[วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น] การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552-2553

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ

ปีการศึกษา 2552-2553

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

********************************************************************

1. ท่านมีวิธีการดึงความสนใจ หรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชาดังนี้

- ก่อน ถามต้องการการติวของนักศึกษาก่อน เช่น ต้องการติวอย่างไร ต้องการติวเนื้อหาใดบ้าง

- ระหว่าง สรุป concept จริง ๆ โดยสั้น ๆ  สอนเทคนิคการจำ ใช้คำพูดกระตุ้นให้เห็นความสำคัญเป็นระยะ ๆ มี concept สรุปให้นักศึกษาดู/ถ่ายเอกสาร(ถ้านักศึกษาต้องการ) บอกให้จดในส่วนสำคัญที่คาดเดาว่าน่าจะออกข้อสอบ อนุญาตให้กินขนมหรือน้ำได้ แต่ห้ามหลับ ห้ามชวนเพื่อนคุย

- สื่อการสอนที่หลากหลาย รูป การอธิบายให้นักศึกษาเห็นเป็นรูปธรรม เข้าใจได้ง่าย มีกิจกรรมและแรงจูงใจไม่ให้นักศึกษาหลับ

- ใช้การพูดคุย กระตุ้นการ discuss จากนักศึกษา พูดคุยเล่นเป็นกันเองบ้าง

- ก่อนเรียนมีการกระตุ้น/ดึงดูดความสนใจของนักศึกษาโดยการเล่าประสบการณ์การสอบสภาที่ผ่านมา/การแชร์เรื่องการเตรียมตัวก่อนเข้าเนื้อหาตามหัวข้อที่ได้รับ assign ให้สอนเสริม

- ในระหว่างการสอนการกระตุ้นส่วนใหญ่จะเป็นการเรียกตอบคำถามโดยเน้น/สุ่มเรียกนักศึกษาที่หลับ หรือกำลังจะหลับ

2. ท่านใช้วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้มากขึ้น ดังนี้

- สรุปเนื้อหาสั้น ๆ

- สอนเทคนิคการจำ(ส่วนตัวของเราเอง)  สอนเทคนิคการจำด้วยวิธีอื่น

- เป็นการคาดเดาเนื้อหาที่น่าจะออกข้อสอบ ให้นักศึกษาไปทบทวนเพิ่ม

- ยกกรณีศึกษาจริง ปัญหาของผู้ป่วยจริง ๆ เอามาเปรียบเทียบกับตัวเรา

- ปัญหาแต่ละโรคเน้นว่าอะไรคือประเด็นสำคัญของโรคนี้

- มีเทคนิคการในการ สร้างหลักในการจำคร่าว ๆ ไม่เจาะรายละเอียดมาก เพราะนักศึกษาค่อนข้างเครียดและจำไม่ได้

- หา keyword  ให้นักศึกษาจำ และจากการทำข้อสอบต่าง ๆ จะให้ลองทำ หลังจากนั้นเฉลยเลยโดยผล การตรวจให้รอก่อน นักศึกษายังพอจำข้อสอบได้และจะให้อภิปราย ชี้ข้อผิดพลาด ข้อมูลถูกต้องให้เห็นชัดเจน

- การ short note  ทำ maping โดยวิธีการของตัวนักศึกษาเอง

- สรุปเองจากการ  จะทำให้เข้าใจมากขึ้น

3. ท่านมีวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก(100 คน) ดังนี้

- ทวนสอบกลับโดยการถามในห้องเรียนขณะนั้นเลย

- ให้ผู้ตอบถูก(สุ่ม) และผู้ตอบผิด อธิบายเหตุผลตนเองว่าคิดเพราะเหตุใด และเฉลยให้

- ข้อสอบ Pre-Post test

- โจทย์สถานการณ์ ให้นักศึกษาตอบคำถาม(อาจสุ่ม)

- สุ่มการถามตามเลขที่บ้าง มีคำถามที่นอกจากข้อสอบให้ตอบบ้าง

- สุ่มเรียกตอบคำถาม (ซึ่งอาจจะไม่ได้ทุกคนและอาจเป็นการประเมินผลที่ดีที่สุด)

4. ท่านคิดว่าการเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพควรเป็นดังนี้

- อยากให้วิเคราะห์นักศึกษาเป็นครั้ง ๆ จากอาจารย์ผู้เคยสอนหลาย ๆ ท่านก่อนกระบวนการติว เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาคิดว่าแต่ละปีนักศึกษามีสมรรถนะ/พฤติกรรมต่าง ๆ กันไป ซึ่งมีผลต่อการรับรู้แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการติว/เตรียม

- ควรเริ่มตั้งแต่ปี 2 เมื่อนักศึกษาเริ่มเรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสอบ

- ควรจัดติวตั้งแต่นักศึกษาขึ้นปี 4 เทอมแรก และติวค่ายติวเข้ม 1 เดือน (น่าจะดูรูปแบบของ วพบ.สระบุรี หรือ วพบ.อื่น ที่เขาทำคะแนนได้ดี และติวแล้วนักศึกษาไม่เครียดจนเกินไป

- จัดเป็นโปรแกรมที่มีการเตรียมล่วงหน้า ตั้งแต่ปี 3 หรือเริ่มขึ้นปี 4 เพราะถ้าเราไม่จัดตารางให้นักศึกษาค่อนข้างจะรวมและเตรียมตัวได้ยากและน้อยคนที่จะทำได้

- ให้อาจารย์ทุกท่านมีส่วนร่วมในการติวนักศึกษา เพราะอาจารย์ทุกคนมีความสามารถและข้อเสนอแนะที่ดีให้กับนักศึกษา และมีเทคนิคในการจำแต่ละแบบที่หลากหลายให้นักศึกษาเลือกได้มากกว่าการสอนของกลุ่มอาจารย์เพียงกลุ่มเดียว

- สร้างกำลังให้ เน้นให้นักศึกษาตระหนัก เข้าใจถึงความสำคัญของการสอบให้ผ่าน

- ประชุมสร้างความร่วมมือระหว่างอาจารย์ผู้สอนเสริมในแต่ละวิชา

- Self Empovement

- Repare enough & available resoures for students to be able to access as much as they

5. ท่านได้รับรู้/รับฟัง/เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย ซึ่งท่านเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- วิทยาลัยในเครือข่ายหรือ สบช. วิธีการไม่ต่างกัน(ที่รับรู้มา) แต่เพราะอะไรนักศึกษาได้ต่างกัน ไม่ทราบ (น่าจะลองดู)

- ในมหาวิทยาลัย(ที่รู้มา) เขาช่วยเหลือนักศึกษาน้อยกว่าของเราอีก แต่นักศึกษาสอบผ่านได้มาก เกิดอะไรขึ้น  ตอบไม่ตรงคำถามหรอกค่ะ แต่ถ้าหาคำตอบ 2 ข้อนี้ได้น่าจะมีอะไรดี ๆ อีกมาก

- จัดรูปแบบการติว ให้มีเรื่องของสมาธิ การออกกำลังกาย(โยคะ) การผ่อนคลายบ้าง “ฝึกสติ สมาธิ ช่วยจำ”

- มีการเตรียมนักศึกษาล่วงหน้าตั้งแต่ปี 4 เทอม 1 ฝึกทำข้อสอบและเปิดห้องเรียนติวแบบเข้มงวด ให้ออกไปข้างนอกเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ โดยทั้งอาจารย์และนักศึกษาร่วมมือกันสร้างข้อตกลงในการเตรียมตัวร่วมกันและยึดถืออย่างชัดเจน พร้อมเพรียงกัน (จัดชั่วโมง Relax ให้อย่างชัดเจน และอาจารย์ทุกท่านที่รับผิดชอบเข้าติวให้เข้าติว ห้ามปล่อยให้นักศึกษาไปอ่านเองเด็ดขาด เพราะนักศึกษาจับประเด็นไม่ได้ครบ สอบตกเยอะ)

- การเตรียมตัวนักศึกษาตั้งแต่ปี 3 ไปเรื่อย ๆ จนถึงปี 4

- การติว/สอนเสริม โดยนักศึกษากันเองด้วยและอาจารย์ด้วย

6. ในปีการศึกษา 2554 ซึ่งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประมาณ 280 คน ท่านเห็นว่าวิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบฯ อย่างไร

- เริ่มตั้งแต่ต้นปี

- หาเวลาเพิ่มให้แต่ละวิชาบ้าง(ติว+ทำข้อสอบ) คงต้องเสียค่า OT บ้างในวันเสาร์-อาทิตย์

- แยกเด็กที่อ่อน อ่อนมาก ออกมาติวเป็นพิเศษนอกเหนือจากการติวให้เด็กอื่นตามปกติ

- จัดโปรแกรมติว แบ่งนักศึกษา 4 กลุ่ม 70 คน/กลุ่ม  อาจใช้อาจารย์ประจำชั้นกระจายในแต่ละกลุ่มเพราะจะรู้จักนักศึกษาได้ค่อนข้างมากกว่าอาจารย์ท่านอื่น จัดทีมอาจารย์ที่ปรึกษาครบ 8 รายวิชาในแต่ละกลุ่ม(เพื่อพูดคุยติดตามนักศึกษา มีเด็กอ่อน+เก่ง แต่ไม่น่าคาดหวังหวังว่าเด็กเก่งจะดูอ่อนเพราะเขาก็เครียดเรื่องตัวเอง) ส่วนโปรแกรมการติวให้จัดทีมแต่ละวิชาติวเวียนกันไป(ไม่ fix ว่าอาจารย์ 8 รายวิชาจะต้องประจำกลุ่มเท่านั้น เพื่อได้แลกเปลี่ยนความรู้ เช่น วิชาการพยาบาลเด็ก อาจารย์ทั้งหมด 7  ท่าน(รวม อ.จีราภา)

- แบ่งทีมประจำกลุ่ม 4 กลุ่ม(อ.ที่เป็นหลัก) ส่วนที่เหลือประกบคู่(ไม่ครบ 8 อาจขอแรง อ.น้องใหม่กระจายช่วยอีกแรงน่าจะดีค่ะ)  อาจารย์ประจำกลุ่มมีหน้าที่ดูแลนักศึกษาในห้องของตนเอง  สำหรับการติวให้อาจารย์ทุกท่านในวิชาเด็กจัดเข้าติวโดยประกบพี่+น้อง(ที่มีประสบการณ์น้อย) เวียนกันติวทั้ง 4 กลุ่ม

- เริ่มชี้แจง เน้นย้ำในเรื่องการเตรียมตัวสอบตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1

- สร้างกำลังใจ ให้นักศึกษามีความมั่นใจ มีความตระหนักของการเตรียมตัวสอบ

- ประชุมอาจารย์ในเรื่องการวางแผน การจัดตารางสอนเสริม

- Empower นักศึกษาให้มากที่สุด เพื่อให้นักศึกษาที่มีศักยภาพที่เข้ามาศึกษาในวิทยาลัยตั้งแต่แรก ให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เต็มที่    วิชาการป้อน(Input) เพียงอย่างเดียว

7. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของท่านสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ

- มีคำถาม ทำไมวิทยาลัยอื่น ๆ จัดให้การเรียนการสอนเสร็จได้เร็วตั้งแต่เดือนธันวาคม แล้วเวลาที่เหลือเป็นเตรียมนักศึกษา อยากรู้ผลเปรียบเทียบวิธีการนี้กับของวิทยาลัยเราต่อผลการสอบได้ จะได้นำมาปรับของเราได้ หรือเราดีอยู่แล้ว

- Reward ที่เป็นไปไม่ได้ กำหนดไว้แล้วจะดีหรือไม่

- นักศึกษาที่เรียนรวมกันทั้งเรียนดี+เรียนอ่อน น่าจะมีวิธีการแยกเด็กช่วยเหลือให้ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (เพราะแม้แต่อ่านหนังสือเอง นักศึกษายังอ่านไม่เข้าใจ ถ้านั่งติวอย่างเดียวคงไม่ได้ผล)

- ให้อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันทำข้อตกลงในการติวที่ชัดเจน ให้นักศึกษาได้รับทราบและปฏิบัติ (พลังกลุ่มของนักศึกษาสามารถดูแลกันได้ แต่ต้องแยกนักศึกษาชายไม่ให้รวมกัน)

- อาจารย์แต่ละท่านมาเล่าประสบการณ์วิธีการสอนเสริมที่จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจและจำได้

ผู้รวบรวมข้อมูล

จริยาพร วรรณโชติ

[วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ] การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552-2553

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ

ปีการศึกษา 2552-2553

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่  และผู้สูงอายุ

********************************************************************

1. ท่านมีวิธีการดึงความสนใจ หรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชาดังนี้

- trigger เกริ่นด้วยภาพเร้าใจ นำเข้าสู่บทเรียน ตั้งคำถาม what when why how

- ให้ข้อมูลผลลัพธ์การสอนและการสอบผ่านรายวิชา

- ทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอน

- ใช้ข้อสอบดึงความสนใจและกระตุ้นการเรียนรู้ โดยให้นักศึกษาดูข้อสอบที่ฉายบน Over head พร้อมกัน

- สอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับคำตอบของข้อนั้น ๆ พร้อมถามเหตุผล

- เฉลยคำตอบ พร้อมทั้งสอนเสริมในเนื้อหาโดยสรุปของเรื่องนั้น

- ก่อนสอนพูดนำ ทักทายนักศึกษาในเรื่องทั่ว ๆ ไป ให้เกิดความผ่อนคลายก่อน

- ระหว่างสอน นอกเหนือจากเนื้อหาแล้วจะชวนนักศึกษาพูดคุยในเรื่องการเตรียมตัวในการสอบสภา

- ใช้แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ให้เอกสารประกอบการสอน และแจ้งว่ามีคะแนนระหว่างเรียน จะช่วยให้นักศึกษาที่ไม่ชอบเข้าชั้นเรียนเข้าเรียนเพิ่มขึ้น

- สอนให้เข้าใจง่าย มีความลึกซึ้งเนื้อหา ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย

2. ท่านใช้วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อาได้มากขึ้น ดังนี้

- ใช้ภาพกระตุ้นเกี่ยวกับปัญหาทางการพยาบาลของบุคคลตามจุดประสงค์รายวิชาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

- ปฏิบัติที่ตึกใช้คำถามกระตุ้น ขณะ Pre conference case กรณีศึกษาผู้ป่วยในคลินิก, clinical manifestation การตรวจร่างกายที่สำคัญ สอดคล้องกับโรค และทำไมต้องให้การพยาบาลเช่นนั้น ใช้เทคนิค “Try Think Pain + Share”

- วิชาจริยศาสตร์สำหรับพยาบาล ใช้สถานการณ์โจทย์, Dilemmas กระตุ้นการคิดเชิงจริยธรรม

- ใช้ case study วิเคราะห์ประเด็นเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

- วิเคราะห์โจทย์สถานการณ์และให้ฝึกตั้งคำถามและตอบคำถาม

- ให้ฝึกสรุปเอง เป็น mapping และให้คำปรึกษาวิธีการสรุปเมื่อนักศึกษายังไม่เข้าใจ

- ใช้ Power point ให้ดูภาพและกราฟ เช่น เรื่อง Hepatic coma, Hepatitis การดูแลผู้ป่วยใส่สาย SB.tube

- กระตุ้นนักศึกษาเป็นรายคนให้ร่วมอธิบายคำตอบที่เลือก

- นำตัวอย่างข้อสอยมาให้นักศึกษาลองวิเคราะห์และเฉลยให้นักศึกษาเข้าใจ โดยแนะนำให้เข้าใจในการตัดตัวเลือกทิ้งและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของคีย์ในโจทย์แต่ละข้อ

- ใช้ concept mapping + VDO clip + ใช้สื่อประกอบการสอนจริง

- ใช้กรณีศึกษาผู้ป่วยจริง เมื่อฝึกวิเคราะห์ปัญหาและการพยาบาล และตอบคำถามโดยส่งตัวแทนเป็นรายกลุ่มและให้คะแนนในชั้นเรียน

