AAR – 2 การเรียนรู้ของนักศึกษาหลังจิตอาสาท่าช้างปี 2554 ตาม TQF

หลังจากทำ AAR  ต่อครั้งที่  2 เสร็จสิ้น  ผู้จัดทำโครงการยังได้พบว่านักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจิตอาสาได้แสดงความคิดเห็นที่มีคุณค่าหลังจากทำเสร็จสิ้น หลังเข้าร่วมโครงการว่านักศึกษาได้พัฒนาผลการเรียนรู้ของตนเองบางด้านตามมาตรฐาน มคอ. 6 ด้าน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาควิชาอื่น ๆ ที่อาจทำโครงการบูรณาการต่อไปในปีการศึกษา  2555 กับรายวิชาทางการพยาบาลได้ดังนี้

ด้านที่  1  ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม

            ข้อ 2  เสียสละ ซื่อสัตย์  มีวินัย

- การสังเกตการผิดปกติ ถ้านักศึกษาเป็นคนพบ ต้องรีบรายงานให้พี่พยาบาลทราบด่วน(ซื่อสัตย์ มีวินัย)

- ออกไปบริการคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกในวันหยุด ขณะฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาล(เสียสละ)

- ถึงแม้ไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง แต่พวกเราก็ภูมิใจ มันมีค่ามากกว่าเบี้ยเลี้ยง(เสียสละ)

ด้านที่  2  ผลการเรียนรู้ด้านความรู้พยาบาลปัญหาสุขภาพ 2 พย. 1315

            ข้อ 1 อธิบายสาระสำคัญของศาสตร์เป็นพื้นฐานชีวิตครอบคลุมทั้งวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์  กฎหมายและการปกครองระบบประชาธิปไตย  ศาสตร์พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพศาสตร์ทางวิชาชีพการพยาบาลการผดุงครรภ์ขั้นหนึ่งและสามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการพยาบาล

- ได้รู้เกี่ยวกับการสังเกตผิดปกติพบ เช่น พบก้อนที่สงสัยต้องบันทึก

- ได้รู้เกี่ยวกับความผิดปกติซึ่งสามารถตรวจพบที่เต้านม เช่น พบก้อน, กดเจ็บ

- ขั้นตอนการตรวจเต้านม

- ลักษณะเต้านมผิดปกติ

- หากพบความผิดปกติต้องแจ้งผู้รับบริการพร้อมทั้งให้คำแนะนำ

- การเขียนบันทึกอาการผิดปกติ

- การสังเกตความผิดปกติ

ด้านที่  3  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

            ข้อ  5 แสวงหาเทคนิควิธีและวิเคราะห์จับประเด็นสำคัญที่จะช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาวิธีการเรียนรู้ของตนเองเพื่อที่จะสามารถตรวจเต้านมในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

- การตรวจควรใช้ความละเอียดอ่อนและความใจเย็น เพื่อผลของการตรวจที่แน่นอน

- ต้องใช้เวลา หากรีบร้อนอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจ เพราะก้อนมันอยู่ข้างในต้องใช้จินตนาการ

- ต้องฝึกการจับอุปกรณ์ตรวจภายในให้ถูกต้อง

- ต้องการใช้เวลาในการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับตนเอง

ด้านที่  4  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

            ข้อ  1  มีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ระหว่างบุคคลและกลุ่มคน ปรับตัวได้ตามสถานการณ์

- ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ที่มีการดูแลตนเองเห็นอย่างไรในการตรวจเต้านมตนเอง

- เราต้องเน้นให้ pt เป็นคนตรวจและประเมินตนเองเพื่อให้เค้าสามารถทำได้ด้วยตนเอง

- สัมพันธภาพรอยยิ้ม  คำพูดในการลงมือปฏิบัติงานชุมชน

- ต้องใช้ความนุ่มนวลให้ผู้รับบริการจะรู้สึกประทับใจ

- หากพบความผิดปกติต้องแจ้งผู้รับบริการรู้สึกประทับใจ

- เทคนิคการตรวจหามดลูกเพราะมดลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน

