การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

ผู้บันทึกข้อมูล  อ. คงขวัญ  จันทรเมธากุล

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ. คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร

 

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

-  ก่อนการสอนมีการพูดคุยถึงความเป็นอยู่ของนักศึกษาในช่วงนี้และเล่าให้นักศึกษาฟังถึงเรื่องของรุ่นพี่ที่จบไปแล้วย้อนไปในรุ่นก่อนๆที่มีความสามารถแตกต่างกันแต่มีเป้าหมายที่ชัดเจน  ประสบการณ์ของอาจารย์ที่พบนักศึกษาแบบต่างๆ  และความประทับใจในความสามารถของนักศึกษาแต่ละคนที่เกิดขึ้นในการสอบขอขึ้นทะเบียนของนักศึกษา  ให้กำลังใจและแนะนำวิธีการดูแลตนเองในช่วงนี้

- ระหว่างการสอนมีการจัดหารางวัลที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ เมื่อนักศึกษามีการแสดงออกหรือโต้ตอบอย่างถูกต้อง   ร่วมตอบหรืออภิปรายอย่างสนุกสนาน  มีเป้าหมายในการหยุดพักการสอนที่ชัดเจนร่วมกันกับนักศึกษา

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

-  อธิบายตีความแต่ละประโยคก่อนให้ชัดเจนเข้าใจทุกคนแล้วยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงและเปรียบเทียบเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวันของนักศึกษากับเนื้อหาวิชาเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้นโดยการใช้ประโยคหรือคำที่ตรงใจนักศึกษาที่อยู่ในวัยนี้

 

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

-  มีการซ้อมสอบเสมือนจริงคิดคะแนนเทียบร้อยละของแต่ละคนเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการสอบผ่านของนักศึกษา มีการสุ่มถามเปิดโอกาสให้อภิปรายเพื่อประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ทุกคน

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

-  มีการสอนเสริมทบทวนเนื้อหาวิชาหลังจากเรียนจบในรายวิชาทุกภาคการศึกษาเพื่อให้ยังจดจำเนื้อหาวิชาได้และมีการทบทวนทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นเนื่องจากนักศึกษาจะมีประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกภาคการศึกษา และสอนเสริมเป็นช่วงๆในภาคการศึกษาที่ 2 ของปี 4

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- มีการเตรียมนักศึกษาตั้งแต่ปี 3 ให้มีการสอนเสริม กำหนดให้มีการติวเป็นกลุ่มโดยนักศึกษากันเองแล้วจัดชั่วโมงให้นักศึกษามาพบอาจารย์เฉพาะสาขาวิชาเพื่อปรึกษาหรือถามข้อสงสัยหลังจากอ่านทบทวนเองหรือติวเป็นกลุ่ม มาแล้วและในช่วงเทอม 2 ปี 4 กำหนดไม่ให้นักศึกษากลับบ้านในช่วงติวระยะเวลาเป็นเทอมโดยนักศึกษาไม่มีข้อต่อรองใดๆ

- เปลี่ยนบรรยากาศสถานที่การติวเพื่อเป็นการกระตุ้นพลังและแรงขับของนักศึกษา

 

6.  ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

- จัดชั่วโมงสอนเสริมหลังจากเรียนแล้วในทุกภาคการศึกษาและสอนเสริมเป็นช่วงๆในภาคการศึกษาที่ 2 ของ ปี 4

- ในช่วงท้ายให้มีการกระตุ้นโดยการเข้าค่ายนอกสถานที่ 1-2 คืน น่าจะสามารถกระตุ้นนักศึกษาให้ทำคะแนนได้ถึง 80 %

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- ไม่มีข้อเสนอแนะ

Tags: , , , , , ,

การนวดเพื่อสุขภาพ

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  และกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่  ๓ วันที่  ๑๙ มีนาคม  ๒๕๕๕  เวลา ๑๓:๓๐-๑๖:๐๐ น.

