ผู้เขียน : อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร
05/31/11
After Action Review จากการบริการวิชาการตอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง ของภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุฯ หลังสิ้นสุดโครงการในรอบที่ 1 ได้นำข้อเสนอแนะจากการบริการวิชาการรอบที่ 1 มาจัดโครงการหลังสิ้นสุดโครงการในครั้งที่ 1 เกี่ยวกับการคัดกรองบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพโรคเรื้อรังโดยมุ่งเน้นการคัดกรองกลุ่มเบาหวานตามความต้องการของ อบต.ท่าช้าง เป็นผลสำเร็จแล้วในระดับหนึ่งแต่ก็ยังพบว่ายังมีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังด้านอื่น ๆ อีก เช่น มะเร็ง อบต.ท่าช้าง จึงทำการสำรวจความต้องการของชุมชนพบว่ายังมีกลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง คือสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย อบต.ชุมชนท่าช้างจึงทำการประสานความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุร่วมทำการคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยง ภาควิชาจึงได้ทบทวน AAR ผลจากการดำเนินงาน ปี 2553 นำมาเป็นปัจจัยนำเข้าทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ประจำปีการศึกษา 2554 เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมในโครงการดังกล่าวให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุได้รวบรวมผลการประเมินและการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาพบว่า การจัดทำโครงการในครั้งที่ 2 นี้สามารถบรรลุตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยให้การบริการวิชาการตามข้อตกลงการทำ MOU กับองค์การบริการส่วนตำบลท่าช้าง และจากการวิเคราะห์แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้หลักสูตรสู่รายวิชา ยังพบอีกว่าการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 (หัวข้อการดูแลบุคคลที่ปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อและการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์สตรี) สามารถโดยกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้วิธีการตรวจคัดกรองเต้านมสตรีและช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ Related Posts by Tagsการพยาบาลแบบประคับประคอง Heart [...]
Tags: MOU, จันทบุรี, ท่าช้าง, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, อบต.
ผู้เขียน : อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์
05/28/11
การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล โดย ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ มัณฑนา เหมชะญาติ การสังเคราะห์ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี โดยมุ่งวิเคราะห์และสังเคราะห์ในส่วนของผลการวิจัย จากรายงานวิจัยในประเด็นดังกล่าวในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวน ๒ เรื่อง คือ (๑) การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล โดยยศพล เหลืองโสมนภา เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และสาคร พร้อมเพราะ (๒๕๕๑) และ (๒) พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และโครงการปกติของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี โดยทองสวย สีทานนท์ และยศพล เหลืองโสมนภา (๒๕๕๓) ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล แบ่งเป็น ๖ องค์ประกอบ ได้แก่ (๑) ส่งเสริมสัมพันธภาพในการช่วยเหลือและไว้วางใจ (๒) สนับสนุนแหล่งทรัพยากรแบบองค์รวม (๓) เสริมสร้างศรัทธาและคุณค่าในตนเอง (๔) สร้างค่านิยมการรับใช้เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น (๕) เป็นแบบอย่างและผู้เสริมพลัง และ (๖) [...]
Tags: การจัดการความรู้, พฤติกรรมการเลี้ยงดู, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, เอื้ออาทร
ผู้เขียน : ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ
05/24/11
ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปจากการรณรงค์ของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน โดยเฉพาะนับตั้งแต่ประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงอนุสัญญาที่ร่วมกับ 191 ประเทศทั่วโลก ในการควบคุมการบริโภคยาสูบในรูปแบบต่างๆ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นผลให้มาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบมีความเข้มข้นเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน หลายๆ ประเทศ เช่น การขึ้นภาษีบุหรี่ที่มีผลให้ราคาบุหรี่แพงขึ้น การห้ามโฆษณาบุหรี่ในสื่อทุกประเภท การห้ามวางโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย การกำหนดให้มีฉลากคำเตือนด้านสุขภาพเป็นรูปภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลังของซองบุหรี่ และการกำหนดพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่จำนวนมากต้องการเลิกสูบบุหรี่ จากการศึกษาวิจัยของคณาจารย์วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่เคยพยายามลองเลิกสูบบุหรี่มาก่อนแล้ว บางคนเคยพยายามเลิกมาแล้ว 10 ครั้ง สาเหตุสำคัญของการเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ เป็นเพราะความรู้สึกของตนเองที่คิดว่าไม่สามารถเลิกได้ เพราะเลิกแล้ว มีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย เครียด ไม่มีสมาธิ ทำงานที่ใช้สมองได้ช้าลง โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเลิกสูบ ซึ่งระดับนิโคตินในเลือดลดลง ดังนั้น ในช่วงสัปดาห์แรก จึงเป็นช่วงที่ผู้เลิกสูบุหรี่ต้องความอดทนต่ออาการขาดนิโคตินให้ได้จึงจะเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ นอกจากนั้น เมื่อเลิกสูบได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 1-2 เดือน การเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น งานเลี้ยง สังสรรค์ ดื่มสุรากับเพื่อน ก็เป็นสถานการณ์ที่เอื้อต่อการกลับไปสูบบุหรี่อีก และถ้าคนใกล้ชิด เช่น [...]
