สรุปความรู้จากการเข้าอบรม นมแม่ : ความท้าทายของสังคมไทยยุคใหม่

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการไปพัฒนาตนเอง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

………………………………………………………………….

 

ชื่อ-สกุล นางขนิษฐา       เมฆกมล          ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ชื่อ-สกุล นางอารีรัตน์      วิเชียรประภา    ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สังกัดภาควิชา/งาน การพยาบาลสูติศาสตร์

เข้าร่วมการประชุม/อบรม/สัมมนาเรื่อง นมแม่ : ความท้าทายของสังคมไทยยุคใหม่

(Brestfeeding : New  Challenge  in  the  Modern  Thai  Society)

วัน/เดือน/ปี 22-24 มิถุนายน  2554

หน่วยงานที่จัด สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

สถานที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับคือ

จากการประชุมวิชาการ นมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 3 พบว่าสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยมีอัตราต่ำกว่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก สัมพันธ์จากข้อมูลงานวิจัย เรื่องปัจจัยและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของรศ.พญ.กุสุมา  ชูกลิ่น และคณะ พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในวันที่จำหน่ายทารกออกจากโรงพยาบาล ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 95.0 อายุ 2 เดือนร้อยละ 76.2 อายุ 4 เดือนร้อยละ 57.0 อายุ 6 เดือนร้อยละ 25.9 และที่อายุ 9 เดือนร้อยละ 0.1

สรุปจากข้อมูลได้ว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวลดลงตามจำนวนอายุของลูกที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นความท้าทายของบุคลากรทางสาธารณสุขทุกฝ่าย จะต้องมีวิธีการที่จะทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น  ซึ่งในการประชุมวิชาการในครั้งนี้  บุคลากรทางด้านสาธารณสุขได้มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ  โดยมีการนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

[...]

Tags: , , , , , ,

วิธีการกำหนดความชัดของการใช้ Font TH Sarabun PSK

หากท่านเคยประสบปัญหาการใช้ font TH Saraban PSK

แล้วตัวหนังสือบางเกินไป อ่านลำบาก หรือไม่ชัดเจน

วันนี้ทางงานเทคโนโลยีและสารสนเทศ ขอนำเสนอวิธีการตั้งค่าที่น่าสนใจ

มีทั้งการตั้งค่าสำหรับผู้ใช้งาน windows XP และ windows 7

 

รายละเอียดตาม http://ict.moph.go.th/downloads/Display_THSarabunPSK.pdf

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Tags: , , ,

การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจเรื้อรังด้วยทีมสหสาขา

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่ 6  วันที่  20  มิถุนายน  2554  เวลา 13.30-16.00 น.

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจเรื้อรังด้วยทีมสหสาขา

วิทยากร

แพทย์หญิงสินทรา  ผู้มีธรรม     กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ

คุณยุบล  ศรีสังข์      พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ทางด้านการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก

คุณสมฤดี  เลิศงามมงคลกุล  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ทางด้านการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก

ผู้เข้าร่วมประชุม

จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  24  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  9  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  33  คน

 

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของ แพทย์หญิงสินทรา  ผู้มีธรรม

ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเด็กจำนวนไม่น้อยที่มีโรคเรื้อรังทางระบบหายใจจำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องมือ และเทคโนโลยีในการบำบัดรักษาทางระบบหายใจอย่างต่อเนื่องและยาวนาน  เมื่อไม่มีผู้ดูแลที่บ้านจึงจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน   ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาที่รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้  ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวจึงวิตกกังวล  เด็กขาดความใกล้ชิดพ่อและแม่  ขาดการกระตุ้นพัฒนาการ  ขาดความผูกพันในครอบครัว  ขาดความมั่นใจในตนเอง  เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาครอบครัวและสังคมต่อไปได้   ปัญหาเหล่านี้จะลดได้  ถ้ามีการส่งเสริมผู้ป่วยและครอบครัวให้มีความสามารถกลับไปดูแลต่อที่บ้านได้อย่างปลอดภัย  ทางกลุ่มงานกุมารเวชกรรม  โรงพยาบาลพระปกเกล้า  จึงได้ดำเนินการโครงการบริบาลผู้ป่วยเด็กทางระบบหายใจที่บ้าน  โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.  เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