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง    การนวดเพื่อสุขภาพ

วิทยากร    อาจารย์โสภา   ลี้ศิริวัฒนกุล  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ผู้เข้าร่วมประชุม  จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  ๒๖  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  ๑๔  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   ๔๐  คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของอาจารย์โสภา   ลี้ศิริวัฒนกุล

มีหลักฐานปรากฏว่าการนวดไทยเริ่มมีตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง  แบ่งเป็นการนวดแบบราชสำนัก และการนวดไทยแบบเชลยศักดิ์  การนวดนี้มีประโยชน์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  ซึ่งประโยชน์ด้านร่างกายได้แก่  เพิ่มการไหลเวียนของเลือดช่วยให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น  ลดอาการปวดและบวม  กระตุ้นภูมิคุ้มกันและ การทำงานของระบบประสาท  ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียได้ดีขึ้น  ส่วนในหญิงหลังคลอดการนวดและประคบ จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้ดีขึ้น  ส่วนประโยชน์ด้านจิตใจได้แก่  ทำให้เกิดอาการผ่อนคลาย  มีความรู้สึกเป็นสุข ช่วยทำให้จิตใจสงบ  สบายใจ  และเป็นการปรับสมดุลของพลังชีวิต

วิธีการนวดเพื่อลดอาการปวดไหล่และคอ  มีหลักการและเทคนิคดังต่อไปนี้

๑.      ก่อนนวดต้องล้างมือให้สะอาดและตัดเล็บให้สั้น

๒.      ไม่ควรนวดในผู้ที่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ  (ควรให้เกิน ๓๐  นาทีเป็นอย่างน้อย)

๓.      ขณะทำการนวดต้องมีสมาธิ  และระลึกถึงครูบาอาจารย์

๔.      เริ่มการนวดบริเวณด้านซ้ายก่อน

๕.      ระวังอย่าให้นิ้วที่นวดกดที่กระดูกเพราะจะทำให้เมื่อย  สำหรับความหนักเบาของน้ำหนักที่กดเมื่อนวดนั้นให้สอบถามจากผู้ถูกนวด

๖.      ในแต่ละท่าให้นวดอย่างน้อยประมาณ ๕ รอบ  จึงจะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้  สำหรับผู้ที่มีอาการมากอาจต้องใช้การประคบร้อนช่วย  และนัดนวดซ้ำอีกเป็นระยะ

จากความสนใจเรื่องการนวดเพื่อสุขภาพ  ซึ่งเป็นรูปแบบอีกอย่างของทางเลือกด้านสุขภาพ  ทำให้ทีมอาจารย์จากภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  ได้แก่ อ.โสภา  ลี้ศิริวัฒนกุล  อ.คณิสร  แก้วแดง  และ อ.วิภารัตน์  ภิบาลวงษ์  ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการนวดเพื่อผ่อนคลาย  แบบนวดโดยใช้น้ำมันไพลกับการนวดแบบดั้งเดิม  ในผู้ที่มีอาการปวดไหล่ โดยเปรียบเทียบว่าการนวดทั้งสองชนิดนี้มีประสิทธิผลต่ออาการปวด  อาการผ่อนคลาย  และความพึงพอใจต่อการนวดของผู้ถูกนวดที่มีอาการปวดไหล่และคอ ว่ามีแตกต่างกันอย่างไร [...]

Tags: , , ,

สรุปความรู้จากการประชุม วิชาการ Cardiac network forum ครั้งที่ 4

ชื่อ-สกุลผู้นำการจัดการความรู้   อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วันที่ประชุมจัดการความรู้   4 พฤษภาคม  2555   เวลา 11.30 – 12.00 น

สถานที่ประชุม ห้องรับรอง วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
  2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
  3. อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
  4. อ. คงขวัญ จันทรเมธากุล
  5. อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
  6. อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
  7. อ. สุปราณี ฉายวิจิตร์
  8. อ. ดร  ทองสวย  สีทานนห์
  9. อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
  10. อ. พจนาถ บรรเทาวงษ์
  11. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
  12. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
  13. อ. นุชนาถ  ประกาศ
  14. อ. จริยาพร วรรณโชติ
  15. อ. ศศิโสภิต แพงศรี
  16. อ. สุภา คำมะฤทธิ์

 สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

สืบเนื่องจาก อ. ยศพล  เหลืองโสมนภา และอาจารย์รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ Cardiac network forum ครั้งที่ 4  ในวันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2555  ณ. โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้  จังหวัดภูเก็ตนั้น  ได้ข้อสรุปที่เป็นองค์ความรู้ที่น่าสนใจของการดูแลรักษาโรคหัวใจที่สำคัญ  ซึ่งโรคในกลุ่มของโรคหัวใจนั้น จัดเป็นโรคเรื้อรังที่ที่มีความสำคัญยิ่งได้แก่  [...]