            ข้อ  2  สามารถทำงานเป็นทีมในบทบาทผู้นำและผู้ตามในการทำงานกลุ่มในชั้นเรียน และในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับและในสถานการณ์ที่หลากหลาย

- ได้เรียนรู้ความแตกต่างของ อสม. หรือประชาชนในวิธีการสอนตรวจเต้านมจะเน้นจุดสำคัญตามบทบาทที่แตกต่างกัน

- ได้ประสบการณ์ในการคำแนะนำกับผู้รับบริการที่หลากหลายทั้งกลุ่ม อสม.และหญิงแม่บ้าน

 - ได้เรียนรู้การให้ข้อมูลกับชาวบ้านจะต้องให้ชาวบ้านสาธิตกลับให้เจ้าหน้าที่ อสม. ดู

- เรียนรู้จากการทำงานของที่พยาบาลและการให้คำแนะนำของพี่พยาบาล

            ข้อ  4  มีความเคารพและยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลและวัฒนธรรม

- ความรู้และทัศนคติของชาวบ้านในชุมชนมีความแตกต่างกัน

- ได้รับประสบการณ์ถ่ายทอดความรู้สึกจากหญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมที่ถูกตัดออกไป รวมถึงมุมมองของเธอ

- ความรู้ที่แตกต่างกันของประชาชน

- การเลือกขนาดของอุปกรณ์ในการตรวจภายในให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละคน

- อุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปต้องสัมพันธ์กับขนาดของปากมดลูก

- ได้พบว่าปากมดลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีปัญหาไม่เหมือนกัน

- การทำจริงกับหุ่นไม่เหมือนกันแตกต่างกันไปของสรีระสตรี

- ตำแหน่งของปากมดลูกจะแตกต่างกันตามวัยและน้ำหนัก

- ในชุมชนที่ไปแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของคนในชุมชนที่ใส่ใจสุขภาพ

ข้อ 6  มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาตนเองวิชาชีพและสังคมอย่างต่อเนื่องโดยการเน้นให้กลุ่มสตรีตรวจเต้านมของตนอย่างต่อเนื่องและลงบันทึกไว้ทุกเดือน

- การสอนให้ประชาชากรตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นการคัดกรองที่ดีที่ช่วยป้องกันมะเร็งในขั้นตอนแรก ๆ

- การตรวจมะเร็งเต้านมที่ได้ผลดีที่สุดคือการสอนผู้รับบริการให้ตรวจด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

 - การทำให้ผู้รับบริการมีความมั่นใจมาตรวจมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น

ด้านที่  5  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ

            ข้อ  2  สามารถแปลงข้อมูลเป็นข่าวสารที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับการสื่อสารกับบุคลและกลุ่มคนในสถานการณ์ที่หลากหลาย และนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม โดยปรับคำพูดการสอนแนะนำให้เข้าใจง่ายเหมาะสมทั้งการสอน อสม. และ สอน อสม.ให้แนะนำสตรีในหมู่บ้านได้  12 หมู่บ้าน

            ข้อ 3  สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในสถานการณ์เฉพาะหน้า

-  การให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้รับบริการได้ดูแลตนเองและตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเองได้

-  การแนะนำและให้ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้

- ได้เรียนรู้การให้คำแนะนำในการตรวจเต้านมด้วยตนเองจากอาจารย์ที่ไปด้วย

- การให้ความรู้ที่ครอบคลุมง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน

- ได้ฝึกทักษะการให้ความรู้คำแนะนำกับสตรีในชุมชน

- การมีสื่อรูปเต้านมช่วยสอนเข้าใจกว่าการบอกปากเปล่าและการให้ปฏิบัติเองทำได้ดี

- ความรู้เกี่ยวกับการให้คำแนะนำ

- ควรใช้คำพูด/อธิบายที่ทำให้ประชาชนเข้าใจและนำไปใช้ได้จริง

- ได้ฝึกการให้คำแนะนำ, ทำให้เกิดความเข้าใจ

- ฝึกการให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการตรวจที่ถูกต้องและระยะเวลาที่เหมาะสมที่สมควรตรวจ

