การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา การพยาบาลผู้ใหญ่

ผู้บันทึกข้อมูล  อ. นุชนาถ  ประกาศ

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1.  อ.รัชสุรีย์  จันทเพชร

2.  อ.สุชาดา  นิ้มวัฒนากุล

3.  อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา

4.  อ.พจนาถ  บรรเทาวงษ์

5.  อ.รุ่งนภา  เขียวชะอ่ำ

6.  อ.นุชนาถ ประกาศ

7.  อ.ศศิโสภิต  แพงศรี

 

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

-  แนะนำความสำคัญการสอบให้ได้ 8 วิชาในครั้งแรก เน้นการอ่านจับใจความ การวิเคราะห์ Key words ในโจทย์ ตัวเลือก  ใช้ข้อสอบเป็นตัวกระตุ้น

-  ชวนนักศึกษาพูดคุยเรื่องต่างๆ ก่อนเข้าเนื้อหาเพื่อเป็นการผ่อนคลายไม่ให้เครียด

-  สอบถามนักศึกษาในเรื่องที่นักศึกษาต้องการหรือในส่วนที่ไม่เข้าใจ

-  ซักถามพูดคุยเรื่องต่างๆ ทั่วไป ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัยรุ่นประมาณ 1 – 2 นาที ระหว่างสอนถ้าเนื้อหาตรงกับวัยของนักศึกษาก็จะพูดคุยเพิ่มเติม เล่าประสบการณ์จริงที่พบหรือรูปภาพ กระตุ้นให้นักศึกษาตอบคำถามโดยใช้ข้อสอบ

-  เล่ากรณีศึกษาและวิธีการพยาบาลที่ปฏิบัติแล้วได้ผล วีดีโอการพยาบาลเฉพาะเรื่องจาก U-tube

-  ควรถามนักศึกษา อาจารย์สอนได้น่าสนใจหรือไม่ จะให้อาจารย์สอนแนวใด

 

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

-  นำความรู้เดิมของพยาธิสรีรวิทยา เภสัชวิทยามาใช้เชื่อมโยงกับวิชาปัญหาสุขภาพ และใช้ test blue print ของสภามาเป็นแนวในการจำ Concept (ต้องทำ ต้องหลีกเลี่ยงอะไรในแต่ละปัญหา) มีคำคล้องจอง เน้นบ่อย ๆ พูดซ้ำๆยกตัวอย่าง ทุกครั้งที่กล่าวเรื่องนั้น ๆ  พร้อมสรุปสาระและให้ทำข้อสอบโดยวิธีข้อเฉลย การตัดตัวเลือกแบบต่าง ๆ

-  เน้นด้านความจำพื้นฐานก่อน เช่น ค่า Lab ก่อนประยุกต์สู่ความเข้าใจและนำไปใช้

-  สอนโดยใช้คำพูดง่าย ๆ หรือหลักการจำง่าย ๆ โดยให้นักศึกษานึกถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวโดยเน้นให้จดจำประเด็นหลักให้ได้ก่อน

- เทคนิคไม่สำคัญเท่าความแม่นในเนื้อหาและถ่ายทอดให้เข้าใจง่าย

 

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

-  มี Pre test ก่อนการสอน มีการถามขณะสอน ประเมินการตอบคำถามของนักศึกษา ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้นักศึกษาคิด ถ้านักศึกษาตอบได้เป็นส่วนมากหรือหากนักศึกษามีคำตอบย้อนกลับมา                แสดงว่า นักศึกษาคิดวิเคราะห์เพิ่มเติมมากขึ้น เมื่อสอนเสริมเสร็จจะให้ทำแบบทดสอบรายบท (Post test)

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

-  เตรียมตั้งแต่เนิ่น ๆ พยายามเน้นย้ำให้นักศึกษาเห็นถึงความสำคัญของการสอบ ควรเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2 หรือปี 3 ที่เรียนวิชาพื้นฐานทางการพยาบาล เช่น พยาธิสรีรวิทยา เภสัชวิทยา ให้มีความรู้แน่น ๆ เพราะคำถามในวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ต้องใช้พื้นฐานความเข้าใจจากวิชาดังกล่าว และติวตามแนวทาง ดังนี้

ปี 1 ติวเสริมวิชาหลักที่จะมีผลต่อการเรียน ปี 2, 3, 4

เมื่อขึ้นปี 2 ติวและเน้นเมื่อ Conference ในโรคที่มีการออกข้อสอบมาก ตาม Test blue print

ปี 3 ติวโดยแบ่งกลุ่มเด็ก 3 กลุ่ม อ่อน ปานกลาง เก่ง

ปี4  ให้นักศึกษาเริ่มติวกันเองหรือหาข้อสอบมาทำบ่อยๆ

-  โน้มน้าวในการสร้างพลังกายใจในการสอน ฝึกสมาธิ วิธีการอ่านหนังสือเพื่อสร้างความจดจำ

-  ให้นักศึกษามีเวลาว่างในการอ่านหนังสือด้วยตนเองบ้าง และติวในเวลา 8 – 16 น. นอกเวลาให้นักศึกษาอ่านทบทวนด้วยตนเอง และอยู่ที่ความตั้งใจของนักศึกษาด้วย

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกลุ่มติวกันเอง เริ่มตั้งแต่ปี 2    และใช้ Key word ใน test blue print   มาเป็นประเด็นหัวเรื่องในการการทำแบบฝึกหัด  ออกข้อสอบ  และวัดผล

- ติวจากข้อสอบ และเชิญอาจารย์ผู้สอนต่างสถาบันมาติวเพิ่มแบบ Special lecture จัดเวลาว่างให้ผู้เรียนอ่านเอง แล้วทำการทดสอบเป็นระยะ ๆ

 

6.  ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

-  การฝึกภาคปฏิบัตินำการพยาบาลที่สำคัญตาม Blue print มาวิเคราะห์ เพื่อใช้เป็นตัวนำในการเก็บ Case เช่น Perioperative ต้องให้นักศึกษาบูรณาการกับความรู้ทฤษฎีซึ่งต้องเก็บ Case เตรียมผ่าตัดตั้งแต่ BCPN เพราะเป็นจุดประสงค์การวัดสอบสภา 1 – 2 ข้อ ซึ่งต้องสอนมาก่อนแล้ว การดูแลแผลท่อ Tube-drain ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด  เป็นต้น

- ดูจุดอ่อนของการติวแต่ละปี แก้ไขจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็งที่ดีอยู่แล้ว (เปิดโอกาสให้อาจารย์ได้ดูการติวของหน่วยงานอื่นในวิชาที่ตนเองสอน)

- จัดระยะเวลาในการสอนเสริมให้มีความเหมาะสมไม่เร่งรัดเกินไป นำผลทดสอบ (Pre test) มาเป็นแนวทางในการเตรียมสอนเสริม เป้าหมายตั้งไว้ที่ 70%

- เตรียมการติวแต่เนิ่นๆ มีเวลาเพียงพอในการติวและจัดกลุ่มเด็กเป็นเด็กเก่ง เด็กอ่อน มี test blue print ให้นักศึกษาดูตั้งแต่ปี 2 เพื่อได้รู้ว่าข้อสอบแต่ละวิชาออกอะไรบ้าง เน้นอะไรจะได้ทำความเข้าใจตั้งแต่ ปี  2

- ให้นักศึกษามีเวลาพักในการอ่านหนังสือเองบ้าง

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- จัดประชุมเชิญวิทยากรจากวิทยาลัยที่นักศึกษามีผลสอบดีติดต่อกันหลายๆ ครั้งเช่น วพบ.พระพุทธบาท หรือ วพ.อื่น ๆ ที่น่าสนใจนอก สบช. มา show case ว่ามีวิธีการอย่างไร

- จัดให้มี 2 ระยะ ระยะแรก เตรียมการสำหรับการสอนเสริม ระยะที่ 2 การติวโดยข้อสอบวัดผลสอบเป็นระยะ

Tags: , , , , ,

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา การผดุงครรภ์

ผู้บันทึกข้อมูล อ.จันทรมาศ  เสาวรส

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ.ขนิษฐา          เมฆกมล
2. อ.อารีรัตน์         วิเชียรประภา
3. อ.จรัญญา         ดีจะโปะ
4. อ.นริชชญา        หาดแก้ว
5. อ.จารุวรรณ์       ท่าม่วง

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

-  คณาจารย์ในทีมติวแสวงหารูปแบบวิธีการติว  เพื่อให้นักศึกษาได้ผ่อนคลายแล้วไม่เครียด  โดยหากิจกรรมและเรื่องเล่าที่สนุกสนานมานำก่อนการติวและระหว่างการติว
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเล่นเกมส์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ติวและมีรางวัลเล็กๆน้อยๆ

 