- ถ่ายเอกสารตำราที่คิดว่าดีที่สุด มีเนื้อหา แจกนักศึกษาให้เรียนและ highlight สีตรงเนื้อหาที่อยากให้จำให้นักศึกษาดู

3. ท่านมีวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก(100 คน) ดังนี้

- คิดคนเดียว

- ทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อสรุป concept รวบยอด เช่น concept map ของตนเอง

- ปรับภาพรวม

- สุ่มนักศึกษานำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มอื่น ๆ

- ครูสรุป concept สำคัญ เสริมแรงการเรียนรู้ เชื่อมโยงเข้ากับ Blue print สภาการพยาบาล

- ใช้แบบทอสอบ เป็นข้อสอบเก่าในเรื่องที่สอน ข้อสอบรวบยอด ข้อสอบเครือข่าย ทดสอบนักศึกษา

- ใช้แบบประเมินผลการเรียนของวิทยาลัย

- ไม่ได้ประเมินผล เนื่องจากมีเวลาในการสอนเสรอมน้อย แต่จากการประเมินโดยดูพฤติกรรมการเรียนนักศึกษาสนใจเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเข้าชั้นเรียนพร้อมเพียงกัน

- มีการตอบคำถามกลับ เมื่อถูกกระตุ้นได้ดี ไม่มีการฟุบหลับ ไม่มีเสียงคุยดังเกิน

- ใช้กรณีศึกษา ฝึกวิเคราะห์และนำเสนอรายกลุ่ม

- ใช้ข้อสอบ MEQ แต่ทำเป็นรายกลุ่ม นักศึกษาจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนและไม่เบื่อหน่ายขณะทำข้อสอบ และไม่มีชิ้นงานที่มากเกินไป

- สอบ MEQ

- รายงานกลุ่มในห้องเรียน

4. ท่านคิดว่าการเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพควรเป็นดังนี้

- ในการปฐมนิเทศนักศึกษา กระตุ้นให้นักศึกษาคิดจับประเด็นถึงจุดประสงค์การวัดผลว่าต้องผ่านสมรรถนะอะไร เพื่อให้นักศึกษาตื่นตัวคิดกำกับตัวเองให้เรียนรู้ในจุดประสงค์ตามทฤษฎี+ปฏิบัติในวิชานั้น ๆ

- ให้นักศึกษาฝึกทำแบบฝึกหัดย้อนกลับจากการเรียนแบบท่องจำ คือให้เรียนแบบคิดตั้งคำถามออกข้อสอบมาวิเคราะห์กันเอง สามารถชี้แจงเหตุผลจากการเลือกข้อถูกและไม่เลือกข้อผิดอย่างมีหลักวิชาการ อ้างอิงได้

- มีนโยบายที่ชัดเจนจากฝ่ายวิชาการ

- เข้าพบนักศึกษาทำความเข้าใจถึงผลลัพธ์ต่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ

- แบ่งกลุ่มติวโดยครูช่วยและนักศึกษาช่วยเพื่อน

- ให้เวลานักศึกษาในการเตรียมตัวให้มาก เพราะนักศึกษาจะได้มีเวลาทบทวนตำราด้วยตัวเอง การสอบแต่ละครั้งต้องขึ้นอยู่กับผู้เข้าสอบหรือผู้เรียนเองเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ผู้สอบหรือผู้ติวจะพยายามเพียงใดถ้าผู้เรียนไม่ใส่ใจตนเอง ทุกอย่างก็ไม่สำเร็จ

- มีเวลาให้นักศึกษาทำข้อสอบ

- มีเวลาให้นักศึกษาทบทวนเนื้อหาด้วยตนเองบ้าง

- มีการผ่อนคลาย นั่งสมาธิก่อนติว

- นักศึกษาต้องศึกษาด้วยตนเองก่อน

- สอนโดยวิธีการบรรยาย

- เน้นคำสำคัญเฉพาะกับโรคนั้น ๆ

- นักศึกษาต้องมีเวลาในการศึกษาด้วยตนเองก่อนสอบท้ายบท

- ควรเตรียมตัว แต่การออกแบบการจัดการศึกษาที่เน้นย้ำให้นักศึกษาจดจำความรู้ มีระบบการติดตามจากส่วนกลางไปที่การจัดการศึกษาของรายวิชา+ภาคฯ ว่าเนื้อหาครบ ขาดอะไรที่จำเป็นและสำคัญ

5. ท่านได้รับรู้/รับฟัง/เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย ซึ่งท่านเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- การติวโดยการสร้างข้อสอบ ใส่ rational เหตุผลของข้อเลือกถูกและข้อลวงได้ถูกต้อง

- เริ่มติวตั้งแต่ปีที่ 2 ให้เร็วขึ้นในรายวิชาแต่ละเทอม โดยแบ่ง blue print เป็นตอน ๆ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของวิชาในหลักสูตรเอื้ออาทรให้สอดคล้องกับ blue print ของสภา และยอมรับว่าต้องเตรียมเนื้อหาที่หลักสูตรเอื้ออาทร(2547, 2551) หายไป ไม่ยึดติดกับเนื้อหาเฉพาะในหลักสูตรเอื้ออาทรเท่านั้น

- การแบ่งนักศึกษากลุ่มอ่อนออกจากกลุ่มเก่งตาม GPA วิชาการพยาบาล 8 รายวิชา และมีการติวและวัดผลเป็นระยะ ๆ เพื่อเพิ่มความรู้ที่เป็นส่วนขาดของนักศึกษา

