โครงการนำร่องระบบสนับสนุนการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ชั้นเรียนออนไลน์

ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุมโครงการนำร่องระบบสนับสนุนการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2555  (ClassStart.org) และ PBL-ASEAN Iณ ห้องประชุม 201 อาคารวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคาร ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ และนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอย่างยิ่งคือ ClassStart สู่การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเรียนจาก Flip Classroom ผ่าน ClassStart

ClassStart คืออะไร

ClassStart.org คือระบบการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ บริการฟรี แก่ทุกสถานศึกษาทั่วประเทศไทย ผู้เขียนแนะนำให้อ่านเงื่อนไขการใช้บริการได้ที่นี่และ  ขั้นตอนการเริ่มต้นใช้ระบบ  แบบง่าย 6 ขั้นตอน

อาจารย์ท่านใดสนใจเชิยอ่านรายละเอียดได้จาก  คู่มือการใช้งาน (Help.ClassStart.org) :: เอกสารแนะนำ ClasStart.org (.pdf)

Tags: , , ,

การเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความมั่นใจของนักศึกษาในการปฏิบัติงาน รายวิชา พย.๑๓๒๒ A/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ๑A

การเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความมั่นใจของนักศึกษาในการปฏิบัติงาน

ณ แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว (ANC) โรงพยาบาลพระปกเกล้า

รายวิชา พย.๑๓๒๒ A/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ๑A

ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕

……………………………………………………………………..

ผู้เขียน  อาจารย์ขนิษฐา  เมฆกมล

ผู้ร่วมจัดการความรู้       อาจารย์ธนพร  ศนีบุตร  อาจารย์อารีรัตน์  วิเชียรประภา และนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๓ แต่ละกลุ่มที่ขึ้นปฏิบัติงาน ณ แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว (ANC) โรงพยาบาลพระปกเกล้า

          จากผลการสำรวจความพึงพอใจของการได้รับบริการจากนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ที่ปฏิบัติงาน ณ แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว (ANC) โรงพยาบาลพระปกเกล้า พบว่าความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อนักศึกษาที่มากที่สุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ พฤติกรรมการให้บริการยิ้มแย้ม แจ่มใส การเปิดโอกาสให้พูดคุยซักถาม และการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สำหรับข้อที่พบว่าผู้รับบริการพึงพอใจน้อยที่สุดใน ๓ อันดับสุดท้าย ได้แก่ การจดจำในรายละเอียดและความต้องการของผู้รับบริการ ระยะเวลาในการซักประวัติและระยะเวลาในการตรวจร่างกาย/การตรวจครรภ์

จากข้อมูลดังกล่าวอาจารย์นิเทศและนักศึกษาที่ขึ้นปฏิบัติงาน จึงได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อให้นักศึกษามีความมั่นใจ มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยนักศึกษาได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มและมีแนวทางในการปฏิบัติงานของนักศึกษา ดังนี้

๑.      ศึกษาข้อมูลจากสมุดฝากครรภ์ให้ละเอียดทุกหน้า โดยเฉพาะหน้าที่ต้องบันทึกข้อมูลของผู้รับบริการก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงาน

๒.      นักศึกษาจับคู่กันเพื่อฝึกตรวจร่างกายและตรวจครรภ์โดยให้เพื่อนประเมินตาม checklist และให้เพื่อนที่เป็นหญิงตั้งครรภ์บอกภาวะแทรกซ้อนที่ขณะตั้งครรภ์ ๑ อาการ เพื่อฝึกให้คำแนะนำ

๓.      กำหนดเวลาในการปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ให้ใช้เวลาอย่างน้อย ๓๐ นาที ในการตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์และให้คำแนะนำให้ใช้เวลาอย่างมาก ๓๐ นาที

๔.      ดูแลผู้รับบริการเป็นรายบุคคลจนผู้รับบริการกลับบ้าน กรณีผู้รับบริการมีภาวะแทรกซ้อนต้องพบแพทย์หรือต้องไปตรวจพิเศษอื่นๆเพิ่มเติม นักศึกษาที่ปฏิบัติงานในแต่ละจุดต้องมีการส่งข้อมูลต่อกัน เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

