โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่ ๔

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่ 4  วันที่  27 เมษายน 2555  เวลา 13.30-16.00 น.

 ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง     การดูแลเด็กที่มีภาวะตัวเหลือง

วิทยากร  แพทย์หญิงยิ่งดาว  ชยสิกานนท์  กุมารแพทย์  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

คุณสมควร สุขสัมพันธ์   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  ตึกสูติกรรม 4  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  37  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  ๑4  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   23  คน

 

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของวิทยากร

ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด สาเหตุเกิดจาก Physiological jaundice และPathological jaundice  ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ทารกสมองพิการถาวรได้  หอผู้ป่วยสูติกรรม 4 จะเริ่มตรวจหาค่าบิลิรูบินเมื่อพบทารกตัวเหลือง หรือเมื่ออายุครบ 2 วัน โดยเจาะพร้อมคัดกรองหาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน  ทารกที่มีค่าบิลิรูบินเกินเกณฑ์จะได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟจนระดับบิลิรูบินอยู่ในเกณฑ์ปกติก็จะหยุดส่องไฟแต่ยังไม่จำหน่าย  หลังหยุดส่องไฟ 24 ชั่วโมง  จะหาค่าบิลิรูบิเพื่อตรวจสอบภาวะตัวเหลืองกลับซ้ำ  ทั้งนี้พบปัญหาผู้ปกครองบางรายไม่ยินยอม   ปัญหาเพิ่มค่าใช้จ่ายเพิ่มอัตราครองเตียงเพราะทารกต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น  จึงได้ทำการศึกษาปัจจัยทำนายตัวเหลืองกลับซ้ำในทารกแรกเกิดหลังหยุดส่องไฟ 24 ชั่วโมง โดยทำวิจัยเชิงวิเคราะห์ case control study ศึกษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟในหอผู้ป่วยสูติกรรม 4 ตั้งแต่ ก.ค.52- พค.54 จำนวน 908 ราย  วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Chis-quare  เปรียบเทียบอัตราส่วนความเสี่ยง(Odd ratio) ของปัจจัยทำนายที่ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองซ้ำด้วยการประมาณค่าขอบเขตของความเชื่อมั่นร้อยละ 95  ผลการศึกษาพบว่าทารกเพศชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเหลืองซ้ำมากกว่าเพศหญิง 2:1 เท่า (95% CI 1.03-4.48) ทารกที่มีสาเหตุการเหลืองจาก G-6-PD มีโอกาสตัวเหลืองซ้ำมากกว่าทารกปกติ ทารกที่มีสาเหตุการเหลืองจาก ABO incompatability   ทารกกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเหลืองซ้ำคือทารกที่มีสาเหตุการเหลืองจาก Pathological jaundice ที่ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ส่วนทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม และทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า  2,500 กรัม  ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโอกาสเหลืองซ้ำ  การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ เมื่อพบทารกกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการประเมินอาการซ้ำหลังหยุดส่องไฟ 24 ชั่วโมง และได้รับการเฝ้าระวังอยู่ในโรงพยาบาลต่อ ไม่ควรจำหน่ายทารกเพราะมีโอกาสตัวเหลืองกลับซ้ำสูงมาก นำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาจำหน่ายทารกกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยได้เร็วขึ้น เพื่อช่วยลดจำนวนวันนอน ลดอัตราครองเตียงและลดค่าใช้จ่าย  เมื่อนำผลการวิจัยนี้ลงสู่การปฏิบัติในหน่วยงานเป็นเวลา 9 เดือน  สามารถจำหน่ายทารกกลุ่มเสี่ยงน้อยได้เร็วขึ้น  มารดามีความพึงพอใจกลับบ้านได้เร็วขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลได้

สรุปประเด็นสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- การได้รับน้ำนมไม่เพียงพอช่วงแรกในทารก ทำให้ทารกเหลืองได้ เพราะน้ำนมมารดาไหลช้าหรือไหลไม่เพียงพอในช่วงแรก    จึงควรพิจารณาถึงปัญหาเหล่านี้ด้วยเพราะอาจทำให้มารดายิ่งวิตกกังวลเรื่องบุตรตัวเหลืองทำให้เกิดความเครียดและน้ำนมไม่ไหลหรือไหลช้าได้

- การนำไปใช้ควรเน้นประสิทธิภาพของบุคลากรในการประเมินการไหลของน้ำนมและการได้รับน้ำนมของทารก เพราะภาวะเหลืองส่วนใหญ่เกิดจากจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ

- สำหรับงานวิจัยที่ได้กล่าวถึงข้างต้นนี้ควรมีการวิเคราะห์ทางสถิติเพิ่มเติมเพื่อใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้ครอบคลุมมากขึ้น

 

แนวทางการนำผลการประชุมไปใช้จากการประชุมครั้งนี้

1. ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับการดูแลทารกตัวเหลือง  ควรมีการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ และมีการปรับใช้ให้เหมาะสมเมื่อฝึกปฏิบัติงานจริง

2. ทีมสุขภาพที่ดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองเน้นการป้องกันภาวะตัวเหลืองเป็นหลัก  และมีการรับฟังความรู้สึก/ความคิดเห็นของมารดาหรือผู้ดูแลทารกเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดจนเกินไป

 

                                                                                         อาจารย์จริยาพร    วรรณโชติ

                                                                                         อาจารย์ทิพวรรณ   ลิ้มประไพพงษ์

ผู้บันทึกการประชุม

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.จริยาพร วรรณโชติ (ประวัติการเขียน 9 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


Tags: , , , , ,

Comments are closed.