- นำนักศึกษาไปเที่ยวก่อนและกลับมาติว ก่อนติวให้นั่งสมาธิ ทำใจให้ว่างก่อน

- มีเวลาให้นักศึกษาทบทวนความรู้ด้วยตนเอง สลับกับการทำข้อสอบ

- เรื่องติวนักเรียนก็หลากหลาย บางทีเน้นบางทีไม่เน้น

- เรื่องการปรับคุณภาพการจัดการศึกษาน่าจะเป็นสิ่งจำเป็น ทำอย่างไรที่จะควบคุมการจัดการสอบรายวิชา (ถ้าเปลี่ยนให้ภาคจัดการเองก็มีโอกาส)

6. ในปีการศึกษา 2554 ซึ่งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประมาณ 280 คน ท่านเห็นว่าวิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบฯ อย่างไร

- ทดลองทำตามข้อ 5 ข้างบน

- เตรียมการในการสอบตั้งแต่ก่อนปิดภาคการศึกษาของปี 3 ทำตารางการสอนเสริม สอบสอนเสริมเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา(ประมาณมิถุนายน 2553) จัดเวลาให้นักศึกษาได้อ่านหนังสือเพิ่มเติมให้เหมาะสม

- นักศึกษาดังกล่าวในปีการศึกษา 2554 เรียนอ่อนมาก ไม่มีความกระตือรือร้น ขาดความรับผิดชอบไม่สนใจสิ่งแวดล้อม การเตรียมตัวนักศึกษาที่จะสอบฯคิดว่าต้องสอนหรือบอกนักศึกษาตั้งแต่ต้นปี 4 เกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของใบประกอบวิชาชีพ

- ใช้ข้อสอบกระตุ้นเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา

- แบ่งนักศึกษาย่อยลงมา ติว 2 กลุ่ม โดยจัดการติวสลับ ไม่ติวห้องรวม เพราะห้องรวมนักศึกษาจะสนใจน้อย ไม่มีสมาธิ

- ทำตัวอย่างคำถามการพยาบาลเฉพาะโรคและมีคำตอบให้ท่องจำ เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ความจำไม่ดี หากนักศึกษาจำไม่ได้จะไม่สามารถทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ได้

- เด็กบางคนอ่อนมาก จับมาเรียนใหม่ได้ เพราะถ้าเปลี่ยนไปตามสภาพนี้ ไม่ผ่านแน่นอน

- เด็กเก่งอาจติวตามปกติ

7. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของท่านสำหรับการจัดการความรู้เพื่อการเตรียมนักศึกษาสอบฯ

- ครูผู้สอนที่ติวแต่ละหัวข้อมีความจำเป็นและความเชี่ยวชาญที่มีความสามารถเฉพาะควรสอนทฤษฎีหัวข้อนั้น ๆ ตั้งแต่แรกเริ่มและนิเทศในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เมื่อมาสอนเสริมทำให้เชี่ยวชาญ มีความรู้ที่จะถ่ายทอดเป็นอย่างดี

- ให้นักศึกษาทำข้อสอบ เฉลยให้ฟังโดยการวิเคราะห์

- ให้นักศึกษาทบทวนด้วยตนเองบ้าง

- มีกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดให้นักศึกษาเป็นระยะ ๆ

- สำหรับนักศึกษากลุ่มอ่อนมาก นักศึกษาอ่านหนังสือไม่เข้าใจ จำไม่ได้ ควรต้องพานักศึกษาออกมาจากกลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ศึกษาด้วยตนเองได้


ผู้รวบรวมข้อมูล

จริยาพร วรรณโชติ

แบบสอบถามการปฏิบัติของอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์ เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552-2553

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

แบบสอบถามการปฏิบัติของอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์

เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ  ปีการศึกษา 2552-2553 

 

1.  ท่านมีวิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา  ดังนี้

        1.1   วิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนการสอนเนื้อหาวิชา

  •  
    • เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญและการตระหนักว่า  ผลการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯมีผลกระทบต่อตัวนักศึกษาอย่างไร
    • การท้าทายนักศึกษาถึงผลการสอบของกลุ่มของตนเอง
    • พูดแนะนำประสบการณ์ตรงของตนเองที่มีให้นักศึกษาได้รับทราบ
    • แนะนำวิธีการเตรียมตัวและความพร้อมในการสอบโดยใช้หลัก “ฟิตให้พร้อม  ซ้อมให้ถึง  มีชัยไปกว่าครึ่ง”
    • Pre-test
  •  

       1.2   วิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา

  •  
    • การทำข้อสอบ  และการสอนวิธีและเทคนิคการทำข้อสอบ 
    • กระตุ้นโดยการถามคำถาม  และให้นักศึกษาตอบ  หรือสุ่มถามเป็นรายบุคคล
    • สอบถามนักศึกษาในองค์ความรู้เป็นระยะ ๆ
    • ให้ทดลองทำข้อสอบก่อนและเฉลย  เพื่อเชื่อมโยงสู่การสอนในเนื้อหาวิชา
    • แบ่งกลุ่มย่อยให้อภิปราย
    • ศึกษาดูงานในสถานที่จริง  เช่น  ดูงานชุมชนเข้มแข็งที่จังหวัดของตนเองแล้วนำมาอภิปราย