Tags: , ,

ข้อดีของการเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้เรียน

โครงการวิจัยในชั้นเรียน

ชื่อเรื่องวิจัย   ข้อดีของการเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้เรียน

ผุ้รับผิดชอบ         อาจารย์อรัญญา บุญธรรม

ความเป็นมาและความสำคัญ

     เนื่องจากคำอธิบายในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาล ได้ระบุว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการสื่อสาร วิธีการสื่อสาร การสื่อสารในองค์กร การประชาสัมพันธ์ และการนำเสนอ การประยุกต์ความรู้ทางการสื่อสารในการพยาบาลกับบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารและสิทธิของประชาชน

     ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องโรคต่างๆที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ดังนั้นผู้รับผิดชอบรายวิชาและคณะอาจารย์ผู้สอนจึงมีความคิดเห็นว่า ในฐานะที่นักศึกษาพยาบาลซึ่งจะต้องไปทำงานในบทบาทของทีมสุขภาพจึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน  ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวพยาบาลควรตระหนักในบุคลิกภาพของตนเองที่มีผลต่อการสื่อสาร และจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้รับผิดชอบรายวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล และทีมอาจารย์ผู้สอนจึงมีความคิดเห็นตรงกันว่าควรบรรจุเนื้อหา เรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาดังกล่าว เพื่อทำให้นักศึกษาได้ตระหนักในบุคลิกภาพของตนเอง และเข้าใจบุคลิกภาพของผู้อื่น อันจะทำให้ช่วยส่งเสริมให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนประสบความสำเร็จ แต่ในการเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวในรายวิชา ทำให้อาจารย์บางท่านสงสัยว่าทำไมต้องเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวในรายวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล ผู้วิจัยในฐานะอาจารย์ผู้สอนจึงต้องการศึกษาผลเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้จากการเรียนในเนื้อหาดังกล่าว [...]

Tags: , , , , , ,

การคุมกำเนิดในวัยรุ่น Contraception in the Aldolescent

การคุมกำเนิดในวัยรุ่น

Contraception in the Aldolescent

จากการประชุม Empowering Woman : Challenge โดยสมาคมอนามัยเจริญพันธุ์ แห่งประเทศไทย

วันที่ 4-5 เมษายน 2555 ณ โรงแรมมณเฑียร พัทยา

ชื่อ-สกุลผู้จัดการความรู้ อ. เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์

วันที่ประชุมจัดการความรู้ 11 เมษายน 2555 เวลา 15.00-16.00 น.

สถานที่ประชุม ภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์

รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ. ธนพร ศนีบุตร

2. อ. ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์

3. อ. จันทรมาศ  เสาวรส

4. อ. จันทร์เพ็ญ  อามพัฒน์

5. อ. ขนิษฐา เมฆกมล

6. อ. อารีรัตน์  วิเชียรประภา

7. อ. จรัญญา  ดีจะโปะ

8. อ. จารุวรรณ  ท่าม่วง

9. อ. วรัญญา  ชลธารกัมปนาถ

10. อ. นริชชญา หาดแก้ว

 

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ 

ปัจจุบันวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันมากขึ้นและเร็วขึ้น จึงเกิดการตั้งครรภ์ในขณะที่ร่างกายและจิตใจยังไม่พร้อม  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา และนำไปสู่การทำแท้ง ทำให้มีผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจตามมา การให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิดในวัยรุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้  วัยรุ่นส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการคุมกำเนิดไม่มาก  ส่วนใหญ่รู้จักการใช้ถุงยางอนามัย  ยาเม็ดคุมกำเนิด  และยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน  แต่มักไม่รู้และไม่ทราบวิธีการที่ถูกต้อง โดยพบว่าอัตราการใช้การคุมกำเนิดอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จะต่ำมาก  การคุมกำเนิดในวัยรุ่นที่เหมาะสมควรเลือกการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว มีภาวะแทรกซ้อนน้อย ใช้ง่าย ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย เพราะวัยรุ่นมักอายไม่กล้าไปปรึกษาแพทย์ วิธีการคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่นที่แนะนำ  ได้แก่ [...]

Tags: , , ,