Tags: รณรงค์, เลิกสูบบุหรี่
ผู้เขียน : อ.บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์
05/24/11
สรุปผลเกี่ยวกับข้อพึงระวังในการใช้ยา (จากการประชุมเรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รศ.ดร. ลัดดาวัลย์ ผิวทองงาม)
1.ผู้ป่วยโรคหอบหืด ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่ม NSAIDS เช่น Ibuprofen และ ASA เพราะจะทำให้อาการของโรคหอบหืดกำเริบได้
2.การรับประทานยากลุ่ม NSAIDS ติดต่อกันหลายปี ให้ระวังการเกิด Renal failure เพราะจะทำให้เกิดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง จนทำให้เกิดไตวายได้
3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่ม NSAIDS เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นได้
4.การให้ยา Omeprasol ควรให้รับประทานยาก่อนอาหาร เพราะจะทำให้การดูดซึมของยามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และควรให้รับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12 ชั่วโมง (ยกตัวอย่างเช่น เริ่มให้ยา เวลา 08.00 น. ควรให้ยาครั้งต่อไปในเวลา 20.00น.)
5.การให้ยา Ranitidine ต้อง Dilute ด้วย NSS อย่างน้อย 20 ml. และต้อง push เข้าหลอดเลือดช้าๆ อย่างน้อย 5 นาที เพราะจะทำให้เกิดอาการแสบ ร้อน บริเวณหลอดเลือด
6.การให้ยา Enalapril มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้เกิดอาการไอ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องให้ยา เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอควรปรึกษาแพทย์
7.การใช้ยาในเด็กต้องคำนวณยาให้ได้ในขนาดที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น ยาที่ใช้บ่อยควรมีการคำนวณติดไว้ให้เห็นชัดเจนเพื่อความรวดเร็วและถูกต้องในการนำไปใช้
8.การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องระมัดระวัง มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาต่อกันของยาได้มากกว่าปกติเพราะผู้สูงอายุมักใช้ยาหลายชนิดและจะมีการขับออกของยาได้น้อยกว่าบุคคลทั่วไป
9.การให้คำแนะนำเรื่องอาการแพ้ยาต้องแนะนำกับผู้รับบริการทุกคนเสมอ
Tags: ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ, ม.บูรพา, เวชปฏิบัติ
ผู้เขียน : ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ
05/23/11
ในอดีต การสูบบุหรี่เป็นที่ยอมรับของสังคม แต่ในปัจจุบันมีการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสูบบุหรี่ อย่างมาก เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการที่สามารถป้องกันได้ โรคสำคัญๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ถุงลมปอดโป่งพอง หลอดลมอักเสบ และมะเร็งของอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด กล่องเสียง กระเพาะปัสสาวะ และไต นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์ ยังทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือตายทันทีหลังคลอด องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ว่าในช่วง ค.ศ. 1990-1999 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เนื่องมาจากการสูบบุหรี่ 1 คน ในทุกๆ 10 วินาที หรือมีผู้เสียชีวิต 3 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี และถ้าไม่ได้รับการแก้ไข อัตราการเสียชีวิตของคนที่เนื่องมาจากการสูบบุหรี่ จะเพิ่มเป็น 1 คน ในทุกๆ 3 วินาที หรือมีผู้เสียชีวิต 10 ล้านคน ในแต่ละปีในช่วง ค.ศ. 2020-2030 โดยที่ 70% ของผู้ที่เสียชีวิตอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยทั่วไป [...]
Tags: รณรงค์, เลิกสูบบุหรี่