เพศสัมพันธุ์ในวัยสูงอายุ(Sex in the extreme ages)

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องเพศสัมพันธุ์ในวัยสูงอายุ(Sex in the extreme ages)
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2554-2555 สมาคมอนามัยเจริญพันธุ์ (ไทย)
ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ 4-5 เมษายน 2555 ณ ห้องคัทลียาบอลรูม โรงแรมมณเฑียรพัทยา จังหวัด ชลบุรี
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ชื่อ-สกุลผู้นำการจัดการความรู้ อ. จารุวรรณ์ท่าม่วง  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ

สังกัดภาควิชา การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ.ธนพร ศนีบุตร,อ.ทิพวรรณลิ้มประไพพงษ์,อ.จันทรมาศเสาวรส, อ.เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์,อ.จันทร์เพ็ญอามพัฒน์,อ.ขนิษฐาเมฆกมล,อ.อารีรัตน์วิเชียรประภา,อ.วรัญญาชลธารกัมปนาท,อ.จรัญญา ดีจะโปะ

 

เรื่อง เพศสัมพันธุ์ในวัยสูงอายุ(Sex in the extreme ages)

          ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการแพทย์ในปัจจุบัน ส่งผลให้อายุขัยของทั้งชายและหญิงยืนยาวขึ้น โรคประจำตัวต่างๆ  มักได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ แต่ความสัมพันธ์ทางเพศ เป็นปัญหาขั้นพื้นฐานที่กลับมีผู้ดูแลค่อนข้างน้อย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้
เพศหญิง
ระยะแรกๆจะมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกง่ายและหงุดหงิด มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเส้นผม ร่องรอยความหย่อนคล้อยเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้น ความสูงเริ่มลดลงจากการที่มีมวลกระดูกลดลงและยุบตัวลงบางลงช่องคลอดมีอาการของการมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง เช่น แห้ง สีซีด ขาดความยืดหยุ่น รู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยขึ้น รวมถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น บางรายเริ่มมีอาการของการหย่อนของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งส่งผลต่อทั้งรูปลักษณ์ และหน้าที่การทำงานทั้งระบบปัสสาวะและการมีเพศสัมพันธุ์ต่อไป
เพศชายการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายไม่ได้มีความแตกต่างจากสตรี เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปผิวหนังของอวัยวะสืบพันธุ์เริ่มฝ่อบางลง ความต้องการทางเพศลดลง และการตอบสนองทางเพศโดยเฉพาะการแข็งตัวลดลงด้วย อีกทั้งยังเริ่มมีปัญหาด้านระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะ ภาวะต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยและปัสสาวะลำบาก

 

 

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ การตอบสนองทางเพศจะเปลี่ยนแปลงไป โดยทั่วไปจะเป็นดังนี้

- การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เสื่อมลง ทำให้รูปลักษณ์ดูไม่สง่างามเหมือนเก่า เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตคู่ อีกทั้งการมีโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆล้วนแล้วแต่มีโอกาสก่อให้เกิดภาวะความต้องการทางเพศลดน้อยลงไปได้อย่างมากดังนั้นการปรึกษาพูดคุย ตลอดจนการปรึกษาจิตแพทย์ อาจจะช่วยให้คู่สมรสกลับมาใช้ชีวิตทางเพศสัมพันธุ์ได้ดีขึ้น  เอกสารทางการแพทย์ส่วนหนึ่งแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยเพิ่มความรู้สึกต้องการทางเพศบ้าง เช่น การดูสื่อชนิด Erotic  การใช้เครื่องดูดสุญญากาศกระตุ้นคลิตอริส เป็นต้น  การใช้ฮอร์โมนเพศชายในสตรีที่ถูกตัดมดลูกและรังไข่ก็อาจจะช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศขึ้นมาได้บ้าง

-  ปัญหาที่เกิดจากการที่องคชาติไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นาน หรือแข็งตัวแต่ไม่แข็งพอที่จะสอดใส่ในช่องคลอดได้  ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากโรคทางกายร่วมกับสาเหตุทางจิตใจ  การรักษาด้วยวิธีใดๆก็ตาม ควรจะมองหาสาเหตุร่วมต่างๆให้ดี โรคประจำตัว ฮอร์โมนเพศชายต่ำลง ผลแทรกซ้อนจากยาต่างๆ พิษสุราเรื้อรัง และการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน เป็นต้นปัจจุบันมียาหลายชนิดที่สามารถช่วยแก้ปัญหา erectile dysfunction ได้ โดยเฉพาะยาในกลุ่ม PDE5 inhibitors

-   ความเจ็บปวดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และอุ้งเชิงกราน ซึ่งในสตรีสูงอายุมักจะมีปัญหาเรื่องช่องคลอดแห้ง   ส่วนมากเกิดจากการขาดสารหล่อลื่นในช่องคลอด ดังนั้น หากการกระตุ้นทางเพศมีมากเพียงพอแล้ว แนะนำให้ใช้สารหล่อลื่นต่างๆ แต่ในระยะยาวนั้น การใช้ฮอร์โมนเพศทาบริเวณช่องคลอดจะเกิดประโยชน์มากกว่าสารหล่อลื่นธรรมดา

-  การไม่สามารถบรรลุจุดสุดยอดทางเพศได้ หรือมีการหลั่งเร็ว  การแก้ไขปัญหาส่วนมากมุ่งเน้นไปในทางเพิ่มการกระตุ้นทางเพศให้มากขึ้น และการรักษาที่พบว่าได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือ masturbation

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปได้ว่า การมีเพศสัมพันธุ์ในวัยสูงอายุเป็นเรื่องธรรมชาติ ดังนั้น บุคลากรทางสายสุขภาพ จึงควรมีความรู้ถึงสรีรวิทยาและการเปลี่ยนแปลงทางเพศของคนในแต่ละวัย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้ซักถามข้อสงสัยหรือการซักถามเรื่องเพศจากผู้สูงอายุโดยตรง  รวมทั้งการสอนให้นักศึกษาพยาบาลได้เข้าใจเรื่องดังกล่าวเพื่อที่จะได้ให้คำแนะนำกับผู้สูงอายุต่อไป ซึ่งอาจจะช่วยทำให้ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งที่มีปัญหาได้รับการแก้ไขเบื้องต้น วินิจฉัย หรือรักษาตามความเหมาะสมต่อไป

 

 

ผู้บันทึก  อาจารย์จารุวรรณ์  ท่าม่วง

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.จารุวรรณ์ ท่าม่วง (ประวัติการเขียน 12 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


Tags: , , ,

2 Responses to “เพศสัมพันธุ์ในวัยสูงอายุ(Sex in the extreme ages)”

  1. รัชชนก พูดว่า:

    เคยเจอกรณีผู้ป่วยหญิงสูงอายุ ที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์เพราะรู้สึกเจ็บปวดแต่ไม่กล้าบอกสามี แต่เมื่อกล้าเปิดใจพูดกับสามีก็พบว่า สามีก็มีปัญหาสุขภาพไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์แต่เกรงใจภรรยาจึงไม่กล้าพูดเช่นกัน ในที่สุดก็จบลงด้วยดี อยู่กันแบบเป็นเพื่อนคู่คิด โดยไม่มีเพศสัมพันธ์เพราะเป็นความต้องการของทั้งคู่ จากกรณ๊นี้จะเห็นได้ว่า การกล้าพูดคุยเปิดใจกัน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยคลี่คลายปัญหาได้

  2. ชาญชัย ยีแล่หมัน พูดว่า:

    อยากเข้าร่วมประชุมกับเค้าบ้างจัง