[วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ] การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552-2553
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ
ปีการศึกษา 2552-2553
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
********************************************************************
1. ท่านมีวิธีการดึงความสนใจ หรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชาดังนี้
- trigger เกริ่นด้วยภาพเร้าใจ นำเข้าสู่บทเรียน ตั้งคำถาม what when why how
- ให้ข้อมูลผลลัพธ์การสอนและการสอบผ่านรายวิชา
- ทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอน
- ใช้ข้อสอบดึงความสนใจและกระตุ้นการเรียนรู้ โดยให้นักศึกษาดูข้อสอบที่ฉายบน Over head พร้อมกัน
- สอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับคำตอบของข้อนั้น ๆ พร้อมถามเหตุผล
- เฉลยคำตอบ พร้อมทั้งสอนเสริมในเนื้อหาโดยสรุปของเรื่องนั้น
- ก่อนสอนพูดนำ ทักทายนักศึกษาในเรื่องทั่ว ๆ ไป ให้เกิดความผ่อนคลายก่อน
- ระหว่างสอน นอกเหนือจากเนื้อหาแล้วจะชวนนักศึกษาพูดคุยในเรื่องการเตรียมตัวในการสอบสภา
- ใช้แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ให้เอกสารประกอบการสอน และแจ้งว่ามีคะแนนระหว่างเรียน จะช่วยให้นักศึกษาที่ไม่ชอบเข้าชั้นเรียนเข้าเรียนเพิ่มขึ้น
- สอนให้เข้าใจง่าย มีความลึกซึ้งเนื้อหา ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย
2. ท่านใช้วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อาได้มากขึ้น ดังนี้
- ใช้ภาพกระตุ้นเกี่ยวกับปัญหาทางการพยาบาลของบุคคลตามจุดประสงค์รายวิชาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
- ปฏิบัติที่ตึกใช้คำถามกระตุ้น ขณะ Pre conference case กรณีศึกษาผู้ป่วยในคลินิก, clinical manifestation การตรวจร่างกายที่สำคัญ สอดคล้องกับโรค และทำไมต้องให้การพยาบาลเช่นนั้น ใช้เทคนิค “Try Think Pain + Share”
- วิชาจริยศาสตร์สำหรับพยาบาล ใช้สถานการณ์โจทย์, Dilemmas กระตุ้นการคิดเชิงจริยธรรม
- ใช้ case study วิเคราะห์ประเด็นเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
- วิเคราะห์โจทย์สถานการณ์และให้ฝึกตั้งคำถามและตอบคำถาม
- ให้ฝึกสรุปเอง เป็น mapping และให้คำปรึกษาวิธีการสรุปเมื่อนักศึกษายังไม่เข้าใจ
- ใช้ Power point ให้ดูภาพและกราฟ เช่น เรื่อง Hepatic coma, Hepatitis การดูแลผู้ป่วยใส่สาย SB.tube
- กระตุ้นนักศึกษาเป็นรายคนให้ร่วมอธิบายคำตอบที่เลือก
- นำตัวอย่างข้อสอยมาให้นักศึกษาลองวิเคราะห์และเฉลยให้นักศึกษาเข้าใจ โดยแนะนำให้เข้าใจในการตัดตัวเลือกทิ้งและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของคีย์ในโจทย์แต่ละข้อ
- ใช้ concept mapping + VDO clip + ใช้สื่อประกอบการสอนจริง
- ใช้กรณีศึกษาผู้ป่วยจริง เมื่อฝึกวิเคราะห์ปัญหาและการพยาบาล และตอบคำถามโดยส่งตัวแทนเป็นรายกลุ่มและให้คะแนนในชั้นเรียน
- ถ่ายเอกสารตำราที่คิดว่าดีที่สุด มีเนื้อหา แจกนักศึกษาให้เรียนและ highlight สีตรงเนื้อหาที่อยากให้จำให้นักศึกษาดู
