รายงานการประชุมของ CoP การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและเรื้อรังภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
รายงานการประชุมของ CoP การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและเรื้อรัง ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ครั้งที่ 2 วันที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ. 2557 ณ ห้องรับรอง เวลา 13.00 -14.00 น.
- เรื่อง Palliative care (2)
- วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแลแบบประคับประคองอย่างมีคุณภาพและเพิ่มการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 19 คน ได้แก่
- อ.ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล ประธานกลุ่ม
- อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร ผู้จัดการ
- อ.สาคร พร้อมเพราะ สมาชิก
- อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร สมาชิก
- อ.สุชาดา นิ้มวัฒนากุล สมาชิก
- อ.นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล สมาชิก
- อ.สุปราณี ฉายวิจิตร สมาชิก
- ดร.ทองสวย สีทานนท์ สมาชิก
- อ.ยศพล เหลืองโสมนภา สมาชิก
- อ.วารุณี สุวรวัฒนกุล สมาชิก
- อ.ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์ สมาชิก
- อ.รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ สมาชิก
- อ.รุ่งนภา เขียวชอ่ำ สมาชิก
- อ.จริยาพร วรรณโชติ สมาชิก
- อ.นุชนาถ ประกาศ สมาชิก
- อ.อรพรรณ บุญลือ สมาชิก
- อ.ปรีดาวรรณ บุญมาก สมาชิก
- อ.สุภา คำมะฤทธิ์ สมาชิก
- อ.ปัทมา บุญช่วยเหลือ เลขานุการ
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็นสำคัญ |
สาระสำคัญ/ประเด็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เรื่องเล่าความสำเร็จ) |
อ้างอิง (ชื่อ-สกุล) |
1. ประเด็นที่น่าสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | “Palliative care” เป็นการพยาบาลผู้ป่วยที่มีโรคคุกคามชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้เข้าประชุมแบ่งปันความรู้ร่วมกันและสรุปองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้สอนนักศึกษาในภาคปฏิบัติโดยประเมินและให้การดูแล 3 เรื่อง คือ1) การจัดการความเจ็บปวด (pain control)2) การจัดการอาการไม่สุขสบายทั่วๆไป (other symptoms control)3) การดูแลกิจวัตรประจำวัน (daily activities) | สมาชิกกลุ่ม |
2.แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการสอน | แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการสอนวิชาภาคปฏิบัติของรายวิชา คือ วิชา พย.1316 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 และ พย. 1214 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของการจัดการความปวด การจัดการอาการไม่สุขสบายทั่วๆไป และ การดูแลกิจวัตรประจำวัน โดยการนำความรู้ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละวัยและแต่ละราย |
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ (สรุปประเด็นความรู้ พร้อมคำอธิบาย โดยสังเขป)
ผู้เข้าประชุมแบ่งปันความรู้ร่วมกันและสรุปองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้สอนนักศึกษาในภาคปฏิบัติโดยประเมินและให้การดูแล 3 เรื่อง คือ
1) การจัดการความเจ็บปวด (pain control) การประเมินอาการปวด การสังเกตสีหน้า ใช้เครื่องมือวัด pain ( เช่น face pain scale, pain scale) สังเกตการร้องไห้ การดูแล แก้ปัญหาตามสาเหตุที่เกิด เช่น ปวดแผลที่ปาก ให้ใช้ยาชาชนิดหยอดปากทาให้เป็นระยะ หรือปวดท้อง ให้จัดท่าในการนอนให้หน้าท้องหย่อน ก้อนไม่กดทับอวัยวะ ให้สังเกตว่าพลิกซ้ายหรือขวาที่นอนแล้วผู้ป่วยสุขสบายมากขึ้น ใช้กิจกรรมนันทนาการในผู้ป่วยเด็กเพื่อเป็นตัวช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ ถ้า pain มาก รายงานแพทย์เพื่อให้การดูแลตามแผนการรักษา ได้แก่ ให้ยาแก้ปวดต่างๆ (paracetamol)
2) การจัดการอาการไม่สุขสบายทั่วๆไป (other symptoms control) ได้แก่ การจัดท่านอน การพลิกตัว การใส่เสื้อผ้าที่สบายตัวผู้ป่วย การปูเตียง ความสะอาดบนเตียงและรอบๆ เตียง อุปกรณ์ที่ใช้ต้องไม่น่ากลัวหรืออยู่ใกล้ให้ผู้ป่วยมองเห็นได้แล้วเกิดความกลัว(หาผ้าปกปิด) การขับถ่าย การรับประทานอาหาร ถ้ากินอาหารธรรมดาไม่ได้ให้เป็นอาหารอ่อนหรือนม และดูแลให้ได้รับสารน้ำทางปากที่เพียงพอ
3) การดูแลกิจวัตรประจำวัน (Daily activities) เช่น การอาบน้ำ ความสะอาดของปากและฟัน การนอนหลับพักผ่อน การขับถ่าย การรับประทานอาหาร
แนวทางการนำความรู้ไปใช้ (ระบุรายละเอียด)
1. นำความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเจ็บปวด (Pain control) ไปใช้ในการเรียนการสอนโดยเน้นการสอนให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของความเจ็บปวดในผู้ป่วยทุกราย ทั้งผู้ป่วยวิกฤตและผู้ป่วยเรื้อรัง
2. นำความรู้เกี่ยวกับการจัดการอาการไม่สุขสบายทั่วๆไปและการดูแลกิจวัตรประจำวัน ไปใช้ในการเรียนการสอนโดยเน้นการสอนให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการจัดการอาการไม่สุขสบายทั่วๆไป เช่น การจัดท่านอน การพลิกตัว การใส่เสื้อผ้าที่สบายตัวผู้ป่วย การปูเตียง การขับถ่าย การรับประทานอาหาร
จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 เวลา 14.00 น.
ลงชื่อ ปัทมา บุญช่วยเหลือ ผู้จดบันทึก
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติ