[วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น] การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552-2553

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ

ปีการศึกษา 2552-2553

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

********************************************************************

1. ท่านมีวิธีการดึงความสนใจ หรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชาดังนี้

- ก่อน ถามต้องการการติวของนักศึกษาก่อน เช่น ต้องการติวอย่างไร ต้องการติวเนื้อหาใดบ้าง

- ระหว่าง สรุป concept จริง ๆ โดยสั้น ๆ  สอนเทคนิคการจำ ใช้คำพูดกระตุ้นให้เห็นความสำคัญเป็นระยะ ๆ มี concept สรุปให้นักศึกษาดู/ถ่ายเอกสาร(ถ้านักศึกษาต้องการ) บอกให้จดในส่วนสำคัญที่คาดเดาว่าน่าจะออกข้อสอบ อนุญาตให้กินขนมหรือน้ำได้ แต่ห้ามหลับ ห้ามชวนเพื่อนคุย

- สื่อการสอนที่หลากหลาย รูป การอธิบายให้นักศึกษาเห็นเป็นรูปธรรม เข้าใจได้ง่าย มีกิจกรรมและแรงจูงใจไม่ให้นักศึกษาหลับ

- ใช้การพูดคุย กระตุ้นการ discuss จากนักศึกษา พูดคุยเล่นเป็นกันเองบ้าง

- ก่อนเรียนมีการกระตุ้น/ดึงดูดความสนใจของนักศึกษาโดยการเล่าประสบการณ์การสอบสภาที่ผ่านมา/การแชร์เรื่องการเตรียมตัวก่อนเข้าเนื้อหาตามหัวข้อที่ได้รับ assign ให้สอนเสริม

- ในระหว่างการสอนการกระตุ้นส่วนใหญ่จะเป็นการเรียกตอบคำถามโดยเน้น/สุ่มเรียกนักศึกษาที่หลับ หรือกำลังจะหลับ

2. ท่านใช้วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้มากขึ้น ดังนี้

- สรุปเนื้อหาสั้น ๆ

- สอนเทคนิคการจำ(ส่วนตัวของเราเอง)  สอนเทคนิคการจำด้วยวิธีอื่น

- เป็นการคาดเดาเนื้อหาที่น่าจะออกข้อสอบ ให้นักศึกษาไปทบทวนเพิ่ม

- ยกกรณีศึกษาจริง ปัญหาของผู้ป่วยจริง ๆ เอามาเปรียบเทียบกับตัวเรา

- ปัญหาแต่ละโรคเน้นว่าอะไรคือประเด็นสำคัญของโรคนี้

- มีเทคนิคการในการ สร้างหลักในการจำคร่าว ๆ ไม่เจาะรายละเอียดมาก เพราะนักศึกษาค่อนข้างเครียดและจำไม่ได้

- หา keyword  ให้นักศึกษาจำ และจากการทำข้อสอบต่าง ๆ จะให้ลองทำ หลังจากนั้นเฉลยเลยโดยผล การตรวจให้รอก่อน นักศึกษายังพอจำข้อสอบได้และจะให้อภิปราย ชี้ข้อผิดพลาด ข้อมูลถูกต้องให้เห็นชัดเจน

- การ short note  ทำ maping โดยวิธีการของตัวนักศึกษาเอง

- สรุปเองจากการ  จะทำให้เข้าใจมากขึ้น

3. ท่านมีวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก(100 คน) ดังนี้

- ทวนสอบกลับโดยการถามในห้องเรียนขณะนั้นเลย

- ให้ผู้ตอบถูก(สุ่ม) และผู้ตอบผิด อธิบายเหตุผลตนเองว่าคิดเพราะเหตุใด และเฉลยให้

- ข้อสอบ Pre-Post test

- โจทย์สถานการณ์ ให้นักศึกษาตอบคำถาม(อาจสุ่ม)

- สุ่มการถามตามเลขที่บ้าง มีคำถามที่นอกจากข้อสอบให้ตอบบ้าง

- สุ่มเรียกตอบคำถาม (ซึ่งอาจจะไม่ได้ทุกคนและอาจเป็นการประเมินผลที่ดีที่สุด)

4. ท่านคิดว่าการเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพควรเป็นดังนี้