2.  ลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคที่เป็นอยู่

3.  ทำให้โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ไม่ทรุดลงกว่าเดิม

4.  ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความมั่นใจในการดูแลตนเอง

5.  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาของโรงพยาบาล

กลุ่มเป้าหมาย คือเด็กที่ต้องใช้ออกซิเจน  ต้องบำบัดรักษาด้วยฝอยละออง  เจาะคอ  ต้องใช้เครื่องดูดเสมหะ  หรือใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน

ทีมงานที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการคือ  แพทย์หญิงสินทรา  ผู้มีธรรม และพยาบาล 1 คน จากทุกหอผู้ป่วยในแผนเด็ก  โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ [...]

Tags: , , , , ,

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัย

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการเข้าร่วมประชุมเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัย

วิทยากร : รศ.ดร.โยธิน    แสวงดี    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

จัดโดย  กลุ่มงานวิจัย  สถาบันพระบรมราชชนก วันที่ 21-23  มิถุนายน  2554

สถานที่  โรงแรมเมธาวลัย  อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี

ผู้เข้าประชุมและร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ  ดร.มัณฑนา   เหมชะญาติ  ดร.พรฤดี   นิธิรัตน์   ดร.เชษฐา   แก้วพรม  อาจารย์ทิพวรรณ   ลิ้มประไพพงษ์   อาจารย์รุ่งนภา    เขียวชะอ่ำ  และอาจารย์จริยาพร  วรรณโชติ

ผู้เขียน อาจารย์ทิพวรรณ   ลิ้มประไพพงษ์

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การสังเคราะห์งานวิจัย เป็นการตรวจสอบผลงานวิจัย   เพื่อหาจุดเด่นจุดด้อยในแต่ละขั้นตอนของงานวิจัย  เพื่อหาแนวทางพัฒนาหรือประเด็นใหม่ๆ เพื่อทำวิจัยครั้งต่อไป   และอาจค้นพบข้อความรู้ใหม่ที่แตกต่างออกไป   การสังเคราะห์งานวิจัยมักทำ  2  มิติ  ดังนี้

1. การสังเคราะห์ระดับ มหภาค  (ภาพรวมขององค์กร )  เป็นการสังเคราะห์เพื่อพัฒนางานวิจัยขององค์กร  ทำเพื่อพิจารณาคุณภาพงานวิจัยของหน่วยงานที่ทำเสร็จแล้ว  มีเล่มใดบ้างหรือเรื่องอะไรบ้างที่ทำได้ดีหรือทำได้ถูกต้อง และมีเรื่องใดบ้างทำได้ไม่ดี  มีข้อบกพร่องมาก  ถ้าทำวิจัยประเด็นเดิมควรแก้ไขเรื่องใดบ้าง   ประเด็นวิจัยใดที่หน่วยงานควรสนับสนุน  ทำให้เห็นภาพหรือทิศทางการทำวิจัยขององค์กรที่ผ่านมา รวมถึงทราบจุดแข็งและจุดอ่อน  ซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารเพื่อให้การสนับสนุนงานวิจัยขององค์กรในอนาคต

2. การสังเคราะห์จุลภาค ( เฉพาะเรื่อง/ประเด็นที่สนใจ )ทำเพื่อพิจารณาว่า งานวิจัยในกลุ่มเรื่องที่เราสนใจนั้น   สถานการณ์ที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน    มีข้อค้นพบอย่างไรบ้าง  ส่วนมากใช้ข้อมูลและระเบียบวิธีการวิจัยลักษณะใด

