การดูแลสตรีติดเชื้อเอชไอวี

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

 เรื่อง “การดูแลสตรีติดเชื้อเอชไอวี ”

จัดโดยสมาคมอนามัยเจริญพันธุ์(ไทย) ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 4-5 เมษายน 2555 ณ โรงแรมมณเฑียรพัทยา จ.ชลบุรี

……………………………………………………………

ผู้เขียน  อ.ขนิษฐา  เมฆกมล

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   อ.ธนพร ศนีบุตร  อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์  อ.จันทรมาศ เสาวรส              อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์  อ.จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์  อ.อารีรัตน์ วิเชียรประภา  อ.จรัญญา ดีจะโปะ      อ.วรัญญา ชลธารกัมปนาท  อ.จารุวรรณ ท่าม่วง

สรุปผลรายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          งานอนามัยแม่และเด็กได้ตั้งเป้าหมายของการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกต้องเท่ากับศูนย์ ซึ่งประเทศไทยได้มีแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ HIV จากมารดาสู่ทารก เรียกว่า Preventing Mother-to-child Transmission (PMTCT) of HIV ไว้ดังนี้

          1. ป้องกันการติดเชื้อ HIV ทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยการป้องกันผู้ชายได้รับเชื้อ HIV ป้องกันผู้หญิงจาก HIV และป้องกันวัยรุ่นได้รับเชื้อ HIV

          2.ป้องกันทารกจากการติดเชื้อ HIV

          3.ดูแลคู่สมรสที่ติดเชื้อ HIV ในการป้องกันการตั้งครรภ์

          4.ดูแล รักษาและป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรักษา

          ซึ่งในปัจจุบันได้มีหลักการดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV โดยแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้ [...]

Tags: , , , ,

เพศสัมพันธุ์ในวัยสูงอายุ(Sex in the extreme ages)

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องเพศสัมพันธุ์ในวัยสูงอายุ(Sex in the extreme ages)
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2554-2555 สมาคมอนามัยเจริญพันธุ์ (ไทย)
ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ 4-5 เมษายน 2555 ณ ห้องคัทลียาบอลรูม โรงแรมมณเฑียรพัทยา จังหวัด ชลบุรี
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ชื่อ-สกุลผู้นำการจัดการความรู้ อ. จารุวรรณ์ท่าม่วง  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ

สังกัดภาควิชา การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ.ธนพร ศนีบุตร,อ.ทิพวรรณลิ้มประไพพงษ์,อ.จันทรมาศเสาวรส, อ.เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์,อ.จันทร์เพ็ญอามพัฒน์,อ.ขนิษฐาเมฆกมล,อ.อารีรัตน์วิเชียรประภา,อ.วรัญญาชลธารกัมปนาท,อ.จรัญญา ดีจะโปะ

 

เรื่อง เพศสัมพันธุ์ในวัยสูงอายุ(Sex in the extreme ages)

          ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการแพทย์ในปัจจุบัน ส่งผลให้อายุขัยของทั้งชายและหญิงยืนยาวขึ้น โรคประจำตัวต่างๆ  มักได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ แต่ความสัมพันธ์ทางเพศ เป็นปัญหาขั้นพื้นฐานที่กลับมีผู้ดูแลค่อนข้างน้อย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้
เพศหญิง
ระยะแรกๆจะมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกง่ายและหงุดหงิด มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเส้นผม ร่องรอยความหย่อนคล้อยเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้น ความสูงเริ่มลดลงจากการที่มีมวลกระดูกลดลงและยุบตัวลงบางลงช่องคลอดมีอาการของการมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง เช่น แห้ง สีซีด ขาดความยืดหยุ่น รู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยขึ้น รวมถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น บางรายเริ่มมีอาการของการหย่อนของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งส่งผลต่อทั้งรูปลักษณ์ และหน้าที่การทำงานทั้งระบบปัสสาวะและการมีเพศสัมพันธุ์ต่อไป
เพศชายการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายไม่ได้มีความแตกต่างจากสตรี เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปผิวหนังของอวัยวะสืบพันธุ์เริ่มฝ่อบางลง ความต้องการทางเพศลดลง และการตอบสนองทางเพศโดยเฉพาะการแข็งตัวลดลงด้วย อีกทั้งยังเริ่มมีปัญหาด้านระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะ ภาวะต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยและปัสสาวะลำบาก

 

 

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ การตอบสนองทางเพศจะเปลี่ยนแปลงไป โดยทั่วไปจะเป็นดังนี้ [...]

Tags: , , ,

ผู้บริหารการศึกษาพยาบาลกับการจัดการหลักสูตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

 เรื่อง “ผู้บริหารการศึกษาพยาบาลกับการจัดการหลักสูตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่”

จัดโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การ UNICEF

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ

……………………………………………………………

ผู้เขียน  อ.ขนิษฐา  เมฆกมล

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   อ.ธนพร ศนีบุตร  อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์  อ.จันทรมาศ เสาวรส              อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์  อ.จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์  อ.อารีรัตน์ วิเชียรประภา  อ.จรัญญา ดีจะโปะ      อ.วรัญญา ชลธารกัมปนาท  อ.จารุวรรณ ท่าม่วง

 

สืบเนื่องจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยเป็นปัญหาระดับชาติ เนื่องจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนมีอัตราต่ำ ทำให้ส่งผลถึงปัญหาทางด้านสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ สถาบันการศึกษาควรมีบทบาทในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงได้จัดโครงการ “Breastfeeding Curriculum Development for Undergraduate Nursing Students Project”   โดยการทำหลักสูตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตขึ้น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และนำไปใช้ในการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตโดยมีแนวคิดว่าการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรให้ความสำคัญโดยเริ่มจากการเรียนการสอน โดยมีการร่างหลักสูตรและเชิญผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่วิพากษ์หลักสูตร นำหลักสูตรไปทดลองใช้กับสถาบันการศึกษา   8 สถาบัน และในระยะที่ 2 ได้นำหลักสูตรไปทดลองใช้กับสถาบันการศึกษาอีก 35 สถาบัน
[...]

