ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

ภาวะผู้ป่วยเรื้อรัง หมายถึง ภาวะใด ๆ ที่ต้องอาศัยกิจกรรม และการตอบสนองต่อเนื่องจากผู้ป่วย ผู้ดูแล และระบบบริการการแพทย์ ภาวะนี้ครอบคลุมมิติทางกายใจและพฤติกรรม โรคเรื้อรังทางจิตเวช ในปัจจุบันที่เป็นปัญหา ทั้งตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว โดยเฉพาะคนที่ดูแล และส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว ได้แก่ โรคสมองเสื่อม ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในขณะนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า โครงสร้างประชากรของประเทศไทย ได้เข้าสู่โครงสร้างประชากรสูงอายุแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เกินร้อยละ 10 จากประชากรรวมทั้งสิ้น 66.5 ล้านคน หรือคิดเป็นผู้สูงอายุถึงกว่า 7 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขแล้วก็น่าเป็นห่วง เพราะนอกจากสุขภาพใจที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากลูกหลานห่างเหินแล้ว หากสุขภาพกายมีโรครุมเร้าเข้าไปอีก จะทำให้การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุมีความลำบากมากขึ้น โรคสมองเสื่อม พบได้ในอายุ 60-64 ปี ประมาณ 1-2% อายุ 70-74 ปี ประมาณ 12% อายุ 80-84 ปี [...]

Tags: , , , ,

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

จากการเปิดเผยโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ว่า โครงสร้างของประชากรของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้เข้าสู่โครงสร้างประชากรสูงอายุแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เกินร้อยละ 10 จากประชากรรวมทั้งสิ้น 66.5 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขแล้วก็น่าเป็นห่วง เพราะโรคเรื้อรังทางจิตเวชที่พบได้มากในปัจจุบันคือ โรคสมองเสื่อม ซึ่งพบมากในคนอายุ 60-64 ปี 1-2 % อายุ 70-74 ปี 12% 80-84 ปี 31% จากตัวเลขเหล่านี้ทำให้คาดการณ์ได้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวชจะพบได้มากขึ้น โดยเฉพาะ Alzheimer และ Stroke เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่สามารถช่วยตัวเองได้มากนัก รวมทั้งการมีอาการทางจิตร่วมด้วยจะเป็นปัญหาแก่ตัวผู้ป่วย ครอบครัว โดยเฉพาะ Caregiver ซึ่งต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ที่จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 8 ปี สิ่งสำคัญ คือ ทำอย่างไรให้ผู้สงบ และผู้ดูแลไม่เครียดจำถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้า

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปได้ว่า การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาตั้งแต่ตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว สังคม ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น การดูแลสุขภาพกายและจิตผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความก้าวหน้าในการรักษาโรคนี้ยังไม่ค่อยได้ผล และการดูแลสุขภาพจิตของ Caregiver จะป้องกันการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้ เพราะในอนาคตในประเทศไทยโรคซึมเศร้าจะมาเป็นอันดับสอง รองจากหัวใจและหลอดเลือด

Tags: , , , ,

ข้อดีของการเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้เรียน

โครงการวิจัยในชั้นเรียน ชื่อเรื่องวิจัย   ข้อดีของการเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้เรียน ผุ้รับผิดชอบ         อาจารย์อรัญญา บุญธรรม ความเป็นมาและความสำคัญ      เนื่องจากคำอธิบายในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาล ได้ระบุว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการสื่อสาร วิธีการสื่อสาร การสื่อสารในองค์กร การประชาสัมพันธ์ และการนำเสนอ การประยุกต์ความรู้ทางการสื่อสารในการพยาบาลกับบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารและสิทธิของประชาชน      ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องโรคต่างๆที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ดังนั้นผู้รับผิดชอบรายวิชาและคณะอาจารย์ผู้สอนจึงมีความคิดเห็นว่า ในฐานะที่นักศึกษาพยาบาลซึ่งจะต้องไปทำงานในบทบาทของทีมสุขภาพจึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน  ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวพยาบาลควรตระหนักในบุคลิกภาพของตนเองที่มีผลต่อการสื่อสาร และจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้รับผิดชอบรายวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล และทีมอาจารย์ผู้สอนจึงมีความคิดเห็นตรงกันว่าควรบรรจุเนื้อหา เรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาดังกล่าว เพื่อทำให้นักศึกษาได้ตระหนักในบุคลิกภาพของตนเอง และเข้าใจบุคลิกภาพของผู้อื่น อันจะทำให้ช่วยส่งเสริมให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนประสบความสำเร็จ แต่ในการเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวในรายวิชา ทำให้อาจารย์บางท่านสงสัยว่าทำไมต้องเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวในรายวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล ผู้วิจัยในฐานะอาจารย์ผู้สอนจึงต้องการศึกษาผลเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้จากการเรียนในเนื้อหาดังกล่าว Related Posts by [...]

Tags: , , , , , ,