๕.      เตรียมความพร้อมโดยนักศึกษาแบ่งหัวข้อกันศึกษาภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์และมาพูดคุยกับเพื่อนในกลุ่มเพื่อเตรียมความพร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการ

หลังจากที่นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมตามแนวทางต่างๆนี้  นักศึกษามีความมั่นใจมากขึ้น แต่ในการปฏิบัติงานจริงยังพบว่าโดยภาพรวมนักศึกษาใช้เวลาในการซักประวัติค่อนข้างนาน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบางเรื่องนักศึกษายังตัดสินใจไม่ได้ นักศึกษาที่มีการเตรียมความพร้อมมาดีจะมีความมั่นใจและสามารถปฏิบัติงานได้ดี  ดังนั้นกรณีที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอก ควรมีวิธีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนฝึกปฏิบัติงานให้มากขึ้นโดยอาจารย์นิเทศวางแผนร่วมกับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจและมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน

…………………………………………………………………………….

Tags: , , , , , , , , , , ,

การตรวจวัดค่าปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit= Hct)

การตรวจวัดค่าปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit= Hct)

ส่วนใหญ่ทำกับผู้ป่วยที่มีการเสียเลือด หรือมีความบกพร่องเกี่ยวกับเม็ดเลือดเช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ได้รับเลือด ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด ประสบอุบัติเหตุเสียเลือด ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง เด็กทารกที่มีอาการเหลือง

๑.      อุปกรณ์ที่ใช้

1.1    capillary tube      จำนวน  ๒ หลอด

1.2   ดินน้ำมัน

1.3   อุปกรณ์เจาะเลือด (Lancet)

1.4   Hematocrit centrifuge

1.5   Graphic Reader

๒.      วิธีการเจาะเลือด มีขั้นตอน ดังนี้

1.6   ทำความสะอาดผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์ ๗๐% รอให้แห้ง

1.7   บีบปลายนิ้วให้เลือดมาคั่งจนผิวเป็นสีแดง

1.8   ใช้เข็มหรือมีด (Lancet) เจาะผิวหนัง

1.9   นำหลอดบรรจุเลือด( capillary tube)ด้านที่มีรอยขีดสีแดง (มีสารเฮปารินเคลือบ) มารอรับเลือด ให้เลือดไหลเข้าไป ๓/๔ ของหลอด

1.10           ปักหลอดติดไว้กับดินน้ำมัน

1.11           นำไปเข้าเครื่องปั่น( Hematocrit centrifuge) โดยปั่นนาน ๕ นาที

1.12           อ่านค่า Hct จากเครื่องมือวัดหาค่า Hct. (Graphic Reader)

ศึกษาทำความเข้าใจ Hct จาก clip ใน www.youtube.com ได้เลยครับ

Tags:

DM Care Model ในชุมชน

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  และกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่  9 วันที่  10 กันยายน  2555  เวลา 13:30-16:00 น.

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง    DM Care Model ในชุมชน

วิทยากร    นายแพทย์วีระ  สุเจตน์จิตต์   นายแพทย์เชี่ยวชาญ  ผู้อำนวยการ รพ.แหลมสิงห์

ผู้เข้าร่วมประชุม  จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  20 คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  10  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   30  คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของนายแพทย์วีระ  สุเจตน์จิตต์

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาล แหลมสิงห์ ชื่อโครงการ “สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยสไตล์แหลมสิงห์ Laemsing Chronic Care Model”  ภายใต้การค้นหาต้นแบบการดูแลโรคเรื้อรังแบบเบ็ดเสร็จโดยทำคลินิกเบาหวานชุมชน ใช้ อาสาสมัคร อสม.เป็นคู่ใจคนไข้เบาหวาน  มีวัตถุประสงค์หลักคือ

1. การลดผลกระทบต่อตัวบุคคลผู้เป็นโรคเรื้อรัง

2. การส่งเสริมบุคคลในชุมชนที่ยังไม่เป็นโรคเรื้อรัง

โครงการ Laemsing Chronic Care Model  เป็นการแทรกแซงวิถีชีวิตของประชากรกลุ่มโรคเรื้อรัง โดยการนำหลักการสร้างเสริมสุขภาพและการมุ่งเน้นปัจจัยกำหนดสุขภาพประยุกต์ใช้กับระบบสุขภาพใน        การดูแลโรคเรื้อรังโดยคาดหวังให้เกิด

1. ค้นหาการให้บริการรูปแบบใหม่โดยเน้นการทำงานเชิงรุกแบบสหสาขาวิชาชีพที่มีการเตรียม                ความพร้อมล่วงหน้าโดยใช้ผลเลือดหลังอาหารเที่ยง(เวลา 15.00-16.00 น.)

2. สนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วย โดยมีอสม.เป็นพี่เลี้ยง โดยเจาะเลือด 2 ชม.หลังอาหารกลางวัน

3. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนมีการตื่นตัวและมีส่วนร่วม

4. เกิดระบบฐานข้อมูลทางคลินิก

5. เกิดความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์

          6. เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพดังนี้

6.1. HbA1C อยู่ในเกณฑ์ปกติเป้าหมาย Hb A1C  น้อยกว่า 7.5 %

6.2. ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่จำเป็นลดลง

6.3. สุขภาพจิตดี

6.4. ชุมชนมีความสข

 

มีหลักการดำเนินงานดังนี้

  1. การสนับสนุนการตัดสินใจ    พัฒนาทักษะส่วนบุคคล Self management support โดยยึด

          หลัก 3 อ 2 ส  

1) อาหาร ไม่เค็ม ไม่หวาน ไม่มัน ไม่มาก

2) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

3) อารมณ์แจ่มใสอยู่เสมอ

4) งดสูบบุหรี่

5) งดเสพสุรา

2. การสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support) โดยบูรณาการกับแพทย์แผนไทยและบริบทของหมู่บ้าน

3. การบริการรูปแบบใหม่ Delivery system design  คลินิกเบาหวานชุมชนทีมสหสาขาวิชาชีพ

4. ระบบฐานข้อมูล Clinic information system  ฐานข้อมูล HOSxp offline

5. สร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ  Build public policy  คู่มือการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

6. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ   Create support environment   ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล การมี อสม.เป็นพี่เลี้ยง

7. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน Strengthening community action  อสม.รวมตัวเป็นแกนนำการทำงานเจาะเลือดผู้ป่วย วัดความดัน  ชั่งน้ำหนัก  จัดหาอาหารกินร่วมกัน

แผนการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน การให้ความรู้และการฝึกทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย

ก่อนดำเนินการประชุมชี้แจงแก่กลุ่มเป้าหมาย ฝึกทักษะการเจาะเลือดให้อาสาสมัครสาธารณสุข

เดือนที่ 1 มีการดำเนินการดังนี้

-เจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ

-การให้คำปรึกษาด้านการให้ยารายบุคคล

-ประเมินพฤติกรรมการบริโภคและการให้ความรู้รายบุคคล

-การให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายฝึกออกกำลังกาย

-แพทย์ให้ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างน้ำตาลในเลือดกับการหลั่งอินซูลินและฝึกทักษะการบริหารร่างกายโดยแพทย์

-คัดกรองผู้ป่วยก่อนพบแพทย์โดยพยาบาล

-ตรวจรักษาโดยแพทย์ จ่ายยาโดยเภสัชกร

เดือนที่ 2 มีการดำเนินการดังนี้

          -เจาะเลือดโดยอสม.ก่อนอาหารเช้าและก่อนหลังอาหารกลางวัน 2 ชม.

-ตรวจเท้า ขูดตาปลา หนังที่แข็ง ทำแผล ฝึกนวดเท้า ตามหลักการแพทย์แผนไทย

-บำบัดรักษาผู้มีความเสี่ยงปานกลางจากการตรวจเท้าด้วยการนวดบำบัดจำนวน 5-8 ครั้ง โดยการนัดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

-แพทย์ให้ความรู้การเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด(FBS) กับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1c)และฝึกทักษะการบริหารร่างกาย

-คัดกรองผู้ป่วยก่อนพบแพทย์โดยพยาบาล

-ตรวจรักษาโดยแพทย์ จ่ายยาโดยเภสัชกร

เดือนที่ 3 มีการดำเนินการดังนี้

-เจาะเลือดโดยอสม.ก่อนอาหารเช้าและก่อนหลังอาหารกลางวัน 2 ชม.