3. ท่านมีวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก(100 คน) ดังนี้
- คิดคนเดียว
- ทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อสรุป concept รวบยอด เช่น concept map ของตนเอง
- ปรับภาพรวม
- สุ่มนักศึกษานำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มอื่น ๆ
- ครูสรุป concept สำคัญ เสริมแรงการเรียนรู้ เชื่อมโยงเข้ากับ Blue print สภาการพยาบาล
- ใช้แบบทอสอบ เป็นข้อสอบเก่าในเรื่องที่สอน ข้อสอบรวบยอด ข้อสอบเครือข่าย ทดสอบนักศึกษา
- ใช้แบบประเมินผลการเรียนของวิทยาลัย
- ไม่ได้ประเมินผล เนื่องจากมีเวลาในการสอนเสรอมน้อย แต่จากการประเมินโดยดูพฤติกรรมการเรียนนักศึกษาสนใจเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเข้าชั้นเรียนพร้อมเพียงกัน
- มีการตอบคำถามกลับ เมื่อถูกกระตุ้นได้ดี ไม่มีการฟุบหลับ ไม่มีเสียงคุยดังเกิน
- ใช้กรณีศึกษา ฝึกวิเคราะห์และนำเสนอรายกลุ่ม
- ใช้ข้อสอบ MEQ แต่ทำเป็นรายกลุ่ม นักศึกษาจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนและไม่เบื่อหน่ายขณะทำข้อสอบ และไม่มีชิ้นงานที่มากเกินไป
- สอบ MEQ
- รายงานกลุ่มในห้องเรียน
4. ท่านคิดว่าการเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพควรเป็นดังนี้
- ในการปฐมนิเทศนักศึกษา กระตุ้นให้นักศึกษาคิดจับประเด็นถึงจุดประสงค์การวัดผลว่าต้องผ่านสมรรถนะอะไร เพื่อให้นักศึกษาตื่นตัวคิดกำกับตัวเองให้เรียนรู้ในจุดประสงค์ตามทฤษฎี+ปฏิบัติในวิชานั้น ๆ
- ให้นักศึกษาฝึกทำแบบฝึกหัดย้อนกลับจากการเรียนแบบท่องจำ คือให้เรียนแบบคิดตั้งคำถามออกข้อสอบมาวิเคราะห์กันเอง สามารถชี้แจงเหตุผลจากการเลือกข้อถูกและไม่เลือกข้อผิดอย่างมีหลักวิชาการ อ้างอิงได้
- มีนโยบายที่ชัดเจนจากฝ่ายวิชาการ
- เข้าพบนักศึกษาทำความเข้าใจถึงผลลัพธ์ต่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ
- แบ่งกลุ่มติวโดยครูช่วยและนักศึกษาช่วยเพื่อน
- ให้เวลานักศึกษาในการเตรียมตัวให้มาก เพราะนักศึกษาจะได้มีเวลาทบทวนตำราด้วยตัวเอง การสอบแต่ละครั้งต้องขึ้นอยู่กับผู้เข้าสอบหรือผู้เรียนเองเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ผู้สอบหรือผู้ติวจะพยายามเพียงใดถ้าผู้เรียนไม่ใส่ใจตนเอง ทุกอย่างก็ไม่สำเร็จ
- มีเวลาให้นักศึกษาทำข้อสอบ
- มีเวลาให้นักศึกษาทบทวนเนื้อหาด้วยตนเองบ้าง
- มีการผ่อนคลาย นั่งสมาธิก่อนติว
- นักศึกษาต้องศึกษาด้วยตนเองก่อน
- สอนโดยวิธีการบรรยาย
- เน้นคำสำคัญเฉพาะกับโรคนั้น ๆ
- นักศึกษาต้องมีเวลาในการศึกษาด้วยตนเองก่อนสอบท้ายบท
- ควรเตรียมตัว แต่การออกแบบการจัดการศึกษาที่เน้นย้ำให้นักศึกษาจดจำความรู้ มีระบบการติดตามจากส่วนกลางไปที่การจัดการศึกษาของรายวิชา+ภาคฯ ว่าเนื้อหาครบ ขาดอะไรที่จำเป็นและสำคัญ
5. ท่านได้รับรู้/รับฟัง/เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย ซึ่งท่านเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ มีประเด็นดังนี้
- การติวโดยการสร้างข้อสอบ ใส่ rational เหตุผลของข้อเลือกถูกและข้อลวงได้ถูกต้อง
