AAR – 2 การเรียนรู้ของนักศึกษาหลังจิตอาสาท่าช้างปี 2554 ตาม TQF

หลังจากทำ AAR  ต่อครั้งที่  2 เสร็จสิ้น  ผู้จัดทำโครงการยังได้พบว่านักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจิตอาสาได้แสดงความคิดเห็นที่มีคุณค่าหลังจากทำเสร็จสิ้น หลังเข้าร่วมโครงการว่านักศึกษาได้พัฒนาผลการเรียนรู้ของตนเองบางด้านตามมาตรฐาน มคอ. 6 ด้าน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาควิชาอื่น ๆ ที่อาจทำโครงการบูรณาการต่อไปในปีการศึกษา  2555 กับรายวิชาทางการพยาบาลได้ดังนี้ ด้านที่  1  ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม             ข้อ 2  เสียสละ ซื่อสัตย์  มีวินัย – การสังเกตการผิดปกติ ถ้านักศึกษาเป็นคนพบ ต้องรีบรายงานให้พี่พยาบาลทราบด่วน(ซื่อสัตย์ มีวินัย) – ออกไปบริการคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกในวันหยุด ขณะฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาล(เสียสละ) – ถึงแม้ไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง แต่พวกเราก็ภูมิใจ มันมีค่ามากกว่าเบี้ยเลี้ยง(เสียสละ) ด้านที่  2  ผลการเรียนรู้ด้านความรู้พยาบาลปัญหาสุขภาพ 2 พย. 1315             ข้อ 1 อธิบายสาระสำคัญของศาสตร์เป็นพื้นฐานชีวิตครอบคลุมทั้งวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์  กฎหมายและการปกครองระบบประชาธิปไตย  ศาสตร์พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพศาสตร์ทางวิชาชีพการพยาบาลการผดุงครรภ์ขั้นหนึ่งและสามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการพยาบาล – ได้รู้เกี่ยวกับการสังเกตผิดปกติพบ เช่น พบก้อนที่สงสัยต้องบันทึก [...]

Tags: , , , , ,

AAR การคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยง

After  Action  Review จากการบริการวิชาการตอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง ของภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุฯ   หลังสิ้นสุดโครงการในรอบที่  1  ได้นำข้อเสนอแนะจากการบริการวิชาการรอบที่ 1 มาจัดโครงการหลังสิ้นสุดโครงการในครั้งที่  1  เกี่ยวกับการคัดกรองบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพโรคเรื้อรังโดยมุ่งเน้นการคัดกรองกลุ่มเบาหวานตามความต้องการของ อบต.ท่าช้าง เป็นผลสำเร็จแล้วในระดับหนึ่งแต่ก็ยังพบว่ายังมีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังด้านอื่น ๆ อีก เช่น มะเร็ง อบต.ท่าช้าง  จึงทำการสำรวจความต้องการของชุมชนพบว่ายังมีกลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง    คือสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย อบต.ชุมชนท่าช้างจึงทำการประสานความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)  กับภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุร่วมทำการคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยง  ภาควิชาจึงได้ทบทวน AAR ผลจากการดำเนินงาน  ปี 2553 นำมาเป็นปัจจัยนำเข้าทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ประจำปีการศึกษา  2554 เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมในโครงการดังกล่าวให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุได้รวบรวมผลการประเมินและการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาพบว่า การจัดทำโครงการในครั้งที่ 2 นี้สามารถบรรลุตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยให้การบริการวิชาการตามข้อตกลงการทำ MOU กับองค์การบริการส่วนตำบลท่าช้าง และจากการวิเคราะห์แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้หลักสูตรสู่รายวิชา  ยังพบอีกว่าการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 (หัวข้อการดูแลบุคคลที่ปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อและการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์สตรี) สามารถโดยกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้วิธีการตรวจคัดกรองเต้านมสตรีและช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้   Related Posts by Tagsปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมพลังสามัคคี [...]

Tags: , , , ,