แบบสอบถามการปฏิบัติของอาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552-2553
ชื่อ/นามสกุล อาจารย์ อ.อรัญญา บุญธรรม อ.ลลนา ประทุม อ.มงคล ส่องสว่างธรรม และอ.สุริย์ฉาย คิดหาทอง
วิชาที่สอน/รับผิดชอบ สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
1. ท่านมีวิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา ดังนี้
– แบ่งกลุ่มอ่อนออกมาต่างหาก พูดคุยให้นักศึกษาเข้าใจ ยอมรับ และมีส่วนร่วมในการวางแผนการติว
- วิธีการติวที่หลากหลาย เช่น เล่นเกมส์แข่งขัน ยกตัวอย่าง ชมเชย ให้รางวัลในนักศึกษาที่ตอบถูก
- ให้ความมั่นใจ กำลังใจว่าถ้านักศึกษาเต็มที่ ครูเชื่อว่าต้องสอบผ่านและให้ความสนใจนักศึกษาทั่วถึง
2. ท่านใช้วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้มากขึ้น ดังนี้
- แบ่งกลุ่มอ่อนออกมาต่างหาก และติวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปิดโอกาสให้ซักถามอย่างเต็มที่ทุกคน
- ทำเอกสารสรุปสาระสำคัญในแต่ละเนื้อหา แล้วให้นักศึกษาอ่านทำความเข้าใจ
- ติวสาระสำคัญและเปิดโอกาสให้ซักถาม
- ให้ทำข้อสอบเสมือน
- เฉลยข้อสอบ (แนวทางการวิเคราะห์โจทย์ และการตัดตัวเลือกในแต่ละข้อ)
- ใช้ครูจากหน่วยงานภายนอกที่มีเทคนิคการสอนที่ดึงดูดความสนใจมาทบทวนสาระในภาพรวม 1 วัน ก่อนเข้าสู่โครงการติว
3. ท่านมีวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (100 คน) ดังนี้
- ในภาคทฤษฎี ไม่สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละคนระหว่างการเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ในภาคปฏิบัติสามารถประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากนักศึกษาในแต่ละกลุ่มมีไม่มาก และอาจารย์มีเวลาต่อเนื่องยาวในการดูแลนักศึกษา ยิ่งโดยเฉพาะจากการตรวจงานและการ Pre-Post Conference ทำให้อาจารย์สามารถประเมินการเรียนรู้รายบุคคลของนักศึกษาได้ชัดเจน (ช่วงการติว การดึงกลุ่มอ่อนติวแยกต่างหาก ทำให้ประเมินได้ชัดเจน)
4. ท่านคิดว่า การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเป็นดังนี้
- Feedback จากบันทึกที่จบไปแล้ว (ปัจจัยที่ส่งเสริม+อุปสรรคในแต่ละวิชา) น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การวางแผนฯ ที่มีประสิทธิภาพ
- คัดแยกนักศึกษาในแต่ละรายวิชา (สอบสภา) ตั้งแต่การเรียนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ เพื่อที่อาจารย์จะมีเวลาดูแลนักศึกษากลุ่มอ่อนได้มากขึ้น (ก่อนที่จะถึงกระบวนการติว)
5. ท่านได้รับรู้/รับฟัง/เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย ซึ่งท่านเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ มีประเด็นดังนี้
- ใช้รุ่นพี่ที่จบไปแล้วมามีส่วนเป็นติวเตอร์ก่อนการสอบ
- ความทุ่มเทของอาจารย์และวิทยาลัย มีผลต่อการเรียนรู้/ ทัศนคติของนักศึกษาต่ออาจารย์ผู้สอน ผู้ติว มีผลต่อความกระตือรือล้นและความใส่ใจในการเรียนรู้ของนักศึกษา
6. ในปีการศึกษา 2554 ซึ่งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประมาณ 280 คน ท่านเห็นว่าวิทยาลัย และอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบฯ อย่างไร
- ให้รุ่นพี่ที่เพิ่งจบไปมาเล่าประสบการณ์การเตรียมตัว การสอบ ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา 2553 เพื่อให้มีข้อมูล เวลาในการเตรียมตัวที่นานพอ
- ผู้รับผิดชอบ 9 วิชา วางแผนร่วมกันตั้งแต่ต้นปีการศึกษา 2553 เตรียมงานทัน (เพราะนักศึกษาจำนวนมาก)
7. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของท่านสำหรับการจัดการความรู้เพื่อการเตรียมนักศึกษาสอบฯ
- การเก็บข้อมูลจากบัณฑิตในแต่ละรุ่น (โดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ) เพื่อทำความเข้าใจทั้งปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ (ส่งเสริมพัฒนาต่อ) และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ (แก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม)