ผู้เขียน : อ.อรัญญา บุญธรรม
01/15/13
ชื่อเรื่องวิจัย ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคทดลอง ฐานการวัดสัญญาณชีพ วิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล ผุ้รับผิดชอบ อาจารย์อรัญญา บุญธรรม ความเป็นมาและความสำคัญ จากประสบการณ์การสอนภาคทดลองในวิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล ฐานการวัดสัญญาณชีพในปีการศึกษา 2555 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง พบว่า นักศึกษาไม่สามารถปฏิบัติการวัดสัญญาณชีพได้ถูกขั้นตอนและประเมินค่าได้ถูกต้องภายในเวลาที่จัดให้ 4 ชั่วโมง นักศึกษาจึงจำเป็นต้องไปฝึกนอกเวลา รวมทั้งมีนักศึกษาจำนวน 16 คน ที่สอบภาคทดลองฐานวัดสัญญาณชีพไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด กล่าวคือประเมินค่าสัญญาณชีพตัวใดตัวหนึ่งไม่แม่นยำ หรือได้คะแนนน้อยกว่า 80 จาก 100 คะแนน และต้องมาสอบซ่อมเสริมนอกเวลา ผู้วิจัยในฐานะผู้สอนจึงต้องการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนในกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคทดลองฐานการวัดสัญญาณชีพว่าแต่ละขั้นตอนที่ทำมาแล้วนั้นว่ามีความเหมาะสมและมีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคทดลองในปีการศึกษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคทดลองฐานการวัดสัญญาณชีพ ในวิชาพย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาปี 2 ห้อง ข จำนวน 101 คน (ปีการศึกษา 2555) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนฐานการวัดสัญญาณชีพ วิชา พย. 1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล มี [...]
Tags: การวัดสัญญาณชีพ, พย.1204, วิจัยในชั้นเรียน
ผู้เขียน : อ.อรัญญา บุญธรรม
09/17/12
ประธาน อ. อรัญญา บุญธรรม ผู้บันทึกการเรียนรู้ อ. ลลนา ประทุม อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. อ.วราภรณ์ จรเจริญ 2. อ.โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ 3. ดร.เชษฐา แก้วพรม 4. อ. มงคล ส่องสว่างธรรม 5. ดร. ศรีสกุล เฉียบแหลม จากการเตรียมการสอนภาคทดลองวิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล ฐาน การตรวจสอบสัญญาณชีพ โดยการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆพบมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวัดความดันโลหิตในบางขั้นตอน กล่าวคือ แต่เดิมในการพัน Cuff นั้นจะต้องให้สายยางของเครื่องวัดความดันทั้ง 2 สายคร่อมบริเวณ Bracial Pulse ซึ่งในตำราก็ไม่ได้ระบุเหตุผลว่าเพราะเหตุใด แต่จากการรวบรวมเอกสารเรื่องการวัดความดันโลหิตพบว่าตำราใหม่ๆทั้งตำราภาษาไทย และ Text book ใช้วิธีพัน Cuff โดยให้กึ่งกลางของ Bladder (ถุงลม) ทับบริเวณ Bracial Pulse ซึ่งการพัน Cuff ด้วยวิธีใหม่นี้จะทำให้ส่วนกลางของถุงลมซึ่งจะขยายตัวก่อนบริเวณอื่นเกิดแรงกดมากที่สุดซึ่งกั้นเลือดได้เร็วขึ้นโดยไม้ต้องบีบลมจนเต็ม Cuff [...]
Tags: การจัดการความรู้, การวัดความดันโลหิต, ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
ผู้เขียน : อ.อรัญญา บุญธรรม
05/25/12
ผู้บันทึกข้อมูล อ. อรัญญา บุญธรรม อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ. วราภรณ์ จรเจริญ อ.โศภิณศิริ ยุทธวิสุทธิ ดร.เชษฐา แก้วพรม อ.มงคล ส่องสว่างธรรม อ.ลลนา ประทุม 1. วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้ – แจกเอกสารประกอบการติว (สรุปสาระสำคัญ ตามหัวข้อใน BLEU PRINT) ให้นักศึกษาอ่านก่อนวันติว – ใช้คำถามกระตุ้นการคิด และชมเชยเมื่อนักศึกษาตอบได้ 2. วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้ – จัดทำเอกสารประกอบการติว (สรุปสาระสำคัญ ตามหัวข้อใน BLEU PRINT) และแจกให้นักศึกษาอ่านก่อนวันติว – เขียนสาระสำคัญ(เขียนคำสำคัญ ไดอะแกรม MAPPING ) ประกอบคำอธิบายขณะดำเนินการติว – แต่งเป็นกลอน คำคล้องจอง – [...]