2.  ท่านใช้วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ  หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้มากขึ้นดังนี้

       2.1  การเฉลยข้อสอบที่เชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหา

       2.2  การทำ  key  concept

       2.3  การถาม-ตอบ  ประเมินความเข้าใจในระหว่างการสอน

       2.4  ใช้หลักการ “สนุก  ง่าย  ได้ผล  คงทน  และยั่งยืน”  ให้นักศึกษามีความรู้สึกสบาย  ผ่อนคลาย  ฝึกสมาธิ  เสริมความรู้ทางด้านวิชาการเข้าไป  ไม่เคร่งเครียดมาก  ทบทวนบ่อย ๆ

       2.5  ใช้ mapping  และให้นักศึกษาจำ concept  หลัก

       2.6  การสอนมีรูปภาพประกอบ

       2.7  สอนเฉพาะประเด็นที่สำคัญ 

       2.8  สอนหลักการจำ   เช่น  คำคล้องจอง  ความเกี่ยวข้องของคำและความหมาย

       2.9  ทบทวนความรู้ตาม concept  โดยสอบถามนักศึกษาที่ละประเด็นภายหลังการสอน

       2.10  ยกตัวอย่างประเด็นข้อคำถามที่มักพบบ่อย ๆ 

       2.11  แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย  ให้ตอบโจทย์ main  concept  โดยวิธีต่าง ๆ  เช่น  mind  mapping

       2.12  ศึกษาดูงานในสถานที่จริง  และใช้วิทยากรบรรยาย

       2.13  ครูตั้งคำถามให้นักศึกษาตอบ  และนักศึกษาตั้งคำถามให้ครูตอบ

3.  ท่านมีวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (100 คน)  ดังนี้

       3.1  สุ่มถามนักศึกษา

       3.2  สอบทบทวนความรู้

       3.3  ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินผล

       3.4  ให้ทำแบบทดสอบในห้องเรียนหลังสอนพร้อมเฉลยประกอบการอธิบาย  และสอนเทคนิคการเลือกคำตอบที่ถูกต้อง

       3.5  Pre-test 

       3.6  quiz  test

       3.7  ทำสรุป  key  concept 

4.  ท่านคิดว่า  การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯอย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

       4.1  สอนเนื้อหาหลักในการสอบฯใหม่ทั้งหมด  โดยแยกกลุ่มเด็กอ่อนและเด็กเก่ง

       4.2  เริ่มทำการเตรียมตั้งแต่เทอมที่ 1 

       4.3  ให้นักศึกษาทำสัญญาการเรียนรู้  พร้อมทั้งให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ-ประเมินผล

       4.4  เตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มต้น  ฝึกทบทวนความรู้บ่อย ๆ

       4.5  ประเมินความรู้เดิมของนักศึกษา  พร้อมประเมินความต้องการว่านักศึกษาไม่เข้าใจในเนื้อหาใด

       4.6  ให้นักศึกษาอ่านหนังสือมาก่อน  และอาจารย์ติวให้อีกครั้ง

       4.7  สอบวัดความรู้โดยใช้ข้อสอบหลังการติว  หากผลการสอบไม่ดีให้แบ่งกลุ่มติวอีกครั้งหนึ่ง

       4.8  สอนเป็นกลุ่มย่อย  โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มตามผลการเรียน

       4.9  ฝึกสมาธิของนักศึกษาก่อนการเรียน

       4.10  ให้นักศึกษาทำข้อสอบหลาย ๆ ชุด  เชื่อมโยงสู่เนื้อหาวิชาขณะที่เฉลยข้อสอบ

5.  ท่านได้รับรู้ / รับฟัง / เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวนักศึกษาเพื่อสอบฯจากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย  ซึ่งท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์  มีประเด็นดังนี้

       5.1  มีการฝึกทำข้อสอบบ่อย ๆ

       5.2  ทบทวนความรู้และสรุปเป็นระยะ ๆ

       5.3  ศึกษาว่าทำไมนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดีนักถึงสอบผ่านได้ 8 รายวิชา  โดยศึกษาว่านักศึกษาทำอย่างไร  วางแผนตัวเองอย่างไร 

       5.4  ออกแบบ  road  map,  master plan,  และการจัดการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาหลักที่สอบฯ

6.  ในปีการศึกษา 2553  ซึ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 4  ประมาณ  280  คน  ท่านเห็นว่าวิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบอย่างไร

       6.1  สอนเนื้อหาหลักในการสอบฯใหม่ทั้งหมด  โดยแยกกลุ่มเด็กอ่อนและเด็กเก่ง

       6.2  เริ่มทำการเตรียมตั้งแต่เทอมที่ 1 

       6.3  ให้นักศึกษาทำสัญญาการเรียนรู้  พร้อมทั้งให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ-ประเมินผล

       6.4  สอนเสริมความรู้ให้กับนักศึกษาโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม

       6.5  ตั้งกลุ่มวิชาการประจำห้องเพื่อช่วยสรุปสาระการเรียนรู้

       6.6  ประเมินความรู้ของนักศึกษา

       6.7  แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น 3-4  กลุ่ม  จัดเวลาให้นักศึกษาได้อ่านหนังสือทบทวนด้วยตนเองก่อน  และให้อาจารย์ติวอีกครั้ง  พร้อมสอบวัดผล

       6.8  ใช้การติวนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย  แต่ต้องใช้เวลามากดังนั้นจึงจำเป็นต้องเริ่มการติวตั้งแต่เนิ่น ๆ

