สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์

ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

เรื่อง ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

จัดโดย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

วันที่ 8-10 สิงหาคม 2555 ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลสระบุรี

ผู้เขียน อ.วราภรณ์ จรเจริญ

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ.เชษฐา แก้วพรม, อ.โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ, อ.อรัญญา บุญธรรม, อ.มงคล ส่องสว่างธรรม, อ.ลลนา ประทุม

 

ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

          จากการเปิดเผยโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ว่า โครงสร้างของประชากรของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้เข้าสู่โครงสร้างประชากรสูงอายุแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เกินร้อยละ 10 จากประชากรรวมทั้งสิ้น 66.5 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขแล้วก็น่าเป็นห่วง เพราะโรคเรื้อรังทางจิตเวชที่พบได้มากในปัจจุบันคือ โรคสมองเสื่อม ซึ่งพบมากในคนอายุ 60-64 ปี 1-2 % อายุ 70-74 ปี 12% 80-84 ปี 31% จากตัวเลขเหล่านี้ทำให้คาดการณ์ได้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวชจะพบ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะ Alzheimer และ Stroke เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่สามารถช่วยตัวเองได้มากนัก รวมทั้งการมีอาการทางจิตร่วมด้วยจะเป็นปัญหาแก่ตัวผู้ป่วย ครอบครัว โดยเฉพาะ Caregiver ซึ่งต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ที่จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 8 ปี สิ่งสำคัญ คือ ทำอย่างไรให้ผู้สงบ และผู้ดูแลไม่เครียดจำถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้า

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปได้ว่า การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาตั้งแต่ตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว สังคม ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น การดูแลสุขภาพกายและจิตผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความก้าวหน้าในการรักษาโรคนี้ยังไม่ค่อยได้ผล และการดูแลสุขภาพจิตของ Caregiver จะป้องกันการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้ เพราะในอนาคตในประเทศไทยโรคซึมเศร้าจะมาเป็นอันดับสอง รองจากหัวใจและหลอดเลือด

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.วราภรณ์ จรเจริญ (ประวัติการเขียน 7 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์


Tags: , , , ,

One Response to “สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช”

  1. ประทับใจในบทความของคุณมากๆ ขอบใจมากๆ ได้ประโยชน์ที่สุด