Tags: การพยาบาลจิตเวช, การเตรียมนักศึกษา, ฝ่ายวิชาการ, ภาควิชาอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, สุขภาพจิต, ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ผู้เขียน : อ.อรัญญา บุญธรรม
04/27/12
โครงการวิจัยในชั้นเรียน ชื่อเรื่องวิจัย ข้อดีของการเรียนเรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้เรียน ผุ้รับผิดชอบ อาจารย์อรัญญา บุญธรรม ความเป็นมาและความสำคัญ เนื่องจากคำอธิบายในวิชาการสื่อสารทางการพยาบาล ได้ระบุว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการสื่อสาร วิธีการสื่อสาร การสื่อสารในองค์กร การประชาสัมพันธ์ และการนำเสนอ การประยุกต์ความรู้ทางการสื่อสารในการพยาบาลกับบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารและสิทธิของประชาชน ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องโรคต่างๆที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ดังนั้นผู้รับผิดชอบรายวิชาและคณะอาจารย์ผู้สอนจึงมีความคิดเห็นว่า ในฐานะที่นักศึกษาพยาบาลซึ่งจะต้องไปทำงานในบทบาทของทีมสุขภาพจึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวพยาบาลควรตระหนักในบุคลิกภาพของตนเองที่มีผลต่อการสื่อสาร และจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้รับผิดชอบรายวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล และทีมอาจารย์ผู้สอนจึงมีความคิดเห็นตรงกันว่าควรบรรจุเนื้อหา เรื่อง Ice-berg และ Style ในวิชาดังกล่าว เพื่อทำให้นักศึกษาได้ตระหนักในบุคลิกภาพของตนเอง และเข้าใจบุคลิกภาพของผู้อื่น อันจะทำให้ช่วยส่งเสริมให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนประสบความสำเร็จ แต่ในการเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวในรายวิชา ทำให้อาจารย์บางท่านสงสัยว่าทำไมต้องเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวในรายวิชาพว.1209 การสื่อสารทางการพยาบาล ผู้วิจัยในฐานะอาจารย์ผู้สอนจึงต้องการศึกษาผลเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้จากการเรียนในเนื้อหาดังกล่าว Related Posts by [...]
Tags: Ice-berg, style, การทำวิจัย, การรับรู้ของผู้เรียน, จิตเวช, ภาควิชาอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
ผู้เขียน : อ.อรัญญา บุญธรรม
03/11/11
การพัฒนานักศึกษาโครงการปกติกลุ่มพิเศษในการสอบเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ปีการศึกษา 2553 กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาโครงการปกติ กลุ่มพิเศษ นักศึกษาโครงการปกติกลุ่มพิเศษ หมายถึง นักศึกษาปี4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า ทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้คะแนนในการสอบรวบยอดเครือข่ายภาคกลางครั้งที่ 1 วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช น้อยกว่า 34 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน) จำนวน 17 คน ระยะเวลาดำเนินการวิจัยวิจัย วันที่ 5 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 22 กุมภาพันธ์2554 วิธีดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย 1. ทำเอกสารสรุปสาระสำคัญตามblueprint วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช แจกให้นักศึกษาก่อนการติวประมาณ 1 เดือน 2. อาจารย์เตรียมข้อสอบที่จะใช้ให้นักศึกษาในการฝึกทำโจทย์(ข้อสอบเสมือนข้อสอบรวบยอด) 3. แบ่งกลุ่มนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ปี 4 โครงการปกติออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มพิเศษวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชโดยเรียงลำดับการสอบรวบยอดครั้งที่1วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช จากคะแนนจากต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด แล้วคัดรายชื่อนักศึกษาจากคะแนนต่ำสุดขึ้นไป จำนวน 17 %ซึ่งมีจำนวน [...]
Tags: 2553, การเตรียมนักศึกษา, การเรียน, ภาควิชาอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์, วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, สอบสภา