สรุปจากการประชุมสุขศึกษาแห่งชาติ เรื่อง ปรับ 360 องศา สู่การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพแนวใหม่

วันที่ 3-5 สิงหาคม 2554 ณ โรงแรมปาล์ม บีช พัทธยา จังหวัดชลบุรี

สรุปโดย มัณฑนา เหมชะญาติ

จากการเข้าร่วมประชุมศึกษาแห่งชาติ เรื่อง ปรับ 360 องศา สู่การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพแนวใหม่ ซึ่งจัดโดยสมาคมนักสุขศึกษา ในระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2554 อาจารย์มัณฑนา เหมชะญาติ สรุปสาระสำคัญจากการประชุมได้ดังนี้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เป็นประเด็นที่นักสุขศึกษาให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะในปัจจุบันที่อัตราการเกิดโรคเรื้อรังมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหารโดยไม่ควบคุมชนิดและ/หรือปริมาณ รวมทั้งการไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พฤติกรรมเหล่านี้นำมาซึ่งโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต และโรคหัวใจ เป็นต้น ประเด็นสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบ 360 องศา สรุปได้ดังนี้

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ได้ผล ต้องทำในทุกระดับ ได้แก่

-          บุคคล: เน้นที่การปลุกจิตสำนึกให้มีการปรับเปลี่ยนที่จิตวิญญาณของคน

-          ครอบครัว: เน้นการมีส่วนร่วม ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ

-          ชุมชน: ต้องมีส่วนร่วม สร้างกระแสให้กับคนในชุมชน

-          ประเทศ: มีส่วนสำคัญในการชี้นำ โดยกำหนดนโยบาย และสนับสนุนการสร้างกระแสระดับกว้างในสังคม

2.   เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ปฏิบัติบริการด้านสุขภาพในวิชาชีพต่างๆ ควรเป็นบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพโดยมีพฤติกรรมสุภาพที่ดี รวมทั้งควรเป็นนักสุขศึกษาและนักประชาสัมพันธ์ เพราะมีผู้รับบริการในสถานบริการทุกระดับ จำนวนไม่น้อยที่มีความต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และลดความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ แต่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

3.   การสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชน ต้องอาศัยทรัพยากรต่างๆในชุมชน และเครือข่ายซึ่งเป็นหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกชุมชน ทั้งภาครัฐและเอกชน

4.   ในชุมชนหรือหน่วยงานที่มีการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพได้ตามเป้าหมายแล้ว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ยังคงต้องเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อความยั่งยืนของการดำเนินการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ล้มเลิกไปเมื่อประสบความสำเร็จในขั้นต้นแล้ว

5.   การรักษาความต่อเนื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน อาจต้องใช้หลายๆวิธี เช่น การประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการยกย่องยังคงปฏิบัติพฤติกรรมที่ดีต่อไป นอกจากนั้น ยังอาจต้องมีการสร้างกระแสให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญหรือประโยชน์เป็นระยะๆ

6.   การเสริมสร้างพลังอำนาจ (empowerment) เป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของบุคคลได้จาก ความรู้ ความเชื่อ การรับรู้ และ self-efficacy เป็นต้น

7.   นักสุขศึกษาดีเด่น ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน มีการทำงานอย่างมีอุดมการณ์ โดยมีเป้าหมายที่การเสริมสร้างสุขภาวะให้กับประชาชนและชุมชน ด้วยความอดทน เข้มแข็ง มุ่งมั่น และเสียสละ ในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

Tags: ,

Recovery Model : กระบวนทัศน์ใหม่ในการดูแลบุคคลที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่ 7  วันที่  20  กรกฎาคม  2554  เวลา 13.30-16.00 น.

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง Recovery Model : กระบวนทัศน์ใหม่ในการดูแลบุคคลที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

วิทยากร ดร.เชษฐา   แก้วพรม    RN, MN, PhD ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  36  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  8  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  44  คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของ ดร.เชษฐา   แก้วพรม

การเจ็บป่วยทุกโรคส่งผลกระทบต่อสภาพจิตสังคมของตัวบุคคลและญาติ  ผลกระทบของการเจ็บป่วยเรื้อรัง มีหลายระดับและเป็นเหมือนปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็ง  ความเจ็บป่วยที่ผู้อื่นมองเห็นได้นั้นมีเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความทุกข์ทรมานและความทุกข์ยากที่บุคคลต้องดำเนินชีวิตร่วมกับภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรัง   แนวคิดการส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัวทางจิตสังคม (psychological  recovery) จึงมีความจำเป็นในการดูแลบุคคลที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง  เพราะการเข้าใจกระบวนการฟื้นตัวทางจิตสังคมจะช่วยให้ผู้ดูแลเข้าใจวิธีการดูแลที่ตอบสนองความต้องการของบุคคลและครอบครัว  และช่วยเพิ่มคุณค่าในการบำบัดรักษาด้วย