- อยากให้วิเคราะห์นักศึกษาเป็นครั้ง ๆ จากอาจารย์ผู้เคยสอนหลาย ๆ ท่านก่อนกระบวนการติว เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาคิดว่าแต่ละปีนักศึกษามีสมรรถนะ/พฤติกรรมต่าง ๆ กันไป ซึ่งมีผลต่อการรับรู้แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการติว/เตรียม

- ควรเริ่มตั้งแต่ปี 2 เมื่อนักศึกษาเริ่มเรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสอบ

- ควรจัดติวตั้งแต่นักศึกษาขึ้นปี 4 เทอมแรก และติวค่ายติวเข้ม 1 เดือน (น่าจะดูรูปแบบของ วพบ.สระบุรี หรือ วพบ.อื่น ที่เขาทำคะแนนได้ดี และติวแล้วนักศึกษาไม่เครียดจนเกินไป

- จัดเป็นโปรแกรมที่มีการเตรียมล่วงหน้า ตั้งแต่ปี 3 หรือเริ่มขึ้นปี 4 เพราะถ้าเราไม่จัดตารางให้นักศึกษาค่อนข้างจะรวมและเตรียมตัวได้ยากและน้อยคนที่จะทำได้

- ให้อาจารย์ทุกท่านมีส่วนร่วมในการติวนักศึกษา เพราะอาจารย์ทุกคนมีความสามารถและข้อเสนอแนะที่ดีให้กับนักศึกษา และมีเทคนิคในการจำแต่ละแบบที่หลากหลายให้นักศึกษาเลือกได้มากกว่าการสอนของกลุ่มอาจารย์เพียงกลุ่มเดียว

- สร้างกำลังให้ เน้นให้นักศึกษาตระหนัก เข้าใจถึงความสำคัญของการสอบให้ผ่าน

- ประชุมสร้างความร่วมมือระหว่างอาจารย์ผู้สอนเสริมในแต่ละวิชา

- Self Empovement

- Repare enough & available resoures for students to be able to access as much as they

5. ท่านได้รับรู้/รับฟัง/เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย ซึ่งท่านเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- วิทยาลัยในเครือข่ายหรือ สบช. วิธีการไม่ต่างกัน(ที่รับรู้มา) แต่เพราะอะไรนักศึกษาได้ต่างกัน ไม่ทราบ (น่าจะลองดู)

- ในมหาวิทยาลัย(ที่รู้มา) เขาช่วยเหลือนักศึกษาน้อยกว่าของเราอีก แต่นักศึกษาสอบผ่านได้มาก เกิดอะไรขึ้น  ตอบไม่ตรงคำถามหรอกค่ะ แต่ถ้าหาคำตอบ 2 ข้อนี้ได้น่าจะมีอะไรดี ๆ อีกมาก

- จัดรูปแบบการติว ให้มีเรื่องของสมาธิ การออกกำลังกาย(โยคะ) การผ่อนคลายบ้าง “ฝึกสติ สมาธิ ช่วยจำ”

- มีการเตรียมนักศึกษาล่วงหน้าตั้งแต่ปี 4 เทอม 1 ฝึกทำข้อสอบและเปิดห้องเรียนติวแบบเข้มงวด ให้ออกไปข้างนอกเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ โดยทั้งอาจารย์และนักศึกษาร่วมมือกันสร้างข้อตกลงในการเตรียมตัวร่วมกันและยึดถืออย่างชัดเจน พร้อมเพรียงกัน (จัดชั่วโมง Relax ให้อย่างชัดเจน และอาจารย์ทุกท่านที่รับผิดชอบเข้าติวให้เข้าติว ห้ามปล่อยให้นักศึกษาไปอ่านเองเด็ดขาด เพราะนักศึกษาจับประเด็นไม่ได้ครบ สอบตกเยอะ)

- การเตรียมตัวนักศึกษาตั้งแต่ปี 3 ไปเรื่อย ๆ จนถึงปี 4

- การติว/สอนเสริม โดยนักศึกษากันเองด้วยและอาจารย์ด้วย

6. ในปีการศึกษา 2554 ซึ่งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประมาณ 280 คน ท่านเห็นว่าวิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบฯ อย่างไร

- เริ่มตั้งแต่ต้นปี

- หาเวลาเพิ่มให้แต่ละวิชาบ้าง(ติว+ทำข้อสอบ) คงต้องเสียค่า OT บ้างในวันเสาร์-อาทิตย์

