ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช
ภาวะผู้ป่วยเรื้อรัง หมายถึง ภาวะใด ๆ ที่ต้องอาศัยกิจกรรม และการตอบสนองต่อเนื่องจากผู้ป่วย ผู้ดูแล และระบบบริการการแพทย์ ภาวะนี้ครอบคลุมมิติทางกายใจและพฤติกรรม
โรคเรื้อรังทางจิตเวช ในปัจจุบันที่เป็นปัญหา ทั้งตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว โดยเฉพาะคนที่ดูแล และส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว ได้แก่ โรคสมองเสื่อม ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในขณะนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า โครงสร้างประชากรของประเทศไทย ได้เข้าสู่โครงสร้างประชากรสูงอายุแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เกินร้อยละ 10 จากประชากรรวมทั้งสิ้น 66.5 ล้านคน หรือคิดเป็นผู้สูงอายุถึงกว่า 7 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขแล้วก็น่าเป็นห่วง เพราะนอกจากสุขภาพใจที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากลูกหลานห่างเหินแล้ว หากสุขภาพกายมีโรครุมเร้าเข้าไปอีก จะทำให้การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุมีความลำบากมากขึ้น
โรคสมองเสื่อม พบได้ในอายุ 60-64 ปี ประมาณ 1-2% อายุ 70-74 ปี ประมาณ 12% อายุ 80-84 ปี ประมาณ 31% ประเภทของโรคสมองเสื่อมที่พบมากได้แก่ Alzheimer และ Stroke
Behavioral and nsychological symptom จะมาด้วยการมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (ไม่จำเป็นต้องมีอาการทางจิต) ความจำเสื่อม พฤติกรรมเสื่อม สูญเสียความคิด มีความผิดปกติของการพูด ไม่สนใจตัวเอง หลงผิด ประสาทหลอน ก้าวร้าว ซึมเศร้า พยายามฆ่าตัวตาย เชาวน์ปัญญาจะค่อย ๆ เสื่อม
Diagnosis ดูอาการ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจสภาพจิต Lab Neuropsychological test depression screen ทำ MRI หรือ Lab พิเศษบางอย่างถ้าจำเป็น
Management
1. ยา (Cholinesterase inhibitors) มียาที่รักษาโรคสมองเสื่อมที่ผลิตใหม่ ได้แก่ Memantine
2. จิตบำบัด
3. ป้องกันสมองเสื่อมมากขึ้นโดยควบคุมไขมัน ควบคุมความดันโลหิต รักษา Moderat Alzheimer
4. ให้ Anti A-beta immunotherapy ซึ่งคาดว่าภายในเวลา 5 ปี จะมี vaccine ตัวนี้ใช้ได้สำเร็จ
5. ให้ Antibiotics ซึ่งอาจช่วยเรื่องความจำในรายติดเชื้อ
6. general management ได้แก่ ดูแลความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหว จัดสิ่งแวดล้อม หางานให้ทำ ให้คำชมเชย กิจกรรมเหล่านี้อยู่ในความดูแลของ caregiver
โรคสมองเสื่อมส่วนมากผู้ป่วยจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 8 ปี เป้าหมายการรักษา คือ ลดอาการที่เป็น ป้องกันสมองเสื่อมมากขึ้น ทั้งนี้ การดูแลให้ผู้ป่วยสงบ และ caregiver รู้สึกไม่เครียด ป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้ดูแล เป็นสิ่งสำคัญที่ยังต้องปฏิบัติต่อไป
นางวราภรณ์ จรเจริญ ผู้เขียนบทความ
เป็นบทความที่ดีมากๆ อ่านแล้วได้ความรู้ดีๆอีกเยอะแยะเลย