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

-  เรียนเชิญวิทยากรจากวพบ.สระบุรี มาช่วยติว concept หลักๆ  ให้กับนศ.  เพื่อเป็นการกระตุ้นนักศึกษาและช่วยให้นักศึกษาได้ทราบถึงการเตรียมความพร้อมของเพื่อนนักศึกษาในสถาบันอื่น ทำให้นักศึกษาไม่เบื่อหน่ายและมีโลกทัศน์กว้างขึ้น  รวมทั้งได้เรียนรู้เทคนิคการทำข้อสอบจากอาจารย์ที่หลากหลาย

-  แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาเฉลยและอธิบายข้อสอบ  โดยให้คะแนนแต่ละกลุ่ม  และมีรางวัลให้เพื่อเป็นแรงจูงใจ
- นักศึกษาและผู้สอนค้นหาความรู้ใหม่ๆร่วมกัน  โดยการsearch  จาก Internet  ซึ่งมีภาพประกอบหรือเป็นสื่อวิดิทัศน์ที่สวยงาม  เพื่อไม่ให้ง่วง
- ขณะติวควรสรุปconcept หลักสั้นๆง่ายๆ  รวมทั้งเทคนิคการจำแต่ละประเด็นให้นศ.สามารถจำและเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาที่เรียนได้ (สรุปเป็น one page ให้ครอบคลุมทุกประเด็น  หัวข้อละ 1 แผ่น  รวบรวมและให้นักศึกษากลับไปทบทวนหลังการติว) และใช้ข้อสอบกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา เน้น Key  word สำคัญๆของเรื่องนั้น
- ฝึกให้นักศึกษาได้ทำข้อสอบที่หลากหลาย  โดยใช้โจทย์หรือสถานการณ์  ฝึกคิดอ้างอิงทฤษฎีและสอนเทคนิคการตัดตัวเลือกข้อสอบ  เน้นประเด็นหรือสิ่งที่ควรจำ  รวมทั้งช่วยทบทวนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องให้เป็นระยะ
- ประดิษฐ์อุปกรณ์เสริมการติวเพิ่ม “แผ่นหมุนกลไกการคลอด”  ในกลไกการคลอดแต่ละท่า  ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจดีและง่ายขึ้น

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

- ทำข้อสอบและให้ฝ่ายประเมินผลตรวจ

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

- ควรมีการเตรียมนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่เริ่มขึ้นปี3 และปี4  โดยจัดสรรเวลาและตารางการติว  ให้อาจารย์ทบทวนความรู้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหา  โดยสม่ำเสมอ  และสิ่งที่สำคัญคือ  ควรต้องปลูกจิตสำนึก  และสร้างความตระหนักในการสอบสภาฯให้ผ่าน 8 รายวิชา  ในรอบแรกให้ได้ในใจของนักศึกษาทุกคน

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- นักศึกษาทุกคน  ควรมีโอกาสวางแผนการติว/อ่านหนังสือด้วยตนเอง  และสรุปประเด็นสำคัญด้วยตนเองแต่แรกเริ่ม  หมั่นทบทวน  เมื่อมีข้อคำถาม  ต้องแสวงหาคำตอบให้ได้  อย่าปล่อยค้างไว้

 

6.  ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

- นักศึกษาควรมีความรู้พื้นฐานที่แม่นยำ  ถ้ามีความรู้พื้นฐานของแต่ละวิชาดี  ข้อสอบทุกสถาบัน  นักศึกษาจะสามารถทำได้

- นักศึกษาควรมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาวิทยาลัยอื่นๆ  ที่มีผลการสอบดี

- การจัดทีมอาจารย์ผู้ติวควรมีการคละช่วงวัย  และประสบการณ์  ถ้าเป็นไปได้  เพื่อให้นักศึกษาไม่เกิดความเบื่อหน่ายและควรสร้างบรรยากาศในการติวแบบผ่อนคลาย  ไม่ก่อให้เกิดความเครียด  จะช่วยเสริมความจำและเรียนรู้ดีขึ้น

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- ไม่มีข้อเสนอแนะ

Tags: , , , , ,

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

ผู้บันทึกข้อมูล  อ.จริยาพร  วรรณโชติ

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ.คนึงนิตย์   พงษ์สิทธิถาวร

2. อ.วารุณี       สุวรวัฒนกุล

3. อ.จริยาพร    วรรณโชติ

4. อ.สุภา         คำมะฤทธิ์

 

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

- อธิบาย ประโยชน์และความสำคัญต่อการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต

- ตั้งเป้าหมาย ที่จะต้องสอบให้ผ่าน

- การวางแผนการอ่านหนังสือและการทำแบบฝึกหัดมากๆ

- หาข้อสอบที่หลากหลายให้นักศึกษาฝึกทำข้อสอบและเฉลยข้อสอบ

- เมื่อนักศึกษาทำข้อสอบเสร็จแล้ว เฉลยพร้อมอธิบายรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติม

 

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

- เริ่มต้นโดยชี้แจงให้นักศึกษาทราบและจดพำหัวข้อที่จะออกข้อสอบใน blueprint สภาการพยาบาล

- ติวเกี่ยวกับ concept ที่สำคัญของเรื่องนั้นๆ

- สรุปเนื้อหาย่อๆ และสอนวิธีการจำของอาจารย์ให้แก่นักศึกษา

- ใช้แบบฝึกหัดและข้อสอบในการกระตุ้นความคิด และความจำเดิม และเพิ่มความรู้ในส่วนที่นักศึกษา ขาดหายไป

- เมื่อมีการใช้ข้อสอบเป็นแนวในการติว จะเสริมเนื้อหาในส่วนนั้นๆไปด้วย พร้อมทั้งอธิบายตัวเลือกในข้อสอบ ทำให้นักศึกษามีหลักในการคิดและวิเคราะห์ข้อสอบมากขึ้นด้วย

 

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

- สังเกตความสนใจและการเข้าติวเพื่อการสอบสภาของนักศึกษา

- สอบถามและพูดคุยกับนักศึกษาว่าต้องการให้อาจารย์ช่วยติวในส่วนใดที่นักศึกษาคิดว่ายากต่อการทำความเข้าใจ อาจารย์จะได้เน้นยำ อธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่นักศึกษาต้องการ

- ให้ทำPretest-Posttest โดยใช้ข้อสอบเก่า ประกาศให้นักศึกษาทราบคะแนนของตนเอง  เพื่อรู้ข้อบกพร่องในส่วนที่ตนเองต้องปรับปรุง

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

- ตรวจสอบเนื้อหาที่สอนกับblueprint ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ตั้งแต่การสอนภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ในรายวิชาตามหลักสูตร

- ควรฝึกให้นักศึกษาทำข้อสอบหรือมีการออกข้อสอบ MCQ ให้มากขึ้นเพื่อให้มีจำนวนข้อสอบมากพอที่จะวัดความรู้แลฝึกทักษะการทำข้อสอบMCQ

- เตรียมนักศึกษาทุกชั้นปีตั้งแต่ปีที่1  ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการสอบเพื่อรับใบอนุญาตของสภาการพยาบาล และเมื่อนักศึกษาขึ้นชั้นปีที่ 3  ให้มีโครงการติวเป็นช่วงๆ และเมื่อนักศึกษาขึ้นชั้นปีที่4 ให้มีการเริ่มติวตั้งแต่ต้นปีการศึกษา

- ควรมีการปรับรูปแบบของโครงการติวนักศึกษา และไม่ควรติวในระยะใกล้สอบสภา เพื่อเว้นระยะให้นักศึกษาได้ทบทวนความรู้ด้วยตนเอง

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- ให้นักศึกษาได้ฝึกทำข้อสอบMCQ ตาม blueprint และเฉลยเพิ่มเติมเนื้อหาสำคัญที่นักศึกษาขาดหายไป

- เชิญอาจารย์ผู้มีประสบการณ์การออกข้อสอบสภามาติวในแต่ละวิชา

- หาเอกสารการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบให้นักศึกษาได้อ่านเพิ่มเติมและเป็นแนวทางในการติวสอบสภา

- ให้รุ่นพี่ที่จบแล้วติวให้รุ่นน้อง(วพบ.พิษณุโลก)

- การจัดกลุ่มติวแบบเพื่อนติวเพื่อนด้วยกันเอง เป็นกลุ่มเล็กๆ

- ทำสิ่งแวดล้อม บรรยากาศในวิทยาลัยให้เป็นบรรยากาศการเตรียมตัวสอบของนักศึกษาปี4 ตลอดทั้งปี เช่นเตรียมสถานที่อ่านหนังสือ ที่นอกเหนือจากหอพักของนักศึกษา

 

6.  ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

- รายวิชาในปี4 เน้นการสอนที่สอดคล้องกับ blueprint สภา ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

- มีการทบทวนโดยนักศึกษาหรืออาจารย์ในภาคทฤษฎี ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่1

