โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่ ๔

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่ 4  วันที่  27 เมษายน 2555  เวลา 13.30-16.00 น.

 ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง     การดูแลเด็กที่มีภาวะตัวเหลือง

วิทยากร  แพทย์หญิงยิ่งดาว  ชยสิกานนท์  กุมารแพทย์  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

คุณสมควร สุขสัมพันธ์   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  ตึกสูติกรรม 4  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  37  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  ๑4  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   23  คน

 

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของวิทยากร

ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด สาเหตุเกิดจาก Physiological jaundice และPathological jaundice  ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ทารกสมองพิการถาวรได้  หอผู้ป่วยสูติกรรม 4 จะเริ่มตรวจหาค่าบิลิรูบินเมื่อพบทารกตัวเหลือง หรือเมื่ออายุครบ 2 วัน โดยเจาะพร้อมคัดกรองหาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน  ทารกที่มีค่าบิลิรูบินเกินเกณฑ์จะได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟจนระดับบิลิรูบินอยู่ในเกณฑ์ปกติก็จะหยุดส่องไฟแต่ยังไม่จำหน่าย  หลังหยุดส่องไฟ 24 ชั่วโมง  จะหาค่าบิลิรูบิเพื่อตรวจสอบภาวะตัวเหลืองกลับซ้ำ  ทั้งนี้พบปัญหาผู้ปกครองบางรายไม่ยินยอม   ปัญหาเพิ่มค่าใช้จ่ายเพิ่มอัตราครองเตียงเพราะทารกต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น  จึงได้ทำการศึกษาปัจจัยทำนายตัวเหลืองกลับซ้ำในทารกแรกเกิดหลังหยุดส่องไฟ 24 ชั่วโมง โดยทำวิจัยเชิงวิเคราะห์ case control study ศึกษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟในหอผู้ป่วยสูติกรรม 4 ตั้งแต่ ก.ค.52- พค.54 จำนวน 908 ราย  วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Chis-quare  เปรียบเทียบอัตราส่วนความเสี่ยง(Odd ratio) ของปัจจัยทำนายที่ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองซ้ำด้วยการประมาณค่าขอบเขตของความเชื่อมั่นร้อยละ 95  ผลการศึกษาพบว่าทารกเพศชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเหลืองซ้ำมากกว่าเพศหญิง 2:1 เท่า (95% CI 1.03-4.48) ทารกที่มีสาเหตุการเหลืองจาก G-6-PD มีโอกาสตัวเหลืองซ้ำมากกว่าทารกปกติ ทารกที่มีสาเหตุการเหลืองจาก ABO incompatability   ทารกกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเหลืองซ้ำคือทารกที่มีสาเหตุการเหลืองจาก Pathological jaundice ที่ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ส่วนทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม และทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า  2,500 กรัม  ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโอกาสเหลืองซ้ำ  การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ เมื่อพบทารกกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการประเมินอาการซ้ำหลังหยุดส่องไฟ 24 ชั่วโมง และได้รับการเฝ้าระวังอยู่ในโรงพยาบาลต่อ ไม่ควรจำหน่ายทารกเพราะมีโอกาสตัวเหลืองกลับซ้ำสูงมาก นำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาจำหน่ายทารกกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยได้เร็วขึ้น เพื่อช่วยลดจำนวนวันนอน ลดอัตราครองเตียงและลดค่าใช้จ่าย  เมื่อนำผลการวิจัยนี้ลงสู่การปฏิบัติในหน่วยงานเป็นเวลา 9 เดือน  สามารถจำหน่ายทารกกลุ่มเสี่ยงน้อยได้เร็วขึ้น  มารดามีความพึงพอใจกลับบ้านได้เร็วขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลได้ [...]