-สาธิตอาหาร 3 มื้อ สำหรับผู้ป่วย ตามหลักโภชนาการ

-ประเมินอาหารเช้าของผู้ป่วย พฤติกรรมบริโภค ให้คำแนะนำโภชนบำบัดรายบุคคลและกลุ่มย่อยที่มีปัญหาคล้ายกัน

-ประเมินการใช้ยาและให้ความรู้เรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน

-ฝึกการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน

-ตรวจเท้าด้วยmonofilament ซ้ำในผู้ป่วยหลังจากได้รับการนวดบำบัด

-เจาะเลือดหลังอาหารเช้า 2 ชั่วโมง

-แพทย์ให้ความรู้เรื่องการดูดซึมน้ำตาลหลังการรับประทานอาหารและฝึกทักษะการบริหารร่างกาย

-ตรวจรักษาโดยแพทย์ จ่ายยาโดยเภสัชกร

เดือนที่ 4 มีการดำเนินการดังนี้

          -เจาะเลือดโดยอสม.ก่อนอาหารเช้าและก่อนหลังอาหารกลางวัน 2 ชม.

          -ฝึกสมาธิบำบัด ออกกำลังกายด้วยท่าฤษีดัดตนและโยคะ

          -ตรวจสุขภาพช่องปาก

          -แพทย์ให้ความรู้การบริโภคอาหารกับระดับน้ำตาลในเลือดและฝึกทักษะการบริหารร่างกายโดยแพทย์

-ตรวจรักษาโดยแพทย์ จ่ายยาโดยเภสัชกร

เดือนที่ 5 มีการดำเนินการดังนี้

-เจาะเลือดโดยอสม.ก่อนอาหารเช้าและก่อนหลังอาหารกลางวัน 2 ชม.

          -ฝึกการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน  และสมาธิบำบัด

          -แพทย์ให้ความรู้เรื่องภาวะไขมันในเลือดสูง ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือด ฝึกทักษะการบริหารร่างกายโดยแพทย์

-ตรวจรักษาโดยแพทย์ จ่ายยาโดยเภสัชกร

          -เยี่ยมบ้านประเมินการรับรู้ เกี่ยวกับภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด ในกลุ่มที่มีไขมันในเลือดสูง ประเมินการใช้ยาและให้คำปรึกษาด้านยา รายบุคคล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในการดูแลโรคเรื้อรัง

เกิดการยกระดับคุณภาพในการบริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยมีความพึงพอใจ (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์) ซึ่งเป็นผลของการมีความสัมพันธ์/ปฏิสัมพันธ์เชิงบวกในชุมชน ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มคนในชุมชน อสม. ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีความรู้ความเข้าใจและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้สามารถดูแลตนเองได้ดียิ่งขึ้น

สรุปประเด็นสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ได้รับความสนใจ พูดคุยซักถามถึงกิจกรรมที่ทำในชุมชน ซึ่งมีพยาบาล (หัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลแหลมสิงห์) และนักวิชาการสาธารณสุข (คุณวาสนา ธัญญโชติ) ผู้ร่วมดำเนินการโครงการนี้ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าฟัง เกี่ยวกับวิธีการดำเนินปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการเป็นตัวอย่างโครงการสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาการบริการสุขภาพเชิงรุกแก่ผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้เมื่อได้รับความใส่ใจจากบุคคลากรทางสุขภาพซึ่งเป็นสหสาขาวิชาชีพ ก็จะส่งผลให้มีความสามารถในการดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเรื้อรังและมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้น   หากมีโครงการลักษณะดังกล่าวที่เกิดขึ้นและพัฒนาให้ยั่งยืนในแต่ละชุมชนได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติต่อไป

แนวทางการนำผลการประชุมไปใช้ จากการประชุมครั้งที่ 9

1. ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อาจารย์สามารถนำหลักการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละชุมชน

2.  ในการพัฒนา Excellent center ของวิทยาลัย เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาจารย์อาจให้บริการหรือทำวิจัยโดยใช้หลักการของโรงพยาบาลแหลมสิงห์ เป็นแนวทางในการดำเนินการได้

 