       6.9  เริ่มการติวขณะฝึกภาคปฏิบัติ  โดยติวสัปดาห์ละ 5-10  ชั่วโมง

       6.10  ติวนอกเวลาระหว่าง 17.00-19.00 น.  วันจันทร์ถึงพฤหัสบดี  ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของท่านสำหรับการจัดการความรู้เพื่อการเตรียมนักศึกษาสอบฯ

       7.1  ควรเริ่มต้น ณ บัดนี้

       7.2  ไม่กดดันนักศึกษาจนเกินไป

       7.3  มีการให้กำลังใจกับนักศึกษา  โดยการให้รางวัล

       7.4  ให้อาจารย์ได้เตรียมตัวตนเอง  และหัดทำข้อสอบด้วย

แบบสอบถามการปฏิบัติของอาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552-2553

ชื่อ/นามสกุล อาจารย์  อ.อรัญญา  บุญธรรม  อ.ลลนา  ประทุม  อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม  และอ.สุริย์ฉาย คิดหาทอง

วิชาที่สอน/รับผิดชอบ  สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
1.  ท่านมีวิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา ดังนี้

     – แบ่งกลุ่มอ่อนออกมาต่างหาก พูดคุยให้นักศึกษาเข้าใจ ยอมรับ และมีส่วนร่วมในการวางแผนการติว

    - วิธีการติวที่หลากหลาย เช่น เล่นเกมส์แข่งขัน ยกตัวอย่าง ชมเชย ให้รางวัลในนักศึกษาที่ตอบถูก

    - ให้ความมั่นใจ กำลังใจว่าถ้านักศึกษาเต็มที่ ครูเชื่อว่าต้องสอบผ่านและให้ความสนใจนักศึกษาทั่วถึง
2.  ท่านใช้วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้มากขึ้น ดังนี้

    - แบ่งกลุ่มอ่อนออกมาต่างหาก และติวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปิดโอกาสให้ซักถามอย่างเต็มที่ทุกคน

    - ทำเอกสารสรุปสาระสำคัญในแต่ละเนื้อหา แล้วให้นักศึกษาอ่านทำความเข้าใจ

    - ติวสาระสำคัญและเปิดโอกาสให้ซักถาม

    - ให้ทำข้อสอบเสมือน

    - เฉลยข้อสอบ (แนวทางการวิเคราะห์โจทย์ และการตัดตัวเลือกในแต่ละข้อ)

    - ใช้ครูจากหน่วยงานภายนอกที่มีเทคนิคการสอนที่ดึงดูดความสนใจมาทบทวนสาระในภาพรวม 1 วัน ก่อนเข้าสู่โครงการติว
3.  ท่านมีวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (100 คน) ดังนี้

    - ในภาคทฤษฎี ไม่สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละคนระหว่างการเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ในภาคปฏิบัติสามารถประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรม  เนื่องจากนักศึกษาในแต่ละกลุ่มมีไม่มาก และอาจารย์มีเวลาต่อเนื่องยาวในการดูแลนักศึกษา  ยิ่งโดยเฉพาะจากการตรวจงานและการ Pre-Post Conference ทำให้อาจารย์สามารถประเมินการเรียนรู้รายบุคคลของนักศึกษาได้ชัดเจน (ช่วงการติว  การดึงกลุ่มอ่อนติวแยกต่างหาก ทำให้ประเมินได้ชัดเจน)
4.  ท่านคิดว่า การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเป็นดังนี้

    - Feedback จากบันทึกที่จบไปแล้ว (ปัจจัยที่ส่งเสริม+อุปสรรคในแต่ละวิชา) น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การวางแผนฯ ที่มีประสิทธิภาพ

    - คัดแยกนักศึกษาในแต่ละรายวิชา (สอบสภา) ตั้งแต่การเรียนภาคทฤษฎี  ภาคปฏิบัติ  เพื่อที่อาจารย์จะมีเวลาดูแลนักศึกษากลุ่มอ่อนได้มากขึ้น (ก่อนที่จะถึงกระบวนการติว)
5.  ท่านได้รับรู้/รับฟัง/เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย  ซึ่งท่านเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

    - ใช้รุ่นพี่ที่จบไปแล้วมามีส่วนเป็นติวเตอร์ก่อนการสอบ

    - ความทุ่มเทของอาจารย์และวิทยาลัย มีผลต่อการเรียนรู้/ ทัศนคติของนักศึกษาต่ออาจารย์ผู้สอน ผู้ติว มีผลต่อความกระตือรือล้นและความใส่ใจในการเรียนรู้ของนักศึกษา
6.  ในปีการศึกษา 2554 ซึ่งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประมาณ 280 คน ท่านเห็นว่าวิทยาลัย และอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบฯ อย่างไร

    - ให้รุ่นพี่ที่เพิ่งจบไปมาเล่าประสบการณ์การเตรียมตัว การสอบ ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา 2553 เพื่อให้มีข้อมูล  เวลาในการเตรียมตัวที่นานพอ

    - ผู้รับผิดชอบ 9 วิชา วางแผนร่วมกันตั้งแต่ต้นปีการศึกษา 2553  เตรียมงานทัน (เพราะนักศึกษาจำนวนมาก)
7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของท่านสำหรับการจัดการความรู้เพื่อการเตรียมนักศึกษาสอบฯ

