต่อกับชุมชน (community resources) เพื่อแสวงหาทรัพยากรและสนับสนุนในชุมชนให้สนองตอบความจำเป็นของผู้ป่วย  ส่งเสริมพลังอำนาจให้ชุมชนดูแลตนเองได้ [...]

Tags: , , , , , , ,

การป้องกันภาวะตัวเย็นในทารกแรกเกิด

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  และกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่  ๗ วันที่  ๒๔ กรกฎาคม  ๒๕๕๕  เวลา ๑๓:๓๐-๑๖:๐๐ น.

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง    การป้องกันภาวะตัวเย็นในทารกแรกเกิด

วิทยากร    อาจารย์จริยาพร  วรรณโชติ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

คุณจินตนา  สายทอง  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยเด็กทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพระปกเกล้า

คุณจอมขวัญ  เนรัญชร  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  งานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลมะขาม

ผู้เข้าร่วมประชุม  จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  จำนวน  ๓๐  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  ๘  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   ๓๘  คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของอาจารย์จริยาพร  วรรณโชติ

ภาวะตัวเย็น (อุณหภูมิกายต่ำ) ในทารกแรกเกิด (Neonatal  Hypothermia) หากอุณหภูมิต่ำกว่า ๓๖.๕ องศาเซลเซียส  จะเริ่มมีกลไกของร่างกายผิดปกติ  อาจเกิดอันตรายแก่ทารกได้

ภาวะตัวเย็นมีผลต่อร่างกายดังนี้  ความต้องการการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น  การผลิตสาร surfactant ลดลง การหายใจผิดปกติ  น้ำตาลในเลือดต่ำ   เลือดเป็นกรด  และเกิดภาวะตัวเหลือง

จากการศึกษาวิจัยพบว่า ทารกที่อยู่ในห้องคลอดถ้าไม่มีการป้องกันตัวเย็นภายใน ๒๕ นาทีจะเกิดภาวะตัวเย็น ทุกราย การวิจัยเปรียบเทียบระหว่างทารกแรกเกิดที่ใส่ถุงและหมวกก่อนเช็ดตัว  กับทารกแรกเกิดที่เช็ดตัวแล้วห่มผ้า  จากนั้นนำทารกทั้งสองกลุ่มใส่ในตู้ Incubator แล้ววัดอุณหภูมิ พบว่า กลุ่มที่ใส่ถุงและหมวกก่อนเช็ดตัวจะมีอุณหภูมิสูงกว่า  นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า ทารกที่ใส่เสื้อ ผ้าอ้อมที่อุ่น ห่อตัวด้วยโพลีเอทธิลีน ห่มผ้าแล้ววางใน crib กับทารกที่ใส่เสื้อ ผ้าอ้อมที่อุ่น วางใน crib ใต้ radiant warmer  แล้ววัดอุณหภูมิ พบว่าทั้งสองกลุ่มไม่มีภาวะตัวเย็น  แต่กลุ่มที่ใช้ radiant warmer  จะรักษาอุณหภูมิได้ดีกว่า

          สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของคุณจินตนา  สายทอง 

          การป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในโรงพยาบาลพระปกเกล้า มีดังนี้  เตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม รับผู้ป่วย  ประเมิน  ดูแลแรกรับ  ดูแลขณะอยู่ในหอผู้ป่วย  เตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้าน  ดูแลขณะส่งต่อในการเตรียมอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแก่ทารก ปฏิบัติโดยมีข้อตกลงให้ผู้ที่จะส่งทารกมาให้โทรศัพท์แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย ๑๕-๓๐ นาที ว่าจะส่งทารกที่มีลักษณะอย่างไร น้ำหนักเท่าไร  เพื่อจะได้เตรียมอุปกรณ์ได้เหมาะสม  ถ้าทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๑,๖๐๐ กรัม เตรียม warm incubator set อุณหภูมิภายในตู้ ๓๕ องศาเซลเซียส  ถ้าหนักมากกว่า ๑,๖๐๐ กรัม เตรียม crib, radiant warmer