Tags: , , , , ,

The nat 2012 theme 2012 Neurosurgery: Legal and Ethical Issues in Neurological Nursing

 

The nat 2012 theme 2012 Neurosurgery:

Legal and Ethical Issues in Neurological Nursing

 

ลักษณะผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาท

 

1.  Neurological deficits / problem

 

          1.1 Cognitive impairment – attention, thinking, remembering

 

                   Using and understanding language, learning, performing

 

                   Calculation, planning, organizing and re-organizing, solving problem, and making decisions

 

          1.2 Emotional & psychological disorders – depression

 

          1.3 Personality & behavioral changes

 

          1.4 Physical deficits

2. From mild to severe -little change…to persistent vegetative state (PVS) …and to Death… [...]

Tags: , , , ,

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา การพยาบาลผู้สูงอายุ

ผู้บันทึกข้อมูล อ. จิตติยา  สมบัติบูรณ์

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อ.รัชสุรีย์  จันทเพชร

 

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

-  บอกข้อดี  ข้อเสียของการสอบผ่าน / สอบไม่ผ่านในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ   เมื่อต้องสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ

-  แนะนำวิธีการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมทบทวนเนื้อหาในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ

-  แนะนำวิธีการควบคุม  จัดการตนเองให้พร้อมสำหรับการสอบ

 

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

-  แนะนำให้นักศึกษาอ่านหนังสือตามแผนผังการออกข้อสอบของสภาการพยาบาล

-  แนะนำหนังสือในห้องสมุดของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  ที่มีเนื้อหาวิชา/หัวข้อ ตรงตามที่สภาการพยาบาลกำหนดไว้

-  ทำเอกสารประกอบการสอนที่มีเนื้อหาตรงตามแผนผังการออกข้อสอบของสภาการพยาบาล

-  สอนในเนื้อหา/หัวข้อที่ยากต่อการทำความเข้าใจ  เช่น  การประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ

-  ให้ทำข้อสอบหลายๆชุด  และเฉลย  โดยมีการอธิบายรายละเอียดของเนื้อหาตามที่โจทย์ถาม วิธีการตัดสินใจเลือกคำตอบที่ถูกต้อง  วิธีการสังเกตตัวเลือกที่ควรตัดทิ้ง

-  เชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ  จากมหาวิทยาลัยบูรพามาสอนนักศึกษา

 

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

- ให้ฝึกทำข้อสอบหลายๆชุดและจับเวลาให้นักศึกษาทำข้อสอบตามเกณฑ์ที่สภาการพยาบาลกำหนด

- หลังทำข้อสอบ  อาจารย์แจ้งผลการสอบให้นักศึกษาทราบเพื่อให้นักศึกษาได้อ่านหนังสือเพิ่มเติม  และอาจารย์ยกตัวอย่างข้อสอบในเนื้อหาที่นักศึกษายังทำข้อสอบในเนื้อหาในประเด็นนั้นไม่ได้

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

- ให้นักศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาตาม  Blueprint ก่อนการเตรียมตัวอ่านทบทวนเนื้อหาก่อนสอบ

- ให้นักศึกษาฝึกทำข้อสอบหลายๆชุด  โดยแต่ละชุดมีเนื้อหาครอบคลุมตาม Blueprint ที่สภาการพยาบาลกำหนด  และอาจารย์เฉลยพร้อมบอกแนวทางการการวิเคราะห์คำตอบแต่ละข้อ

- ควรเตรียมความพร้อมนักศึกษาด้วยการติวเป็นระยะๆตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4

- สรุปเนื้อหาที่นักศึกษาควรรู้  และต้องรู้  เป็นแผนผังสรุปความคิดรวบยอด  เพื่อให้จำได้ง่าย

-  จัดการเรียนการสอนให้มีการดูแล  การประชุมปรึกษา  และกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจนในการดูแลผู้สูงอายุทั้งภาคทฤษฎี  และปฎิบัติ

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาต่างๆควรช่วยกระตุ้นเตือน  และมีการประชุมปรึกษาทางการพยาบาลเมื่อพบกรณีศึกษาที่เป็นผู้สูงอายุ  เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์  และนำหลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้สูงอายุมาใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ  เช่น  วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ  ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน  เป็นต้น

 

6.  ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

- มีการแจกแผนผังการออกข้อสอบในวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ  เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมอ่านเนื้อหาก่อนสอบ

