การพยาบาลแบบประคับประคอง Heart to Heart: Quality of Palliative care Nursing
สรุปสาระจากการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออก
เรื่องจากใจถึงใจ : คุณภาพการพยาบาลแบบประคับประคอง Heart to Heart: Quality of Palliative care Nursing
วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2012
ปาฐกถาพิเศษเรื่องจากใจถึงใจ:มิติแห่งคุณภาพการพยาบาล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา ยูนิพันธ์
อุดมการณ์ในการทำงานของพยาบาลในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันความท้าทายในระบบสุขภาพ
Palliative care คือ อะไร ทำอย่างไรถึงจะเกิด
Palliative care คือ การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลแบบองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณของผู้ป่วย ควบคู่ไปกับอาการทางกาย สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคที่คุมคามต่อชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตในระยะเวลาที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่มีอาการทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนทางกายและจิตใจ รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวได้เมื่อผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต
พยาบาลกับการดูแลแนวคิด Palliative care แบบองค์รวม
1) พยาบาลในบทบาทผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจต่อการดูแลแบบ Palliative care และ Focus ที่ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล และ Personalized Nursing มุ่งเน้นความแตกต่างของผู้ป่วยในมิติองค์รวม
2) สังคมปัจจุบันมีความท้าทายสูงในฐานะ ผู้ปฏิบัติงานเพราะจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้ผู้รับบริการและญาติมีความรู้และช่องทางการสืบค้นความรู้ได้มากขึ้น(บางครั้งอาจจะมากกว่าผู้ดูแล )
3) การปรับตัวขององค์กรด้านการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน ซึ่งมีผลกระทบกับการทำงานที่ต้องมีการเฝ้าระวัง เรื่องความปลอดภัย และการบริหารจัดการความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้นและทุกกระบวนการ
4) พยาบาลผู้ดูแล ควรเป็นผู้ออกแบบระบบโดย ประเมินและวางแผนการดูแลผู้ป่วยเปรียบเสมือนการออกแบบกระบวนการ( Design care process )ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายควรจัดรูปแบบให้เหมาะกับสภาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรม
5) ผู้ปฏิบัติการพยาบาลและผู้บริหารต้องยึดมั่นใน Standard of care การปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแล เพื่อให้เกิด Quality of Care นำสู่ Quality of Life นำสู่ Quality of Dead เช่น สมรรถนะที่ 7 Ethical reasoning and ethical decision making : สภาการพยาบาล (2551) ได้กำหนด มีความสามารถในการให้เหตุผลทางจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ร่วมกับทีมสหวิชาชีพและผู้ดูแลหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมในการดูแลทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้านสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว เช่น ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พูดไม่ได้ การบอกข้อมูลการวินิจฉัยโรค ความก้าวหน้าของโรคที่เป็น การถอดท่อช่วยหายใจ การนำผู้ป่วยกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน เป็นต้น
สรุป : เป้าหมายสำคัญของการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย อยู่ที่การช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่ อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความหวังบนพื้นฐานที่เป็นจริงได้ มีความทุกข์ทรมานจากโรคน้อยที่สุด โดยตอบสนองความต้องการแบบองค์รวมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องจนกระทั่งเสียชีวิตอย่างสงบและสมศักดิ์ศรี ซึ่งพยาบาลเองต้องเตรียมความพร้อมในฐานะผู้ให้การดูแลทั้งค้านร่างกาย จิตใจและตรงตามมาตรฐานการดูแล
นิศารัตน์ รวมวงษ์
จันจิรา หินขาว
อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารและพื้นฐานการพยาบาล
ได้อ่านวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่อง palliative and end of life care เรื่องหนึ่งค่ะ เค้าได้ให้แนวคิดไว้ว่า การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นการดูแลที่โรงพยาบาล(Milligan S., 2012) แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ควรจะให้ผู้ป่วยได้เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก โดยพยาบาลเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ และคอย stanby เตรียมรออยู่ที่โรงพยาบาล หากผู้ป่วยหรือผู้ดุแลต้องการความช่วยเหลือ ทางโรงพยาบาลก็จะมีศูนย์คอยให้บริการกับผู้ป่วยที่อยู่ในช่วยท้ายของชีวิต ซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ประเทศไทยมีแต่ศูนย์รับผู้ป่วยอุบัติเหตุ ศูนย์รับเด็กอ่อน ถ้ามีศูนย์ดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิตเพิ่มอีกศูนย์หนึ่งก็น่าจะดีค่ะ จะได้ตรงกับคำพูดที่ว่า “เลือกที่เกิดไม่ได้ แต่เลือกที่ตายได้” ค่ะ