- เรียนรู้วิธีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจเต้านมที่ถูกต้องและระยะเวลาที่เหมาะสม

- สามารถแนะนำผู้อื่นได้

- ให้คำแนะนำผู้รับบริการที่ถูกต้องครอบคลุม

- การสอนให้ผู้มาตรวจเต้านมด้วยตนเอง

- การให้คำแนะนำการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

- ได้ฝึกการให้คำแนะนำให้แก่ประชาชนในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

- คำแนะนำหลังทำ

- ได้ปฏิบัติความรู้ในการให้คำแนะนำและการให้คำปรึกษากับบุคคลที่ผิดปกติ

- การให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มาตรวจคัดกรองเกี่ยวกับประโยชน์ของการมาตรวจและแนะนำให้มาตรวจอย่างสม่ำเสมอ

- การให้คำแนะนำประโยชน์ของการมาตรวจมะเร็งปากมดลูก

ด้านที่  6  ทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ

            ข้อ 1  สามารถปฏิบัติทักษะการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้ศาสตร์และศิลป์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องแก่บุคคล และชุมชนอย่างเป็นองค์รวม

- ได้เรียนรู้เกี่ยวกับท่าต่าง ๆ ในการตรวจซึ่งอาจลืมก็ได้ทบทวนอีกครั้ง

- การคลำเจอก้อนที่ไม่ใช่มะเร็งทำให้เห็นความแตกต่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

- ได้ฝึกการตรวจเต้านมจริง

- ผู้รับบริการที่หน้าอกใหญ่กว่าปกติจะทำให้การตรวจหาก้อนลำบาก

- ได้มีประสบการณ์จริงจากการลงมือปฏิบัติ

- ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในการคลำก้อน

- ได้ปฏิบัติจริงและทราบความแตกต่างระหว่างเต้านมปกติและเต้านมผิดปกติ

- ได้ประสบการณ์ตรวจจริง, และคำแนะนำของแต่ละคนที่ให้สตรีนำไปใช้ได้จริง

- สิ่งที่ได้เรียนรู้มากขึ้น (วิธีการตรวจ ตรวจเมื่อไร,อย่างไร)

- รู้จักวิธีการตรวจเต้านมทั้ง  3 ท่า

- รู้จักการตรวจเต้านมที่ถูกต้องและได้ทบทวนการตรวจที่ได้เรียนมาแล้ว

- ได้ทบทวนเรื่องของการตรวจเต้านมซึ่งได้เรียนมาบ้างจากห้องเรียนและเมื่อมาตรวจจริงทำให้เข้าใจมากขึ้น

- การที่ได้ตรวจสตรีหลาย ๆ คนทำให้ได้ประสบการณ์และทำได้คล่องแคล่วยิ่งขึ้น

- ได้ทบทวนการตรวจเต้านมทั้ง 3 ท่าและวิธีการตรวจ

- ก้อนที่ผิดปกติของจริง ลักษณะที่คลำได้

- วิธีการตรวจเต้านมทั้ง 3 แบบ

- ลักษณะของก้อนที่เกิดบริเวณเต้านม

- เทคนิคการตรวจเต้านมให้กับหญิงวัยสูงอายุ

- มีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และทักษะการตรวจ

- ได้ฝึกทักษะเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งเต้านม

- ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ และท่าต่าง ๆ และได้ทบทวนเรื่องที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

- การตรวจมะเร็งปากมดลูกจะใช้อุปกรณ์ตามลักษณะร่างกายของผู้ถูกตรวจ

- การตรวจนั้นสามารถประเมินมดลูก, ประเมินโรคทางพันธุกรรมได้ด้วยการตรวจร่างกายไปพร้อมกัน

- การเรียนรู้ถึงลักษณะของปากมดลูกที่ปกติเปรียบเทียบกับผิดปกติ

- เทคนิคการป้ายหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกและการป้ายสไลด์