- สอนเสริมกลุ่มย่อยตามความต้องการของนักศึกษา

- ทำเอกสารประกอบการอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบ  โดยมีเนื้อหาสรุปและทำแผนผังความคิดรวบยอดครอบคลุม Blueprint  ที่สภาการพยาบาลกำหนด และตั้งเป้าหมายว่านักศึกษาควรจะผ่านการสอบ  90  %

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- จัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย  ที่มีผลการสอบในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุได้ดี

-  ควรมีการเชิญอาจารย์จากภายนอกวิทยาลัยมาสอนอย่างสม่ำเสมอ

Tags: , , , , ,

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

ผู้บันทึกข้อมูล อ. รัชชนก  สิทธิเวช

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. อ.โสภา  ลี้ศิริวัฒนกุล
  2. อ.จีราภา  ศรีท่าไฮ
  3. อ.บุษยารัตน์  ลอยศักดิ์

         

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

- เสริมสร้างพลังอำนาจให้มีความมุ่งมั่นในการสอบผ่าน 100% ในการสอบครั้งแรก

- กระตุ้นโดยให้นักศึกษาทำข้อสอบ

- เล่าประสบการณ์ที่เคยผ่านการสอบทั้งของตนเองและของบุคคลอื่นให้ฟังพร้อมยกตัวอย่างข้อสอบ

- เฉลยข้อสอบและอธิบายคำตอบในเนื้อหาทุกข้อ

- สอนโดยใช้ภาพและ power point สรุปเนื้อหาสำคัญ

 

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

- ในการฝึกปฏิบัติมีการอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาทางทฤษฎีที่ใช้ทำข้อสอบซึ่งมีบางประเด็นที่ไม่สอดคล้องในทางปฏิบัติ  และเน้นเนื้อหาที่พบบ่อยในการออกข้อสอบที่สอดคล้องกับสิ่งที่นักศึกษาพบในแหล่งฝึก

- ใช้แผนผังความคิดช่วยจำ   ให้ดูภาพประกอบ

- เน้นเทคนิคการจำ

- การสรุปประเด็นเนื้อหาสำคัญและที่นำไปใช้ได้ร่วมกัน

- อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันเฉลยข้อสอบ โดยมีการวิเคราะห์คำถามของข้อสอบว่าถามอะไร และแนวคำตอบควรเป็นอย่างไร  จากนั้นวิเคราะห์คำตอบของแต่ละตัวเลือกว่าผิดหรือถูกเทคนิคการตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่คำตอบทิ้ง  และหลักคิดในการตัดสินใจเลือกคำตอบที่ถูกต้อง

- มีเอกสารแบบฝึกหัดให้นักศึกษาเขียนตอบ  ในส่วนของเนื้อหาที่มีการออกข้อสอบบ่อย จากนั้นอาจารย์เฉลยโดยแทรกข้อสอบที่สัมพันธ์กับเนื้อหา

- พูดเรื่องที่สอนย้ำหลาย ๆ ครั้ง ทบทวนใหม่เรื่องที่นักศึกษายังจำไม่ได้ หรือไม่เข้าใจ

- ทำสื่อการสอนที่น่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาสำคัญและข้อสอบ

- ฝึกทำข้อสอบร่วมกันโดยให้มีข้อสอบที่หลากหลายครบตาม blue print และมีจำนวนข้อสอบมากขึ้นในแต่ละครั้งของการสอนเสริม

 

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

- การถามคำถามให้นักศึกษาช่วยกันตอบ

- การให้ทำข้อสอบและเปลี่ยนกันตรวจคำตอบ  และให้ฝ่ายประมวลผลตรวจคำตอบในบางชุดข้อสอบ

- อาจารย์และนักศึกษาเฉลยคำตอบร่วมกันโดยให้นักศึกษาตรวจคำตอบด้วยตนเอง  เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องของตนเองทันที

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

- ทำให้นักศึกษาเกิดความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตนให้สอบผ่านทุกวิชาในการสอบครั้งแรกตั้งแต่ปี 1 และมีการเสริมความมุ่งมั่นเป็นประจำทุกปี

- เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและในห้องเรียนมาบูรณาการ

- การทำข้อสอบและเฉลยคำตอบพร้อมการวิเคราะห์คำถามและตัวเลือกทุกข้อ

- การให้กำลังใจ  ให้แรงจูงใจ  เช่น  การให้รางวัล

- เตรียมเนื้อหาที่เป็นประเด็นสำคัญของรายวิชา

- นักศึกษาอ่านทบทวนก่อนเรียนล่วงหน้า

- ก่อนและหลังสอนเสริมให้นักศึกษาสรุปบทเรียนเป็นชิ้นงาน เช่น แผนผังความคิด

- เชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาจากภายนอกวิทยาลัยมาสอนเสริม

- เนื้อหาของเด็กให้อาจารย์ที่จบปริญาญาโทการพยาบาลเด็กและนิเทศวิชา ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นเป็นผู้สอนเสริม

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- เชิญอาจารย์จากวิทยาลัยอื่นที่มีประสบการณ์และได้ผลสอบตั้งแต่ 80% ขึ้นไป  ให้มาสอนเสริมนักศึกษา

 

6.  ในปีการศึกษา 2555วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

- ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเพิ่มขึ้น และมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ

- ให้นักศึกษาสรุป concept mapping

- มีการสรุปประเด็นเนื้อหาสำคัญในแต่ละเรื่อง

- เฉลยข้อสอบพร้อมแนวทางการวิเคราะห์คำถามและคำตอบ

- จัดทีมผู้สอนหลายคนและเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาช่วยสอน

- การให้กำลังใจ  ให้แรงจูงใจ  เช่น  การให้รางวัล

- ให้นักศึกษาทำข้อสอบและมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

- จัดตารางสอนเสริมตั้งแต่ต้นปีการศึกษา

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- หลังการสอบเครือข่ายเสร็จสิ้น พูดคุยกับนักศึกษาที่สอบไม่ผ่านเพื่อดูว่ามีข้อบกพร่องที่ส่วนใด  และสอบถามอีกครั้งหลังสอบม.บูรพา  เพื่อให้สามารถพัฒนาได้ทันก่อนการสอบสภา

- เชิญทีมผู้สอนจากวพบ.พระพุทธบาท มาเล่าวิธีการต่าง ๆ   ที่ทำให้นักศึกษามีความรู้ที่แม่นยำและกระตือรือร้นในการเรียนรู้

Tags: , , , , ,

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา การพยาบาลมารดาและทารก

ผู้บันทึกข้อมูล อ.ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. อ.ธนพร  ศนีบุตร
  2. อ.ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์
  3. อ. เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์
  4. อ.จันทร์เพ็ญ  อามพัฒน์
  5. อ.วรัญญา  ชลธารกัมปนาท

 

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

- รูปภาพที่ผ่อนคลายอารมณ์  การพูดคุยที่สนุกสนาน  การตั้งคำถาม  ใช้รูปภาพประกอบการสอน

 

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

- รูปภาพหรือ mapping ประกอบการสอน  ใช้ข้อสอบกระตุ้นความคิดและconcept ที่สำคัญ ดึงเนื้อหาไปสู่ประสบการณ์ใกล้ตัว

 

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

- ความสนใจ ความตั้งใจ  สุ่มถาม-ตอบคำถาม

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

- แบ่งกลุ่มนักศึกษาให้ทบทวนเนื้อหาด้วยตนเองโดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาหรือแบ่งติวกลุ่มย่อย  นักศึกษา

- ควรตั้งคำถามและนำคำถามที่ไม่เข้าใจมาถาม

- นักศึกษาควรมีการอ่านรายละเอียดก่อนมาติว

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- ให้นักศึกษาลงทะเบียนและจ่ายค่าติว

- เชิญวิทยาการจากภายนอก

- มีที่ปรึกษาติดตามการอ่านหนังสือและชี้ประเด็นที่ยังอ่านไม่ครอบคลุม

 

6.  ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

- ควรให้มีการทบทวนเกี่ยวกับกายวิภาคและสรีรวิทยาก่อนเข้าสู่รายวิชาต่างๆ

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- ไม่มีข้อเสนอแนะ

Tags: , , , , ,