การดำเนินการสังเคราะห์งานวิจัย

หากต้องการสังเคราะห์งานวิจัยของหน่วยงาน  ต้องสร้างระบบและกลไกในการสังเคราะห์งานวิจัย  โดยจัดตั้งคณะกรรมการสังเคราะห์งานวิจัย โดยกรรมการจะเป็นผู้สังเคราะห์เองหรือตั้งอนุกรรมการ  ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานวิจัยเป็นผู้สังเคราะห์ก็ได้   การทำงานของคณะกรรมการ  ถ้ามีการแลกเปลี่ยนกันสังเคราะห์งานวิจัย   ผู้สังเคราะห์งานวิจัยไม่ใช่ผู้ทำวิจัยจะช่วยลดอคติในการสังเคราะห์งานวิจัยได้  โดยมักใช้การรวบรวมงานวิจัยที่ทำแล้วเสร็จภายใน 5-10 ปีมาวิเคราะห์ เพราะเป็นระยะที่ถือว่าเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน   มักนิยมนำบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารมาทำการสังเคราะห์ มากกว่ารูปเล่มสมบูรณ์เพราะถือว่าผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาแล้ว และเป็นการเผยแพร่  ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของงานวิจัย  การสังเคราะห์งานวิจัย  ต้องเริ่มต้นที่การกำหนดประเด็นที่จะทำการสังเคราะห์ อาจเลือกสังเคราะห์บางหัวข้อ  เช่น  การสังเคราะห์ส่วนแนวคิด  ทฤษฏีและวรรณกรรม   อาจค้นพบว่าใช้แนวคิดคล้ายกัน  หรือเก่าเกินไป  มีแต่อ้างใน  เล่มเดิมๆหรืออ้าง website ซึ่งไม่นิยมใช้   เป็นต้น  ทั้งนี้นิยมสังเคราะห์ทุกหัวข้อหรือทุกมิติ  เพราะต้องการนำไปใช้ประโยชน์ให้กว้างขวาง [...]

Tags: , ,

กระบวนการพยาบาล : การนำไปใช้ในคลินิกและการบันทึก

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี    และกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่ 5 วันที่ 1 มิถุนายน 2554 เวลา 13.30-16.00 น.

ณ ห้องประชุมชัยสิทธิ์  อาคารวิทยบริการ  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

 

เรื่อง กระบวนการพยาบาล : การนำไปใช้ในคลินิกและการบันทึก

วิทยากร ดร.มัณฑนา  เหมชะญาติ  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

คุณพรทิพย์ สุขอดิศัย  หัวหน้างานเฉพาะทางศัลยกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  28  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  72 คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  100 คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จุดเริ่มต้นของการพัฒนา ควรเริ่มที่การทบทวนคำถาม เพราะการตั้งคำถาม จะส่งผลต่อพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ   คำถามสามารถเปลี่ยนโลกและโลกทัศน์ของคนได้  ตัวอย่างเช่น                     คนสมัยโบราณมักไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง   เริ่มย้ายถิ่นเมื่อความอุดมสมบูรณ์ลดลงไปหาแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า  ทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่ตั้งคำถามว่า   แหล่งน้ำหรือความอุดมสมบูรณ์อยู่    ที่ไหน  จึงต้องเดินทางแสวงหา  แต่หลังจากเปลี่ยนการตั้งคำถาม  ทำอย่างไรจึงจะทำให้พื้นที่ที่เราอยู่มีแหล่งน้ำและความอุดมสมบูรณ์  จึงหาแหล่งน้ำ  เรียนรู้วิธีเก็บกักน้ำ  ทำการเพาะปลูก  สร้างบ้านสร้างเมืองขึ้น  ดังนั้นการพัฒนากระบวนการพยาบาล  จำเป็นต้องทบทวนหรือเปลี่ยนคำถามเสียก่อน  มิฉะนั้นจะวิ่งวนอยู่ในคำตอบเดิมๆ ที่ไม่มีประโยชน์ ทางเลือกของคำถามพยายามมองไปที่คนอื่นหรือส่วนรวมมากกว่าตัวเอง เช่น เราจะทำอย่างไรเพื่อใช้กระบวนการพยาบาลเกิดประโยชน์สูงสุด   คนอื่นๆคิดอะไร   รู้สึกอย่างไรและต้องการอะไร

กระบวนการพยาบาลคืออะไร

กระบวนการพยาบาลคือ  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพ วินิจฉัยและปฏิบัติ              เพื่อตอบสนองความต้องการให้กับผู้รับบริการทั้งที่เจ็บป่วยและสุขภาพดี  ทั้งรายบุคคลและกลุ่มคน

กระบวนการพยาบาลมีความสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลอย่างไร [...]

Tags: , ,