มาเลิกสูบบุหรี่กันดีกว่า (ตอนที่ 2)

     ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปจากการรณรงค์ของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน  โดยเฉพาะนับตั้งแต่ประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงอนุสัญญาที่ร่วมกับ 191 ประเทศทั่วโลก ในการควบคุมการบริโภคยาสูบในรูปแบบต่างๆ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นผลให้มาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบมีความเข้มข้นเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน หลายๆ ประเทศ เช่น การขึ้นภาษีบุหรี่ที่มีผลให้ราคาบุหรี่แพงขึ้น การห้ามโฆษณาบุหรี่ในสื่อทุกประเภท การห้ามวางโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย การกำหนดให้มีฉลากคำเตือนด้านสุขภาพเป็นรูปภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลังของซองบุหรี่ และการกำหนดพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่จำนวนมากต้องการเลิกสูบบุหรี่      จากการศึกษาวิจัยของคณาจารย์วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่เคยพยายามลองเลิกสูบบุหรี่มาก่อนแล้ว บางคนเคยพยายามเลิกมาแล้ว 10 ครั้ง  สาเหตุสำคัญของการเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ เป็นเพราะความรู้สึกของตนเองที่คิดว่าไม่สามารถเลิกได้ เพราะเลิกแล้ว มีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย เครียด ไม่มีสมาธิ ทำงานที่ใช้สมองได้ช้าลง โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเลิกสูบ ซึ่งระดับนิโคตินในเลือดลดลง  ดังนั้น ในช่วงสัปดาห์แรก จึงเป็นช่วงที่ผู้เลิกสูบุหรี่ต้องความอดทนต่ออาการขาดนิโคตินให้ได้จึงจะเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ  นอกจากนั้น เมื่อเลิกสูบได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 1-2 เดือน การเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น งานเลี้ยง สังสรรค์ ดื่มสุรากับเพื่อน ก็เป็นสถานการณ์ที่เอื้อต่อการกลับไปสูบบุหรี่อีก และถ้าคนใกล้ชิด เช่น [...]

Tags: ,

เวชปฏิบัติทันยุค 2

สรุปผลเกี่ยวกับข้อพึงระวังในการใช้ยา (จากการประชุมเรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รศ.ดร. ลัดดาวัลย์ ผิวทองงาม)
1.ผู้ป่วยโรคหอบหืด ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่ม NSAIDS เช่น Ibuprofen และ ASA เพราะจะทำให้อาการของโรคหอบหืดกำเริบได้
2.การรับประทานยากลุ่ม NSAIDS ติดต่อกันหลายปี ให้ระวังการเกิด Renal failure เพราะจะทำให้เกิดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง จนทำให้เกิดไตวายได้
3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่ม NSAIDS เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นได้
4.การให้ยา Omeprasol ควรให้รับประทานยาก่อนอาหาร เพราะจะทำให้การดูดซึมของยามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และควรให้รับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12 ชั่วโมง (ยกตัวอย่างเช่น เริ่มให้ยา เวลา 08.00 น. ควรให้ยาครั้งต่อไปในเวลา 20.00น.)
5.การให้ยา Ranitidine ต้อง Dilute ด้วย NSS อย่างน้อย 20 ml. และต้อง push เข้าหลอดเลือดช้าๆ อย่างน้อย 5 นาที เพราะจะทำให้เกิดอาการแสบ ร้อน บริเวณหลอดเลือด
6.การให้ยา Enalapril มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้เกิดอาการไอ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องให้ยา เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอควรปรึกษาแพทย์
7.การใช้ยาในเด็กต้องคำนวณยาให้ได้ในขนาดที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น ยาที่ใช้บ่อยควรมีการคำนวณติดไว้ให้เห็นชัดเจนเพื่อความรวดเร็วและถูกต้องในการนำไปใช้
8.การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องระมัดระวัง มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาต่อกันของยาได้มากกว่าปกติเพราะผู้สูงอายุมักใช้ยาหลายชนิดและจะมีการขับออกของยาได้น้อยกว่าบุคคลทั่วไป
9.การให้คำแนะนำเรื่องอาการแพ้ยาต้องแนะนำกับผู้รับบริการทุกคนเสมอ

Tags: , ,