- ควรหาข้อสอบที่หลากหลายแต่ละปีมาประกอบการวิเคราะห์หาแนวทางในการติวนักศึกษาเพื่อสอบสภา

- นักศึกษาชั้นปี4 ควรปรับการฝึกงานให้เสร็จเรียบร้อยภายในภาคการศึกษาต้นๆ เพื่อให้นักศึกษามีเวลาทบทวนเนื้อหาเพื่อเตรียมสอบสภามากขึ้น

- จัดแบ่งกลุ่มช่วยกันอ่านหนังสือโดยแบ่งตามผลการเรียน คละกันระหว่างผลการเรียน สูง กลาง ต่ำ ให้นักศึกษาติวกันเอง ให้ช่วยกันกระตุ้นเพราะอยู่ในหอพักเดียวกัน นักศึกษาที่ผลการเรียนอ่อนจะได้เข้าใจมากขึ้น แล้วจึงมาติวรวมกันในกลุ่มใหญ่โดยอาจารย์

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- อาจารย์ทุกท่านร่วมกันติวเพราะแต่ละท่านจะมีเทคนิคในการสอนที่แตกต่างกันไป ช่วยให้นักศึกษาไม่เบื่อหน่ายการติวและตื่นตัวเมื่อได้พบกับอาจารย์หลายท่าน

- เชิญอาจารย์ที่เคยมีประสบการณ์การออกข้อสอบสภาการพบาบาล หรือมีประสบการณ์การติวในวิทยาลัยที่สอบสภาผ่านมากๆ มาติวให้กับนักศึกษา

- ไปศึกษาดูงานการเรียนการสอนวิทยาลัยพยาบาลที่นักศึกษามีผลการสอบสภาผ่านมากเป็นอันดับหนึ่งของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Tags: , , , , ,

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา การพยาบาลอนามัยชุมชน

ผู้บันทึกข้อมูล  อ. ลลิตา  เดชาวุธ

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. อ. ราตรี   อร่ามศิลป์
  2. ดร.พรฤดี   นิธิรัตน์
  3. อ.ทองใหญ่   วัฒนศาสตร์

 

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

- กระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง

- เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น

- Empower นักศึกษาให้เห็นว่าถ้าตั้งใจเรียนจะสอบผ่านได้แน่ๆ

- อาจารย์เตรียมสื่อการสอนที่น่าสนใจ

- อาจารย์ใช้กลวิธีการสอนที่เร้าใจ  ให้นักศึกษามีส่วนร่วม  น้ำเสียง  บุคลิกภาพ  และมุขตลก

- กระตุ้นนักศึกษาให้เกิดแรงจูงใจในการทบทวนบทเรียน

- อาจารย์อธิบายความสำคัญของการสอบ

 

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

- สนุก ง่าย ได้ผล คงทน และยั่งยืน  ได้แก่  แบ่งเนื้อหาให้ง่ายต่อการเข้าใจ  ให้นักศึกษามีความสนุกในการเรียนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้

- ให้ดูสื่อเคลื่อนไหว

- เขียนกระดานขณะสอน เพื่ออธิบายให้เห็นภาพ

- เชื่อมโยงเนื้อหาให้เข้ากับสิ่งที่นักศึกษาคุ้นเคย

- สรุปสาระสำคัญเป็นเอกสารประกอบการบรรยาย โดยมีเทคนิคการจำและการทำข้อสอบด้วย

- ขณะติวให้นักศึกษาทำข้อสอบไปด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและทวนสอบความเข้าใจของนักศึกษา

 

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

- สังเกตการมีส่วนร่วม

- ให้นักศึกษาเขียนสรุปสาระการเรียนรู้ของแต่ละคน

- แบบทดสอบความรู้

- แบ่งกลุ่มย่อย ในประเมินผลการเรียนรู้และความสนใจของนักศึกษา

- เฉลย และ ตรวจงานทันทีขณะสอน  โดยแลกงานกันตรวจ

- ทำข้อสอบ

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

- ฝึกการทดสอบบ่อยๆ

- ทบทวนเนื้อหา

- ฝึกทำข้อสอบแบบไม่เครียด

- สอบทบทวนความรู้รวบยอดทุกชั้นปี เมื่อจบภาคการศึกษา

- จับกลุ่มเรียนตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา (ปี 1 )  กลุ่มประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4  เพื่อให้นักศึกษาช่วยกันเรียน และต้องประเมินผลสัมฤทธิ์เป็นรายกลุ่มทุกปี  โดยนักศึกษาทำ short note ทุกวิชาและตรวจให้คะแนนเป็น requirement ของรายวิชา