Tags: , , , , ,

เบาหวานกับงานวิจัย

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  และกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่  6 วันที่  20 มิถุนายน  2555  เวลา 13:30-16:00 น.

ณ ห้องเรียน 6  อาคารวิทยบริการ  โรงพยาบาลพระปกเกล้า 

 

เรื่อง    เบาหวานกับงานวิจัย 

วิทยากร พญ.วราภรณ์  พลเมือง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สาขาแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อและเมทาบอลิซึม

               นางวันดี บุญเกิด            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ผู้เข้าร่วมประชุม  จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  23  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  22 คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   45 คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของพญ.วราภรณ์  พลเมือง

การวินิจฉัยโรคเบาหวานโดยทั่วไปในทางปฏิบัติ  ปัจจุบันในประเทศไทยพิจารณาจาก 1) ผลตรวจน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำ-งดอาหาร อย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งมีค่ามากกว่า 126 mg%  หรือ น้ำตาลในเลือดโดยที่ไม่ได้งดน้ำ-งดอาหาร มากกว่า 200 mg%  และ 2) อาการและอาการแสดงของเบาหวานเมื่อตรวจพบว่ามีผลการตรวจน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

สำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวานของสหรัฐอเมริกา ใช้ผลตรวจ HbA1c ซึ่งเป็นการตรวจน้ำตาลที่อยู่บนเม็ดเลือดแดง โดยใช้เกณฑ์ 6.5% แต่เกณฑ์นี้ยังไม่ได้กำหนดให้ใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานในประเทศไทย อย่างชัดเจน เพราะคาดว่ายังมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของการตรวจ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความแตกต่างทางเชื้อชาติ โรคเลือด และภาวะเสียเลือด

การเปรียบเทียบ HbA1c กับระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อการวินิจฉัยโรคเบาหวาน เปรียบเทียบกันได้ดังนี้  HbA1c 6% เทียบได้เท่ากับน้ำตาล 126 mg%

อุบัติการณ์ของโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนทั่วไป [...]

Tags: , , , , , ,

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่ ๕

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  และกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่  ๕ วันที่  ๑๖ พฤษภาคม  ๒๕๕๕  เวลา ๑๓:๓๐-๑๖:๐๐ น.

ณ ห้องประชุม ๑  อาคารอำนวยการชั้น ๑  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง    การเตรียมตัวของพยาบาลสู่ FTA : ภาษาอังกฤษกับพยาบาลไทย

วิทยากร    ดร.พรฤดี  นิธิรัตน์  รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

ผู้เข้าร่วมประชุม  จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  ๑๙  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  ๑๘  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   ๓๗  คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของวิทยากร

การเตรียมตัวของพยาบาลสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีดังนี้

-          หาข้อมูลและติดตามความเคลื่อนไหว

-          พัฒนาศักยภาพของตนเองด้านวิชาการ

-          พัฒนาศักยภาพของตนเองด้านวัฒนธรรม

-          พัฒนาศักยภาพของตนเองด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษมีความสำคัญในยุคโลกไร้พรมแดน  ดังนั้นควรมีการพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ  โดยมีแนวทางการพัฒนาดังนี้

-          พูดภาษาอังกฤษทุกวัน

-          ดูภาพยนตร์ sound  track

-          หาเพื่อนต่างชาติเพื่อฝึกการใช้ภาษาอังกฤษ

-          อ่านภาษาอังกฤษ  โดยเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ เช่น  นิทานสำหรับเด็ก

-          เรียนรู้ศัพท์ใหม่ / ประโยคใหม่  วันละ ๑ คำ

-          เขียนภาษาอังกฤษในงานให้ถูกต้อง

-          สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น  English club, English time เป็นต้น

-          กำหนดให้เป็นนโยบายของโรงพยาบาล

-          ค้นหาศัพท์เปิด dictionary

-          เรียนเพิ่มเติม

-          หาโอกาสใช้ภาษาอังกฤษเสมอ เช่น  พูดกับชาวต่างชาติ  ไปนำเสนอเวทีนานาชาติ วิธีการพูดภาษาอังกฤษให้เหมือนชาวต่างชาติ มีดังนี้

-          ลืมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ

-          อย่ากลัวพูดผิด

-          อย่าแปลเป็นไทยก่อนพูด

-          ใช้ภาษาง่าย ๆ พูดง่าย ๆ

-          บอกให้ชาวต่างชาติพูดช้า ๆ  โดยใช้คำว่า Excuse me, slowly down, please.

[...]

Tags: , , , , , , ,