อุณหภูมิกายทารกปกติคือ ๓๖.๘ – ๓๗.๒ องศาเซลเซียส แต่ถ้าพบว่า น้อยกว่า ๓๖.๘ ต้องระวังภาวะตัวเย็น การวัดปรอทนิยมวัดทางทวารหนักและทางรักแร้  ซึ่งต้องวัดให้ถูกวิธี

ข้อควรระวังในการวัดปรอททางทวารหนักคือ ถ้าวัดไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อลำไส้ใหญ่ที่อาจทะลุได้   และถ้าวัดบ่อยครั้ง อาจทำให้เกิดระคายเคืองต่อรูก้น มีผลให้ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดได้ ส่วนข้อควรระวังในการวัดปรอททางรักแร้ คือ  การใส่กระเปาะปรอทไม่อยู่กลางรักแร้  และขณะวัดแขนทารกไม่อยู่ชิดลำตัว  ทำให้ผลของการวัดอุณหภูมิได้ค่าต่ำกว่าที่เป็นจริง

วิธีปฏิบัติไม่ให้ทารกอุณหภูมิกายต่ำมีดังนี้ [...]

Tags: , , , , , ,

สรุปประเด็นสำคัญในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเตรียมนักศึกษา สอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2555

  สรุปประเด็นสำคัญในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเตรียมนักศึกษา

 สอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ  ปีการศึกษา 2555

วันที่  31  กรกฎาคม  2555  เวลา 13.30 – 16.00 น.

ณ ห้องประชุม  อาคารอำนวยการชั้น 1  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

ประธานการประชุม:  ดร.มัณฑนา  เหมชะญาติ   รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้

ผู้บันทึกการประชุม:  อ.รัชชนก  สิทธิเวช                                

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. อ. คนึงนิตย์        พงษ์สิทธิถาวร

2. ดร.ศรีสกุล          เฉียบแหลม

3. อ.สุชาดา             นิ้มวัฒนากุล

4. อ.ราตรี                อร่ามศิลป์

5. อ.จันทรมาศ        เสาวรส

6. ดร.เชษฐา             แก้วพรม

7. อ.จิตติยา              สมบัติบูรณ์

8. อ.โศภิณสิริ         ยุทธวิสุทธิ

9. อ.ลลิตา               เดชาวุธ

10. อ.จรัญญา              ดีจะโปะ                               

 

สรุปประเด็นสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. กิจกรรมการเตรียมนักศึกษาชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 45 เพื่อการเตรียมสอบที่ดำเนินการไปแล้วโดยอาจารย์ประจำชั้นมีดังนี้

1.1  การทำกิจกรรมในช่วงที่นักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 และ 3  มีบรรยายพิเศษและฝึกทำข้อสอบในรายวิชาที่นักศึกษาเรียนจบแล้ว   ซึ่งวิชาที่ได้ดำเนินการไปแล้วได้แก่  วิชา การพยาบาลผู้สูงอายุ   การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น  การผดุงครรภ์   กฎหมายฯ  สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

1.2  จัดโครงการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ  ในชั้นปีที่ 4 ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2555 – 22 กรกฎาคม 2555  มีการทำข้อสอบของเครือข่ายที่มีอยู่ในคลังข้อสอบ มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาโดยแต่ละกลุ่มจะมีนักศึกษาที่ได้เกรดเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสูง กลาง ต่ำ จัดกลุ่มละ 5 คน  มอบหมายให้ทำช่วยกันออกข้อสอบคนละ 20 ข้อ  แล้วนำมาคุยกัน  ในทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 โดยมีอาจารย์ประจำชั้นดูแลในแต่ละกลุ่ม

1.3 การทำกิจกรรมกระตุ้นให้นักศึกษามีเป้าหมายในการสอบให้ผ่าน 8 รายวิชาโดยมีกระดาษรูปหัวใจให้อาจารย์ประจำชั้นเขียนข้อความถึงนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และติดไว้ที่บอร์ดท้ายห้องเรียน

จากการจัดกิจกรรมโดยอาจารย์ประจำชั้นได้ประเด็นสำคัญและข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการต่อไปในปีการศึกษา 2555 มีดังนี้ [...]

Tags: ,