- ได้ฝึกประสบการณ์จริงในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

- ได้เห็นปากมดลูกจริง ๆ ไม่ใช่แค่เพียงในรูป

- ผู้รับบริการที่เคยได้รับการผ่าตัดคอมดลูกเวลาใส่ปากเป็ดปากมดลูกจะไม่เข้ามาอยู่ภายในปากเป็ด

- น้ำยาที่ใช้ในการ fixed cell บน  slide คือ Alcohol 95%

- การใช้เครื่องมืออุปกรณ์การตรวจการเก็บผลตรวจ

- ได้ประสบการณ์จริงจากการลงมือปฏิบัติ

- ได้ฝึกทักษะในการใช้เครื่องมือหาปากมดลูก

- ได้ฝึกทักษะในการตรวจมะเร็งปากมดลูก

- ได้ฝึกปฏิบัติจริง มองเห็นสรีรวิทยาของจริงเห็นภาพชัดขึ้น เข้าใจมากขึ้น

- ได้เห็นจริงระหว่างปากมดลูกปกติ/ผิดปกติ  และรู้ถึงลักษณะของมดลูก

- วิธีการตรวจและลงมือปฏิบัติจริง

- วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap  smear) ที่ถูกต้อง

- ได้เรียนรู้วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

- ก่อนหน้านี้ไม่เคยตรวจจริง วันนี้ได้รู้ถึงอุปกรณ์ในการตรวจว่ามีอะไรบ้าง และรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ประสบการณ์มากขึ้น

- จับอุปกรณ์ได้ถูกต้อง รู้ว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง

- วิธีการตรวจที่ถูกต้อง, ได้ประสบการณ์ที่ไม่เคยทำ

- การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  และตรวจภายใน

- ได้เรียนรู้วิธีการเทคนิคในการตรวจมะเร็งปากมดลูก

- ได้เรียนรู้และได้เห็นความปกติความผิดปกติของมดลูก

- การใส่ Speculum และการหา cervix

- มีความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

- ได้ทักษะและเทคนิคในการตรวจมะเร็งปากมดลูก ทำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยาก

- ได้ฝึกการใช้เครื่องมือ ได้เห็นปากมดลูกที่ชัดเจนขึ้น ได้ความรู้เกี่ยวกับการเลือก speculum ที่เหมาะสมกับช่องคลอด

- ได้ทักษะในการตรวจ ซึ่งยากที่จะได้ทำขณะเป็นนักศึกษาพยาบาล

- การทำ pap  smear

- น่าจะจัดให้มีชั้นปีอื่นหลาย ๆ ชั้นปีไปด้วยเพื่อศึกษาดูงาน

- เป็นโครงการที่ดีจะให้ นศ.ได้ฝึกประสบการณ์จริง

-  ทำให้เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงทำให้เรามีความมั่นใจในการตรวจและได้ทักษะในการตรวจที่ดีมากขึ้น

            ข้อ  2  สามารถปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันได้คล่องแคล่งกับผู้รับบริการหากพบก้อนที่ผิดปกติก็จะให้คำแนะนำก่อนเกิดอันตรายมากขึ้น

- ได้มีเทคนิควิธีการในการแนะนำให้สตรีที่มาร่วมโครงการในการตรวจเต้านม

-  สามารถแนะนำผู้ที่มารับบริการได้ ในกรณีที่ไม่ปกติ

            ข้อ  4  ปฏิบัติการพยาบาลด้วยความศรัทธาในวิชาชีพโดยยึดมั่นในคุณธรรม  จริยธรรม  สิทธิผู้ป่วยการไม่เปิดเผยอวัยวะในขณะที่ตรวจเพราะเป็นอวัยวะแสดงเพศที่พึงปกปิดและสงวนเป็นส่วนตัวและการมีจิตอาสา

- การปกปิดผู้ป่วยและการตรวจได้ถูกต้อง

- ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมและถูกตัดเต้านมแล้ว 1 ข้าง