- แยกเด็กที่อ่อน อ่อนมาก ออกมาติวเป็นพิเศษนอกเหนือจากการติวให้เด็กอื่นตามปกติ

- จัดโปรแกรมติว แบ่งนักศึกษา 4 กลุ่ม 70 คน/กลุ่ม  อาจใช้อาจารย์ประจำชั้นกระจายในแต่ละกลุ่มเพราะจะรู้จักนักศึกษาได้ค่อนข้างมากกว่าอาจารย์ท่านอื่น จัดทีมอาจารย์ที่ปรึกษาครบ 8 รายวิชาในแต่ละกลุ่ม(เพื่อพูดคุยติดตามนักศึกษา มีเด็กอ่อน+เก่ง แต่ไม่น่าคาดหวังหวังว่าเด็กเก่งจะดูอ่อนเพราะเขาก็เครียดเรื่องตัวเอง) ส่วนโปรแกรมการติวให้จัดทีมแต่ละวิชาติวเวียนกันไป(ไม่ fix ว่าอาจารย์ 8 รายวิชาจะต้องประจำกลุ่มเท่านั้น เพื่อได้แลกเปลี่ยนความรู้ เช่น วิชาการพยาบาลเด็ก อาจารย์ทั้งหมด 7  ท่าน(รวม อ.จีราภา)

- แบ่งทีมประจำกลุ่ม 4 กลุ่ม(อ.ที่เป็นหลัก) ส่วนที่เหลือประกบคู่(ไม่ครบ 8 อาจขอแรง อ.น้องใหม่กระจายช่วยอีกแรงน่าจะดีค่ะ)  อาจารย์ประจำกลุ่มมีหน้าที่ดูแลนักศึกษาในห้องของตนเอง  สำหรับการติวให้อาจารย์ทุกท่านในวิชาเด็กจัดเข้าติวโดยประกบพี่+น้อง(ที่มีประสบการณ์น้อย) เวียนกันติวทั้ง 4 กลุ่ม

- เริ่มชี้แจง เน้นย้ำในเรื่องการเตรียมตัวสอบตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1

- สร้างกำลังใจ ให้นักศึกษามีความมั่นใจ มีความตระหนักของการเตรียมตัวสอบ

- ประชุมอาจารย์ในเรื่องการวางแผน การจัดตารางสอนเสริม

- Empower นักศึกษาให้มากที่สุด เพื่อให้นักศึกษาที่มีศักยภาพที่เข้ามาศึกษาในวิทยาลัยตั้งแต่แรก ให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เต็มที่    วิชาการป้อน(Input) เพียงอย่างเดียว

7. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของท่านสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ

- มีคำถาม ทำไมวิทยาลัยอื่น ๆ จัดให้การเรียนการสอนเสร็จได้เร็วตั้งแต่เดือนธันวาคม แล้วเวลาที่เหลือเป็นเตรียมนักศึกษา อยากรู้ผลเปรียบเทียบวิธีการนี้กับของวิทยาลัยเราต่อผลการสอบได้ จะได้นำมาปรับของเราได้ หรือเราดีอยู่แล้ว

- Reward ที่เป็นไปไม่ได้ กำหนดไว้แล้วจะดีหรือไม่

- นักศึกษาที่เรียนรวมกันทั้งเรียนดี+เรียนอ่อน น่าจะมีวิธีการแยกเด็กช่วยเหลือให้ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (เพราะแม้แต่อ่านหนังสือเอง นักศึกษายังอ่านไม่เข้าใจ ถ้านั่งติวอย่างเดียวคงไม่ได้ผล)

- ให้อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันทำข้อตกลงในการติวที่ชัดเจน ให้นักศึกษาได้รับทราบและปฏิบัติ (พลังกลุ่มของนักศึกษาสามารถดูแลกันได้ แต่ต้องแยกนักศึกษาชายไม่ให้รวมกัน)

- อาจารย์แต่ละท่านมาเล่าประสบการณ์วิธีการสอนเสริมที่จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจและจำได้

ผู้รวบรวมข้อมูล

จริยาพร วรรณโชติ

Print Friendly
ผู้เขียน อ.จริยาพร วรรณโชติ (ประวัติการเขียน 9 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


Comments are closed.