การพยาบาลแบบประคับประคอง Heart to Heart: Quality of Palliative care Nursing

สรุปสาระจากการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออก เรื่องจากใจถึงใจ : คุณภาพการพยาบาลแบบประคับประคอง Heart to Heart: Quality of Palliative care Nursing วันที่ 30 พฤศจิกายน-  1 ธันวาคม 2012 ปาฐกถาพิเศษเรื่องจากใจถึงใจ:มิติแห่งคุณภาพการพยาบาล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา  ยูนิพันธ์ อุดมการณ์ในการทำงานของพยาบาลในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันความท้าทายในระบบสุขภาพ Palliative care คือ อะไร ทำอย่างไรถึงจะเกิด Palliative care คือ การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลแบบองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณของผู้ป่วย ควบคู่ไปกับอาการทางกาย สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคที่คุมคามต่อชีวิต  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตในระยะเวลาที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่มีอาการทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนทางกายและจิตใจ รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวได้เมื่อผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต พยาบาลกับการดูแลแนวคิด Palliative care แบบองค์รวม 1)      พยาบาลในบทบาทผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจต่อการดูแลแบบ Palliative care และ Focus ที่ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล  และ [...]

Tags: , , , , , , , ,

กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง “กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต” ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม วันที่ประชุม     13  กันยายน 2555 อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ 2. อ.อรัญญา     บุญธรรม 3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม 4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม 5. อ.ลลนา        ประทุม 6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์ 7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการในโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตของคนในชุมชนที่ทำให้อสม.ได้ใช้ศักยภาพของเขาในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ลดปัญหาการฆ่าตัวตาย สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านจิตใจให้แก่คนในชุมชนนี้ได้เกิดจาก กระบวนการ 3 ข คือ เข้าใจ เข้าถึง เข้าร่วมพัฒนา โดยมีกลยุทธ์ดังนี้ เข้าใจ ใช้วิธีการให้ความรู้ทางภาคทฤษฎี โดยการจัดประชุมอบรมให้ความรู้เพื่อเป็นฐานความรู้เรื่องสุขภาพจิตและบทบาทการทำงานของอสม. เข้าถึง  เป็นการนำความรู้จากภาคทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการลงฝึกปฏิบัติกับคนในพื้นที่จริงโดยมีอาจารย์พยาบาลเป็นผู้นิเทศการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด เข้าร่วมพัฒนา [...]

Tags: , , , , ,

สาระสำคัญของการเรียนรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของบุคลากรทางสาธารณสุข

การจัดการความรู้ด้านการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ สาระสำคัญของการเรียนรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของบุคลากรทางสาธารณสุข เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ประธานการประชุม: อ.ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ ผู้เข้าร่วมประชุม      1. อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์      2. อ.ดร.พรฤดี นิธิรัตน์      3. อ.ดร.ปิ่นนเรศ กาศอุดม      4. อ.คณิสร แก้วแดง สาระสำคัญของการเรียนรู้จากการอบรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของบุคลากรทางสาธารณสุข      สาระสำคัญที่สรุปได้คือ “ต้องทำให้ทุกขั้นตอนของการวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก น่าสนใจ และทำวิจัยแล้วผู้วิจัยรู้สึกว่าตนเองฉลาดขึ้น”      จากประสบการณ์ที่ได้ดำเนินโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยให้กับบุคลากรทางสาธารณสุขและจากการเป็นวิทยากรบรรยายและวิทยากรพี่เลี้ยงตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการอบรม ซึ่งรวมทั้งหมดประมาณ 7 วงรอบ คณาจารย์ที่ร่วมทีมงานดังกล่าวมีข้อสรุปสาระสำคัญขององค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผลงานวิจัยและการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยให้กับบุคลากรทางสาธารณสุข ดังนี้ Related Posts by Tagsสรุปการจัดการความรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 2 รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 2 สรุปการจัดการความรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 1 รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ [...]

Tags: , , , , , ,