Recovery Model  เป็นการอธิบายความหมายของการฟื้นตัวว่า  เป็นกระบวนการที่บุคคลเกิดการเรียนรู้ เข้าใจในภาวการณ์เจ็บป่วย  ตลอดจนปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตให้สามารถอยู่ร่วมกับภาวะการเจ็บป่วยได้อย่างมีความสุข  แม้ว่าอาการเจ็บป่วยของโรคจะไม่หายก็ตาม

กระบวนการฟื้นตัวทางจิตสังคม (psychological recovery) มีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

1.  ความรู้สึกท่วมท้น (illness overwhelming)  ระยะที่บุคคลทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง  แต่ความคิดยิ่งสับสน  ทำให้เกิดการปฏิเสธการเจ็บป่วย  ขาดความมั่นใจและกลัวการเจ็บป่วย

2.  การยอมรับการเจ็บป่วย (illness acceptance) เป็นขั้นตอนที่จำเป็นมาก  เพราะการยอมรับการเจ็บป่วยจะช่วยทำให้บุคคลกระตือรือร้นที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่เป็น  และมีการปรับตัวเพื่อต่อสู้กับภาวการณ์เจ็บป่วย

3.  การสร้างความหวัง (development of  hope)  ความหวังที่จะมีสภาพชีวิตที่ดีท่ามกลางความเจ็บป่วย  เป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการฟื้นตัวเพราะจะช่วยให้บุคคลที่แรงจูงใจที่จะปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตเพื่อให้มี การฟื้นตัวที่ดี

4.  กำหนดตัวตนใหม่ (self-redefinition)  ระยะที่บุคคลพัฒนาตัวตนใหม่ที่แข็งแกร่ง  พัฒนาศักยภาพเพื่อต่อสู้กับภาวการณ์เจ็บป่วย  ซึ่งจะช่วยให้บุคคลเกิดความมั่นใจที่จะลุกขึ้นต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตใหม่หลังการเจ็บป่วย

5.  พัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง (developing self-responsibility) ระยะที่บุคคลเริ่มเข้าใจว่าไม่มียาวิเศษใดที่จะช่วยเขาได้  หากเขาไม่ดูแลตนเอง   ดังนั้นบุคคลจึงต้องมีแนวคิดที่จะสร้างระเบียบวินัยในชีวิตใหม่เพื่อให้เผชิญกับภาวการณ์เจ็บป่วยได้

6. เผชิญต่อสู้กับความทุกข์ยากในการดำเนินชีวิต (overcoming difficulties caused by the  illness)  บุคคลต้องมีวิธีการในการรับมือกับผลกระทบทางลบของการเจ็บป่วยได้อย่างสร้างสรรค์  เพราะการเจ็บป่วยเกิดผลกระทบทางลบอย่างมากมายต่อบุคคลและครอบครัว [...]

Tags: , ,

การคิดบวก คิดสร้างสรรค์

การจัดการความรู้เรื่อง “การคิดบวก คิดสร้างสรรค์”

จากการเข้าร่วมประชุมตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “คิดบวก คิดสร้างสรรค์” จัดโดยแก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  วันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2554

ณ โรงแรมนนทบุรี พาเลซ อ.เมือง จ.นนทบุรี

…………………………………….

 

ผู้นำการจัดการความรู้ ดร.ศรีสกุล   เฉียบแหลม

วันที่ดำเนินการ วันที่  9  มิถุนายน 2554    เวลา 13.00 – 15.00 น.

สถานที่ ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ

ผู้ร่วมประชุม 1.อ.โสภา         ลี้ศิริวัฒนกุล

2.อ.สุมาลี         ราชนิยม

3.อ.รัชชนก       สิทธิเวช

4.อ.จิตติยา       สมบัติบูรณ์

5.อ.คณิสร        แก้วแดง

6.อ.วิภารัตน์     ภิบาลวงษ์

7.อ.ศราวุธ        อยู่เกษม

8.อ.นครินทร์     สุวรรณแสง

9.อ.นิศารัตน์     รวมวงษ์

 

…………………………………….

การคิดบวก คิดสร้างสรรค์ (Cresitive Thinking Note)

 

บทนำ

มนุษย์ทุกคนมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันคือ มนุษย์ทุกคนมีอดีต มีปัจจุบัน และมีอนาคต  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตจะถูกเก็บไว้ในสมองส่วนต่างๆ และสมองจะทำการแยกแยะว่าสิ่งใดควรเก็บ ควรจำ หรือควรทิ้ง  สำหรับสิ่งที่มนุษย์เก็บไว้ในจิตใต้สำนึกมักจะเป็นสิ่งที่กระทำเป็นประจำจนเป็นอัตโนมัติ หรือเป็นเหตุการณ์ที่พึงพอใจมาก และไม่พอใจมากซึ่งพร้อมที่จะดึงออกมาใช้ได้ทุกเมื่อ   ถ้าคนใดมีวิธีการเก็บสิ่งต่างๆไว้ในเชิงสร้างสรรค์ คิดว่าทุกอย่างที่เข้ากระทบกับชีวิตเราคือการเรียนรู้ ไม่มีผิดไม่มีถูก มองทุกสิ่งอย่างมีเหตุ   มีผล ปล่อยวางความทุกข์ได้อย่างรวดเร็วจะทำให้เป็นคนที่มีความสุข และมองโลกในแง่ดี ซึ่งจุดเริ่มต้นอยู่ที่ความคิด [...]