อาจารย์จริยาพร   วรรณโชติ

ผู้บันทึกการประชุม

 

Tags: , , , , ,

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน กลุ่มงานธุรการ ห้องพิมพ์ และห้องโสต

 

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

โครงการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน สร้างเสริมค่านิยมองค์กร”

                                                                        ณ  ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

                                                                        กลุ่มห้องธุรการ  ห้องพิมพ์ และห้องโสต

ผู้เขียน อ.นุชนาถ  ประกาศ

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. นางสาวชลิตา  วรวุฒิพิศาล
  2. นางสาวภณิดา  สิทธิเวช
  3. นางนันท์นภัส  ฟั่นแจ้ง
  4. นางสาวชาภณัฏฐ์ญา  ญาสิภูมิศิลชิต
  5. นางลำยอง  ศรีจันทร์
  6. นางพูลสุข  ผิวศิริ
  7. นางสาวรุ่งทิวา  รัตนาธรรม
  8. นางอนัญญา  สิงห์จาน
  9. นางกัญญา  เดือนแรม
  10. นางสาวชมพู  เนินหาด
  11. นายไพรัตน์  กลิ่นระรื่น
  12. นายมานัส  สิทธิเวช
  13. นายอภิมุข  สุขสิงห์

๑.      สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานโรงแรมเมอร์เคียว

-          ด้านระบบการบริหารจัดการงานโรงแรม มีความชัดเจนในการบริหารจัดการ เช่น มีแผนผังการจัดการด้านการทำงานและสถานที่จัดบริการต่าง ๆ ภายในโรงแรม มีการแบ่งงานตามภาระหน้าที่    ไม่ใช้บุคลากรจำนวนมากนักแต่การทำงานจะเน้นคุณภาพของงานเป็นสำคัญ มีการจัดบริการเพิ่มตามความต้องการของลูกค้า เช่น สปาร์ สถานที่ออกกำลังกาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการที่ดีทำให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้าหลายด้าน เช่น ด้านอาหารต้องอร่อย ที่พักต้องสะอาด

-          ด้านการบริการ พนักงานแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส สุภาพ ต้องมีใจรักในการให้บริการการบริการของพนักงานทุกคนเน้นความพึงพอใจของลูกค้า

-          ด้านบุคลากร  การคัดสรรบุคคลเข้าทำงานจะดูจากประสบการณ์เป็นหลัก มีการบริหารที่เกี่ยวกับบุคลากรหรือพนักงานโดยทุกคนจะทำหน้าที่ของตนเองอย่างเคร่งครัด เมื่อมีการพนักงานใหม่มาก็จะมีการฝึกอบรมพนักงานตามหน้าที่ก่อนปฏิบัติงานจริง และมีการจัดอบรมให้ในแต่ละเดือน ตามหลักการ Put the right man on the right job งานทุกงาน ตำแหน่งทุกตำแหน่ง    มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ซึ่งบุคลากรทุกคนมีความจำเป็นที่ต้องรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัดตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ นอกจากนี้มีการสอนงานและเรียนรู้ทบทวนงานเป็นประจำ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก นอกจากจะสอนงานให้พนักงานใหม่แล้ว พนักงานอาวุโสก็จะไปทบทวนความรู้ไปในตัว ทำให้การดำเนินงานเป็นไปโดยราบรื่น ไม่ติดขัดเมื่อพบเจอปัญหา

-          ด้านอาคารสถานที่ มีบริการห้องพักหรือสถานที่สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า เช่น ฟิตเนส สระว่ายน้ำและที่รับแขกที่มีความเป็นกันเองหรือเข้าถึงความรู้สึกของผู้มาพักไม่ว่าจะเป็น ที่นั่งเล่นพักผ่อน หรือสวนหย่อมที่หรูหรา เป็นต้น

-          ด้านสวัสดิการ  สวัสดิการที่ให้กับพนักงานทุกคนจะต้องทำประกันซึ่งมี 5 แบบ คือ ประกันสังคม การคลอดบุตร ที่อยู่อาศัย โรคภัยไข้เจ็บ และประกันกองทุนเลี้ยงชีพโดยโรงแรมจ่ายให้ 50%

๒.     สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาตะวันออกของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน [...]