    - การเก็บข้อมูลจากบัณฑิตในแต่ละรุ่น (โดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ) เพื่อทำความเข้าใจทั้งปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ (ส่งเสริมพัฒนาต่อ) และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ (แก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม)

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552 วิชา การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

ภาควิชา  พื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552

วิชา การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

 

ชื่อ/นามสกุล อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

   1.อ.โสภา  ลี้ศิริวัฒนกุล   2. อ.รัชชนก  สิทธิเวช   3. อ.จิตติยา  สมบัติบูรณ์  4. อ.บุษยารัตน์  ลอยศักดิ์

 

สรุปการเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ฯ ปีการศึกษา 2552 วิชา การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้

1.  วิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

      1.1 แจ้งผลการสอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ของรุ่นพี่ปีที่ผ่านมา

      1.2 บอกผลกระทบของการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ไม่ผ่าน 8 รายวิชาในการสอบครั้งแรก

      1.3 บอกแนวทางของนักศึกษาที่เรียนอ่อน แต่สามารถสอบผ่าน 8 วิชาในครั้งแรกว่าทำอย่างไรจึงสอบผ่าน

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจหรือจดจำเนื้อหาวิชาได้มากขึ้น มีดังนี้

      2.1 อาจารย์บอกแนวทางการวิเคราะห์คำถาม   และแนวทางการวิเคราะห์คำตอบ   พร้อมกับเฉลยข้อสอบ  และอธิบายเหตุผล   รวมทั้งมีการเสริมเนื้อหาประกอบที่ใช้ในการทำข้อสอบข้อนั้น   และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม

      2.2 นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาเป็นรายกลุ่ม

      2.3 นักศึกษาทำ  Mind mapping เป็นรายบุคคล

      2.4 นักศึกษาฝึกทำข้อสอบหลายชุด เป็นรายบุคคล

      2.5 อาจารย์ตั้งคำถามและให้นักศึกษาตอบคำถามหน้าชั้นเรียนเป็นรายกลุ่ม

      2.6 นักศึกษาทำตารางเปรียบเทียบความแตกต่างแต่ละโรคเป็นรายกลุ่ม

3. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (100 คน) มีดังนี้

      3.1 นักศึกษาทำข้อสอบและอาจารย์ส่งฝ่ายประมวลผลโดยแจ้งผลการประเมินภายใน 1 วัน

      3.2 ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดพร้อมออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายกลุ่ม โดยอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุปเพิ่มเติม

4.  การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเป็นดังนี้

      4.1 อาจารย์เตรียมเนื้อหาความรู้ แบบฝึกหัด ข้อสอบให้พร้อมและประเมินผลย้อนกลับอย่างรวดเร็ว

      4.2 จัดกลุ่มนักศึกษาตามความสมัครใจ 10 คน  ในการทำกิจกรรมร่วมกัน  เช่น ให้ตอบคำถามหน้าชั้นเรียนจากแบบฝึกหัดที่อาจารย์ให้ทำ   วิเคราะห์กรณีศึกษา

5.  การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย  ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ มีดังนี้

      5.1 การแบ่งกลุ่มย่อยโดยคละนักศึกษาเก่งและอ่อนไว้กลุ่มเดียวกันจำนวนใกล้เคียงกันในแต่ละกลุ่ม

      5.2 การแบ่งกลุ่มย่อยโดยแยกนักศึกษาเก่งและอ่อน 

      5.3 ให้นักศึกษาทำข้อสอบหลายชุด

      5.4 อาจารย์เฉลยข้อสอบและอธิบายเหตุผลในแต่ละคำตอบ

      5.5 จัดตารางในการเตรียมสอบฯอย่างต่อเนื่อง

      5.6 วิทยาลัยให้รางวัลเมื่อนักศึกษาสอบผ่านตามข้อตกลง

6. ในปีการศึกษา 2554 ซึ่งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประมาณ 280 คน วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบฯ ดังนี้

      6.1 แบ่งนักศึกษา 3 สาย ใน 1 สายมี 9 วิชา  และมีการแบ่งกลุ่มหลายลักษณะ  เช่น ตามสมัครใจ  เก่งและอ่อนอยู่กลุ่มเดียวกันดูตาม GPA คัดตามรายวิชาที่อ่อนเพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมในรายวิชานั้นเป็นพิเศษ    

      6.2  อาจารย์เตรียมข้อสอบหลาย ๆ ชุดและให้นักศึกษาฝึกทำทุกชุด

      6.3  อาจารย์เฉลยข้อสอบวิเคราะห์คำถาม, คำตอบ, เหตุผลการตอบในข้อสอบแต่ละข้อทุกชุด

      6.4  มีการให้รางวัลตามข้อตกลงที่อาจารย์ในวิทยาลัยร่วมกันกำหนดขึ้น  และแจ้งให้นักศึกษาทราบ

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อการเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

      7.1  ให้แรงจูงใจแก่นักศึกษา  เช่น คำชมเชยและกำลังใจจากผู้บริหาร  จากอาจารย์ผู้สอน  อาหารว่างขณะเตรียมตัวสอบฯ  ให้เงินรางวัล

      7.2  ให้แรงจูงใจแก่อาจารย์ผู้สอน  เช่น  คำชมเชยและกำลังใจจากผู้บริหาร  ค่าตอบแทนการสอนนอกเวลาให้รางวัลตามข้อตกลง   

อ.รัชชนก  สิทธิเวช

ผู้เขียน

Tags: , , ,