Tags: ,

มิติการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

สรุปความรู้จากการเข้าอบรม : มิติการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อ-สกุล นางสาวกมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ชื่อ-สกุล นางทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา/งาน การพยาบาลสูติศาสตร์

วัน/เดือน/ปี 26-28 กรกฎาคม 2554

หน่วยงานที่จัด สถาบันพระบรมราชชนก สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข

วพบ สุราษฎร์ธานี

สถานที่ โรงแรมสยามธานี สุราษฎร์ธานี

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับคือ

ปัจจัยที่กระตุ้นสถานการณ์เบาหวานในประเทศไทย คือ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป Physical activity ลดลง ความไม่พอดีของการกินและการออกกำลังกาย น้ำหนักเกินและโรคอ้วน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศหญิงกับชาย พบว่า ผู้หญิงตระหนักต่อการเกิดโรค และพยายามควบคุมโรคเบาหวานมากกว่า แต่กลับมีอัตราความชุกของการเกิดโรคมากกว่าผู้ชาย

ปัจจัยความสำเร็จในการดูแลโรคเรื้อรัง แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1 ปรับกระบวนทัศน์ใหม่เกี่ยวกับภาวะโรคเรื้อรัง เป็นแบบ Patient center เน้นการสร้างสุขภาพ และป้องกันโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวิถีชีวิต

2 ปรับการจัดการระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับปัญหา โดยสนับสนุนให้ ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนมีการดูแลตนเอง ผู้ให้บริการเป็นผู้ให้ข้อมูลสนับสนุนการดูแล และการตัดสินใจ ติดตามกำกับประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

3 สร้างความเชื่อมโยง ระหว่าง ผู้ป่วย ชุมชน และระบบบริการสุขภาพ โดยสร้างความตระหนักในชุมชน สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ป่วย ผู้นำและผู้สนับสนุนร่วมมือกันในการให้บริการสุขภาพ แสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการแก้ปัญหาร่วมกัน

 

แนวทางการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เน้น โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จากมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (13 กค 2552) คือ On-Top payment สนับสนุนและชดเชยการบริการ และ สนับสนุนการบริหารและการพัมนาระบบบริการ DM และ HTโดย

  1. Early detection ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก ทำการคัดกรองในชุมชน
  2. Prompt treatment เริ่มรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ต้น เน้นการดูแลใน รพ สต
  3. Improve Quality Care เพิ่มคุณภาพของ คลินิก DM HT เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ

ด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เน้น การสร้างนวัตกรรมในการดูแล โดยผสมผสานระหว่าง ความรู้ของพยาบาลผู้เชี่ยวชาญในด้านทฤษฎี กับความรู้ชองผู้ป่วยและครอบครัวในฐานะผู้เชี่ยวชาญจากประสบการณ์ชีวิต และความเจ็บป่วย  แล้วร่วมมือกันในการออกแบบกิจกรรมการดูแล และสร้างนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิม นวัตกรรมไม่ใช่แค่การสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ แต่ไม่ได้นำไปใช้ทำอะไร

 

 

Tags: , , , , ,

เทคนิคการเปลี่ยนเลขอารบิค เป็นเลขไทยได้ในพริบตา

วันนี้มีข้อมูลดีๆ จาก ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมาฝากอีกแล้ว หลังจากที่มีการกำหนดให้ใช้ฟอนต์แห่งชาติ(TH SarabanPSK) ในการพิมพ์หนังสือราชการ โดยตัวเลขในหนังสือราชการจะต้องเป็นเลขไทยด้วย สำหรับท่านที่ไม่สะดวกในการพิมพ์เลขไทย รวมทั้งยังมีเอกสารเก่าอีกมากมายที่เดิมเคยพิมพ์ด้วยเลขอารบิค ต้องมาคอยเปลี่ยนแก้ให้เป็นเลขไทยทั้งหมด แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว วิธีการแปลงตัวเลขสามารถทำได้ง่ายดาย ทำตามขั้นตอนเสร็จ กด Ctrl+Alt+g ก็จะสามารถทำการแปลงตัวเลขทั้งหมดในเอกสารได้เลย เพียงแค่ออกแรงนิดหน่อยตอนเริ่มต้นเท่านั้น

 

วิธีการทำ สามารถศึกษาได้จาก วิธีการแปลงตัวเลขอารบิคเป็นเลขไทย

 

โดยท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์แม่แบบได้ที่หน้าเว็บของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

หรือคลิกดาวน์โหลดที่ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Tags: , ,