Up date การวัดความดันโลหิต

ประธาน อ. อรัญญา บุญธรรม
ผู้บันทึกการเรียนรู้ อ. ลลนา ประทุม
อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ.วราภรณ์ จรเจริญ
2. อ.โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ
3. ดร.เชษฐา แก้วพรม
4. อ. มงคล ส่องสว่างธรรม
5. ดร. ศรีสกุล เฉียบแหลม

          จากการเตรียมการสอนภาคทดลองวิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล ฐาน การตรวจสอบสัญญาณชีพ โดยการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆพบมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวัดความดันโลหิตในบางขั้นตอน กล่าวคือ แต่เดิมในการพัน Cuff นั้นจะต้องให้สายยางของเครื่องวัดความดันทั้ง 2 สายคร่อมบริเวณ Bracial Pulse ซึ่งในตำราก็ไม่ได้ระบุเหตุผลว่าเพราะเหตุใด แต่จากการรวบรวมเอกสารเรื่องการวัดความดันโลหิตพบว่าตำราใหม่ๆทั้งตำราภาษาไทย และ Text book ใช้วิธีพัน Cuff โดยให้กึ่งกลางของ Bladder (ถุงลม) ทับบริเวณ Bracial Pulse ซึ่งการพัน Cuff ด้วยวิธีใหม่นี้จะทำให้ส่วนกลางของถุงลมซึ่งจะขยายตัวก่อนบริเวณอื่นเกิดแรงกดมากที่สุดซึ่งกั้นเลือดได้เร็วขึ้นโดยไม้ต้องบีบลมจนเต็ม Cuff ก็เกิด pressure พอที่จะกั้นเลือดจนคลำ Pulse ที่ Bracial Pulse ไม่ได้ นอกจากนี้การพัน Cuff ด้วยวิธีใหม่จะทำให้สายยางทั้ง2 สายไม่เกะกะเวลาคลำ Bracial Pulse และเวลาวาง Stethoscope เนื่องจากการพัน Cuff โดยให้กึ่งกลางของ Bladder (ถุงลม) ทับบริเวณ Bracial Pulse นั้น จะทำให้สายยางทั้ง 2 เลื่อนไปอยู่ด้านข้างของแขนผู้ป่วย(วัดแขนขวาสายยางจะอยู่ด้านในของแขนผู้ป่วย และถ้าวัดแขนซ้ายสายยางจะอยู่ด้านนอกของแขนผู้ป่วย) จึงทำให้ผู้วัดความดันโลหิตสามารถคลำ Bracial Pulse วาง Stethoscope ได้สะดวก

          จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การวัดความดันโลหิตและการนิเทศนักศึกษาพยาบาลในการวัดความดันโลหิตกับอาจารย์ในภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชและ ดร.ศรีสกุล ซึ่งเป็นผู้สอนภาคทดลองฐานการตรวจสอบสัญญาณชีพในปีการศึกษาที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่าการวัดความดันโลหิตด้วยวิธีใหม่น่าจะเกิดผลดีต่อการฝึกทักษะดังกล่าวของนักศึกษาพยาบาลมากกว่าการวัดแบบเดิม

Print Friendly
ผู้เขียน อ.อรัญญา บุญธรรม (ประวัติการเขียน 17 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์


Tags: , , ,

Comments are closed.