- เริ่มติวตั้งแต่ปีที่ 2 ให้เร็วขึ้นในรายวิชาแต่ละเทอม โดยแบ่ง blue print เป็นตอน ๆ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของวิชาในหลักสูตรเอื้ออาทรให้สอดคล้องกับ blue print ของสภา และยอมรับว่าต้องเตรียมเนื้อหาที่หลักสูตรเอื้ออาทร(2547, 2551) หายไป ไม่ยึดติดกับเนื้อหาเฉพาะในหลักสูตรเอื้ออาทรเท่านั้น
- การแบ่งนักศึกษากลุ่มอ่อนออกจากกลุ่มเก่งตาม GPA วิชาการพยาบาล 8 รายวิชา และมีการติวและวัดผลเป็นระยะ ๆ เพื่อเพิ่มความรู้ที่เป็นส่วนขาดของนักศึกษา
- นำนักศึกษาไปเที่ยวก่อนและกลับมาติว ก่อนติวให้นั่งสมาธิ ทำใจให้ว่างก่อน
- มีเวลาให้นักศึกษาทบทวนความรู้ด้วยตนเอง สลับกับการทำข้อสอบ
- เรื่องติวนักเรียนก็หลากหลาย บางทีเน้นบางทีไม่เน้น
- เรื่องการปรับคุณภาพการจัดการศึกษาน่าจะเป็นสิ่งจำเป็น ทำอย่างไรที่จะควบคุมการจัดการสอบรายวิชา (ถ้าเปลี่ยนให้ภาคจัดการเองก็มีโอกาส)
6. ในปีการศึกษา 2554 ซึ่งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประมาณ 280 คน ท่านเห็นว่าวิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบฯ อย่างไร
- ทดลองทำตามข้อ 5 ข้างบน
- เตรียมการในการสอบตั้งแต่ก่อนปิดภาคการศึกษาของปี 3 ทำตารางการสอนเสริม สอบสอนเสริมเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา(ประมาณมิถุนายน 2553) จัดเวลาให้นักศึกษาได้อ่านหนังสือเพิ่มเติมให้เหมาะสม
- นักศึกษาดังกล่าวในปีการศึกษา 2554 เรียนอ่อนมาก ไม่มีความกระตือรือร้น ขาดความรับผิดชอบไม่สนใจสิ่งแวดล้อม การเตรียมตัวนักศึกษาที่จะสอบฯคิดว่าต้องสอนหรือบอกนักศึกษาตั้งแต่ต้นปี 4 เกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของใบประกอบวิชาชีพ
- ใช้ข้อสอบกระตุ้นเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา
- แบ่งนักศึกษาย่อยลงมา ติว 2 กลุ่ม โดยจัดการติวสลับ ไม่ติวห้องรวม เพราะห้องรวมนักศึกษาจะสนใจน้อย ไม่มีสมาธิ
- ทำตัวอย่างคำถามการพยาบาลเฉพาะโรคและมีคำตอบให้ท่องจำ เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ความจำไม่ดี หากนักศึกษาจำไม่ได้จะไม่สามารถทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ได้
- เด็กบางคนอ่อนมาก จับมาเรียนใหม่ได้ เพราะถ้าเปลี่ยนไปตามสภาพนี้ ไม่ผ่านแน่นอน
- เด็กเก่งอาจติวตามปกติ
7. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของท่านสำหรับการจัดการความรู้เพื่อการเตรียมนักศึกษาสอบฯ
- ครูผู้สอนที่ติวแต่ละหัวข้อมีความจำเป็นและความเชี่ยวชาญที่มีความสามารถเฉพาะควรสอนทฤษฎีหัวข้อนั้น ๆ ตั้งแต่แรกเริ่มและนิเทศในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เมื่อมาสอนเสริมทำให้เชี่ยวชาญ มีความรู้ที่จะถ่ายทอดเป็นอย่างดี
- ให้นักศึกษาทำข้อสอบ เฉลยให้ฟังโดยการวิเคราะห์
- ให้นักศึกษาทบทวนด้วยตนเองบ้าง
- มีกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดให้นักศึกษาเป็นระยะ ๆ
- สำหรับนักศึกษากลุ่มอ่อนมาก นักศึกษาอ่านหนังสือไม่เข้าใจ จำไม่ได้ ควรต้องพานักศึกษาออกมาจากกลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ศึกษาด้วยตนเองได้
ผู้รวบรวมข้อมูล
จริยาพร วรรณโชติ