- แบ่งกลุ่มนักศึกษาให้มีจำนวนน้อย เพื่อจะช่วยให้นักศึกษากล้าซักถามมากขึ้น

- การสอนขณะฝึกปฏิบัติงานจะช่วยให้นักศึกษาจดจำเนื้อหาวิชาได้ดีและเข้าใจง่าย

- หลังฝึกภาคปฏิบัติควรมีการสรุปทบทวนสาระสำคัญ

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- ทบทวนเนื้อหาที่สำคัญ

- ฝึกการทำข้อสอบบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ

- ผ่อนคลายความเครียด เพื่อให้สมองปลอดโปร่ง

- แบ่งกลุ่มย่อยติวฯ

- แบ่งกลุ่มเด็กเก่งและเด็กอ่อน

 

6.  ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

- การทบทวนการทำข้อสอบ

- ทบทวนเนื้อหา

- ไม่พบว่าแตกต่างกันมาก หรือน่าเป็นประโยชน์มากๆ

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- ไม่เพิ่มความเครียดให้นักศึกษามากเกินไป

- ไม่ตั้งความหวังมากเกินไป

- ควรจัดการความรู้ระดับภาควิชาก่อน  แล้วนำไปสู่ภาพรวมของวิทยาลัย

Tags: , , , , ,

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

ผู้บันทึกข้อมูล  อ. อรัญญา บุญธรรม

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. อ. วราภรณ์   จรเจริญ
  2. อ.โศภิณศิริ   ยุทธวิสุทธิ
  3. ดร.เชษฐา   แก้วพรม
  4. อ.มงคล   ส่องสว่างธรรม
  5. อ.ลลนา   ประทุม

 

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

- แจกเอกสารประกอบการติว (สรุปสาระสำคัญ ตามหัวข้อใน BLEU PRINT) ให้นักศึกษาอ่านก่อนวันติว

- ใช้คำถามกระตุ้นการคิด และชมเชยเมื่อนักศึกษาตอบได้

 

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

- จัดทำเอกสารประกอบการติว (สรุปสาระสำคัญ ตามหัวข้อใน BLEU PRINT)  และแจกให้นักศึกษาอ่านก่อนวันติว

- เขียนสาระสำคัญ(เขียนคำสำคัญ ไดอะแกรม MAPPING ) ประกอบคำอธิบายขณะดำเนินการติว

- แต่งเป็นกลอน คำคล้องจอง

- ยกตัวอย่างสถานการณ์จริงที่นักศึกษาเคยพบในการฝึกภาคปฏิบัติเพื่อให้คิดเป็นภาพ

 

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

- ในห้องเรียนที่มีนักศึกษามากกว่า 20 คน การประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนทำได้ยาก ต้องประเมินหลังการสอนโดยการให้ทำข้อสอบ

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

- วางแผนร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน

- ทำเอกสารสรุปสาระสำคัญ ตามหัวข้อใน BLEU PRINT ทุกรายวิชาที่สอบ และ จัดทำคลังข้อสอบเพื่อใช้สำหรับติวในแต่ละหัวข้อในแต่ละวิชา

- ติวสาระสำคัญทีละหัวข้อก่อน แล้วจึงฝึกทำข้อสอบพร้อมกัน   สอนวิเคราะห์โจทย์และตัวเลือก

- หลังติว ให้นักศึกษาทำข้อสอบเสมือนจริง และตรวจเพื่อประเมินผลนักศึกษาแต่ละคนในแต่ละวิชา

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- จัดแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มตามคะแนนเพื่อแยกกลุ่มอ่อนในแต่ละวิชาออกมาติวต่างหาก ใช้กระบวนการและระย้เวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มอ่อน (ตามความสมัครใจของกลุ่มอ่อนด้วย ไม่บังคับ)

 

6.  ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

- นักศึกษาที่สอบแล้วรวบรวมข้อสอบในแต่ละวิชาส่งให้วิทยาลัย

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- การใช้ข้อมูลจากการทำ KM ในกลุ่มผู้เรียน ( ทั้งกลุ่มอ่อน กลุ่มกลาง และกลุ่มสูง) หลังการติวเพื่อนำมาวางแผนการติวครั้งต่อไปน่าจะเกิดประโยชน์มาก

Tags: , , , , , ,