กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต
สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
เรื่อง “กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต”
ผู้เขียน อ.โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ
ผู้บันทึกการเรียนรู้ อ.มงคล ส่องสว่างธรรม
วันที่ประชุม 13 กันยายน 2555
อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อ.วราภรณ์ จรเจริญ
2. อ.อรัญญา บุญธรรม
3. ดร.เชษฐา แก้วพรม
4. ดร.ศรีสกุล เฉียบแหลม
5. อ.ลลนา ประทุม
6. อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์
7. อ.มงคล ส่องสว่างธรรม
ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กระบวนการในโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตของคนในชุมชนที่ทำให้อสม.ได้ใช้ศักยภาพของเขาในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ลดปัญหาการฆ่าตัวตาย สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านจิตใจให้แก่คนในชุมชนนี้ได้เกิดจาก กระบวนการ 3 ข คือ เข้าใจ เข้าถึง เข้าร่วมพัฒนา โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
เข้าใจ ใช้วิธีการให้ความรู้ทางภาคทฤษฎี โดยการจัดประชุมอบรมให้ความรู้เพื่อเป็นฐานความรู้เรื่องสุขภาพจิตและบทบาทการทำงานของอสม.
เข้าถึง เป็นการนำความรู้จากภาคทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการลงฝึกปฏิบัติกับคนในพื้นที่จริงโดยมีอาจารย์พยาบาลเป็นผู้นิเทศการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
เข้าร่วมพัฒนา หลังจากลงพื้นที่จริงกับคนในชุมชนแล้ว อสม.จะสามารถวิเคราะห์ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นในชุมชนของเขาได้ ทำให้เขาเกิดการตระหนักรู้ในปัญหาและคิดแก้ไขปัญหาโดยผลักดันให้เกิดขึ้นในรูปของโครงการที่จะพัฒนาชุมชนของเขา โดยใช้ศักยภาพของคนในชุมชนที่จะแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชนของเขา
ถ้าให้ความรู้ จัดอบรมเพียงอย่างเดียวแต่ไม่ฝึกปฏิบัติเพื่อนำความรู้ไปใช้ คงไม่ก่อประโยชน์และไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพราะขาดทักษะและประสบการณ์ การมีอาจารย์ช่วยนิเทศทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่เขายังไม่สันทัดในช่วงแรกได้ การให้อสม.ได้คิดโครงการต่างๆที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนของเขาด้วยตัวเขาเอง ทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจ มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนในชุมชนของเขาและมั่นใจในศักยภาพของตนเอง