- แนะนำการตรวจมะเร็งเต้านมทุกเดือน

- การใส่ speculum ต้องใส่ช้า ๆ เพราะใส่เร็วจะทำให้เจ็บ

- การหาปากมดลูกบางคนจะหายากต้องเอียง speculum เข้าหาและต้องทำเบา ๆ

- ประสบการณ์ในการตรวจครั้งนี้ส่งผลต่อการตรวจในครั้งต่อไป

- การปกปิดผู้ป่วย

- การไปเพิ่มเติมการแนะนำตัวก่อน-หลัง การตรวจ หากพบอาการผิดปกติ เช่น รายมีตกขาวมาก

- การใส่ speculum ต้องเหมาะสมกับขนาดของปากมดลูกและการใส่ควรใส่ช้าๆ เพื่อลดความเจ็บปวด

- การจัดโครงการนี้ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะทำให้เรามีโอกาสการเรียนรู้ที่จะปฏิบัติเพราะเรียนทฤษฎีอย่างเดียวอาจไม่เห็นภาพ

- โครงการนี้เป็นโครงการดีทำให้นักศึกษาได้ประสบการณ์ซึ่งหาไม่ได้จากห้องเรียน แต่โครงการน่าจะนำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการครบทุกคนจะทำให้ได้รับประโยชน์เท่าเทียมกันช่วงปิดเทอม

-  โครงการนี้ทำให้เรารู้จักเสียสละเพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นทำให้เรารู้สึกมีความสุขทางใจ

- โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมากต้องการให้มีโครงการแบบนี้ต่อไป ทำให้ นศ.มีประสบการณ์ กล้าที่จะทำและมีจิตอาสาที่ดีขึ้นเป็นโครงการที่ดีมาก

Print Friendly
ผู้เขียน อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร (ประวัติการเขียน 2 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


Tags: , , , , ,

4 Responses to “AAR – 2 การเรียนรู้ของนักศึกษาหลังจิตอาสาท่าช้างปี 2554 ตาม TQF”

  1. rungnapha พูดว่า:

    ปัจจุบันพบว่านักศึกษาที่กำลังกล่าวไปพยาบาลในอนาคต กำลังขาดด้านที่ 1 เป็นอย่างมากคือ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ดังนั้นอาจารย์สร้างและให้นักศึกษาตระหนักถึงความซื่อสัตย์ให้มาก ๆ

  2. srisakul พูดว่า:

    ผลการประเมินในด้านที่1 ข้อที่ 2 การสังเกตการผิดปกติ อ่านแล้วงงๆค่ะ มันคือ การสังเกตอาการผิดปกติของผู้รับบริการใช่หรือไม่ เพราะเนื้อความเดิมผู้อ่านอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าต้องการสื่อถึงอะไรค่ะ
    ขอเสนอว่า ลักษณะคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลพระปเกล้า จันทบุรี คือ “เอื้ออาทร ซื่อสัตย์ เสียสละ มีวินัย” ควรมีการประเมินผลด้านเอื้ออาทรของนักศึกษาด้วย ซึ่งสามารถประเมินได้จริงจากการทำงานของนักศึกษที่แสดงถึงความเมตตา จริงใจต่อผู้รับบริการ เข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น เป็นต้น

  3. ปิ่นนเรศ พูดว่า:

    เป็น AAR ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำเนินโครงการอื่นๆ ที่ควรดำเนินการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการบูรณาการ
    แต่อีกอย่างที่สำคัญคือในด้านของอาจารย์ ต้องสรุปความรู้และประสบการณ์ที่ให้บริการวิชาการเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยต่อไป ครับ

  4. vsuchada พูดว่า:

    ได้มีโอกาสไปร่วมการให้บริการด้านสุขภาพกับนศ. เห็นถึงความเสียสละ แต่นศ.ที่ไปแค่ส่วนเดียว โครงการเช่นนี้จัดทำได้ทุก รพสต. ถ้ามีการ ประสานความร่วมมือกัน นศ.จะมีโอกาสได้ออกไปทำงานทำนองนี้กันมากขึ้น ใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์และได้ความรู้ด้วย