ข้อดีของการเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้เรียน

โครงการวิจัยในชั้นเรียน

ชื่อเรื่องวิจัย   ข้อดีของการเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้เรียน

ผุ้รับผิดชอบ         อาจารย์อรัญญา บุญธรรม

ความเป็นมาและความสำคัญ

     เนื่องจากคำอธิบายในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาล ได้ระบุว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการสื่อสาร วิธีการสื่อสาร การสื่อสารในองค์กร การประชาสัมพันธ์ และการนำเสนอ การประยุกต์ความรู้ทางการสื่อสารในการพยาบาลกับบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารและสิทธิของประชาชน

     ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องโรคต่างๆที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ดังนั้นผู้รับผิดชอบรายวิชาและคณะอาจารย์ผู้สอนจึงมีความคิดเห็นว่า ในฐานะที่นักศึกษาพยาบาลซึ่งจะต้องไปทำงานในบทบาทของทีมสุขภาพจึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน  ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวพยาบาลควรตระหนักในบุคลิกภาพของตนเองที่มีผลต่อการสื่อสาร และจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้รับผิดชอบรายวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล และทีมอาจารย์ผู้สอนจึงมีความคิดเห็นตรงกันว่าควรบรรจุเนื้อหา เรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาดังกล่าว เพื่อทำให้นักศึกษาได้ตระหนักในบุคลิกภาพของตนเอง และเข้าใจบุคลิกภาพของผู้อื่น อันจะทำให้ช่วยส่งเสริมให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนประสบความสำเร็จ แต่ในการเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวในรายวิชา ทำให้อาจารย์บางท่านสงสัยว่าทำไมต้องเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวในรายวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล ผู้วิจัยในฐานะอาจารย์ผู้สอนจึงต้องการศึกษาผลเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้จากการเรียนในเนื้อหาดังกล่าว

วัตถุประสงค์ของการวิจัย                เพื่อเปรียบเทียบประโยชน์ของการเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล

กลุ่มตัวอย่าง       นักศึกษาปี 2 ที่เรียนวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล ปีการศึกษา 2554 จำนวน 126 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   แบบสอบถามการรับรู้ตนเองก่อนและหลังเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล

 การวิเคราะห์ข้อมูล           ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS(ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ  t-test)

งบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัย    ไม่มี

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล        อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ความปลอดภัยในการให้ข้อมูล  รวมถึงการนำเสนอข้อมูลในภาพรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษารุ่นต่อไป

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ               นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล ในปีการศึกษาต่อไป

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

รายการประเมิน

ก่อนการเรียน

หลังการเรียน

Sig.

(2-tailed)

X

SD

X

SD

1.ฉันเข้าใจพฤติกรรมและบุคลิกของตัวเอง

2.86

0.68

3.98

0.69

.000

2.ฉันเข้าใจพฤติกรรมและบุคลิกของผู้อื่น

2.79

0.75

3.97

0.78

.000

3. ฉันเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความแตกต่างระหว่างฉันกับคนอื่นรอบข้าง

3.15

0.77

4.10

0.69

.000

4. ฉันตระหนักในข้อดีข้อเสียของบุคิกภาพของฉันมากขึ้น

3.04

0.77

4.09

0.74

.000

5. ฉันเห็นแนวทางพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสาร

2.99

0.81

4.06

0.77

.000

6.ฉันรู้สึกหงุดหงิดเมื่อเห็นผู้อื่นคิดหรือทำอะไรที่แตกต่างจากฉัน

2.87

0.95

2.57

1.29

.009

7.ความทุกข์หรือปัญหาชีวิตของฉันเกิดจากปัญหาในการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์

2.69

0.83

2.67

1.17

.900

8.ฉันมีความสุขเมื่อมีปฏิสัมพันธ์อยู่ร่วมกับผู้อื่น

3.54

0.78

3.98

1.00

.000

9.ฉันมีความมั่นใจเมื่อมีปฏิสัมพันธ์อยู่ร่วมกับผู้อื่น

3.11

0.80

3.91

0.88

.000

10.ฉันคิดว่าจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งผู้ป่วยหรือญาติได้เป็นอย่างดี

3.14

0.80

4.03

0.85

.000

     จากตาราง แสดงให้เห็นว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้รับรู้ตนเองก่อนเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล แตกต่างกับค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้รับรู้ตนเองหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อ ยกเว้นข้อที่ 7 ความทุกข์หรือปัญหาชีวิตของฉันเกิดจากปัญหาในการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์

อภิปรายผลการวิจัย

     จากผลการวิเคราะห์แบบสอบถามการรับรู้ตนเองก่อนและหลังเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล พบว่า   ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้รับรู้ตนเองก่อนเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล แตกต่างกับค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้รับรู้ตนเองหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อ ยกเว้นข้อที่ 7 ความทุกข์หรือปัญหาชีวิตของฉันเกิดจากปัญหาในการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์

     จากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า การเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ทำให้นักศึกษารับรู้ว่าตนเองเข้าใจพฤติกรรมและบุคลิกของตัวเองมากขึ้น  เข้าใจพฤติกรรมและบุคลิกของผู้อื่นมากขึ้น    ตระหนักในข้อดีข้อเสียของบุคิกภาพของฉันมากขึ้น  เห็นแนวทางพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารมากขึ้น    มีความสุขเมื่อมีปฏิสัมพันธ์อยู่ร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น    มีความมั่นใจเมื่อมีปฏิสัมพันธ์อยู่ร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น    จะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นรวมทั้งผู้ป่วยหรือญาติได้เป็นอย่างดีมากขึ้น  และรู้สึกหงุดหงิดเมื่อเห็นผู้อื่นคิดหรือทำอะไรที่แตกต่างจากตนเองน้อยลง

การนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์

     จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อมูลนำเข้าในการจัดการเรียนการสอนวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล

Print Friendly
ผู้เขียน อ.อรัญญา บุญธรรม (ประวัติการเขียน 17 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์


Tags: , , , , , ,

One Response to “ข้อดีของการเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้เรียน”

  1. เป็นที่น่าเสียดายว่าในหลักสูตรใหม่วิชาการสื่อสารต้องรวมเนื้อหาสาระสนเทศ(รวมเป็นวิชาเดียวกันแต่ 2 หน่วยกิตเท่าเดิม) จึงไม่สามารถใส่เนื้อหาเรื่อง Ice berg และ Style ในวิชานี้ได้