การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
ผู้บันทึกข้อมูล อ. อรัญญา บุญธรรม
อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- อ. วราภรณ์ จรเจริญ
- อ.โศภิณศิริ ยุทธวิสุทธิ
- ดร.เชษฐา แก้วพรม
- อ.มงคล ส่องสว่างธรรม
- อ.ลลนา ประทุม
1. วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้
- แจกเอกสารประกอบการติว (สรุปสาระสำคัญ ตามหัวข้อใน BLEU PRINT) ให้นักศึกษาอ่านก่อนวันติว
- ใช้คำถามกระตุ้นการคิด และชมเชยเมื่อนักศึกษาตอบได้
2. วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้
- จัดทำเอกสารประกอบการติว (สรุปสาระสำคัญ ตามหัวข้อใน BLEU PRINT) และแจกให้นักศึกษาอ่านก่อนวันติว
- เขียนสาระสำคัญ(เขียนคำสำคัญ ไดอะแกรม MAPPING ) ประกอบคำอธิบายขณะดำเนินการติว
- แต่งเป็นกลอน คำคล้องจอง
- ยกตัวอย่างสถานการณ์จริงที่นักศึกษาเคยพบในการฝึกภาคปฏิบัติเพื่อให้คิดเป็นภาพ
3. วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้
- ในห้องเรียนที่มีนักศึกษามากกว่า 20 คน การประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนทำได้ยาก ต้องประเมินหลังการสอนโดยการให้ทำข้อสอบ
4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเป็นดังนี้
- วางแผนร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
- ทำเอกสารสรุปสาระสำคัญ ตามหัวข้อใน BLEU PRINT ทุกรายวิชาที่สอบ และ จัดทำคลังข้อสอบเพื่อใช้สำหรับติวในแต่ละหัวข้อในแต่ละวิชา
- ติวสาระสำคัญทีละหัวข้อก่อน แล้วจึงฝึกทำข้อสอบพร้อมกัน สอนวิเคราะห์โจทย์และตัวเลือก
- หลังติว ให้นักศึกษาทำข้อสอบเสมือนจริง และตรวจเพื่อประเมินผลนักศึกษาแต่ละคนในแต่ละวิชา
5. สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้
- จัดแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มตามคะแนนเพื่อแยกกลุ่มอ่อนในแต่ละวิชาออกมาติวต่างหาก ใช้กระบวนการและระย้เวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มอ่อน (ตามความสมัครใจของกลุ่มอ่อนด้วย ไม่บังคับ)
6. ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้
- นักศึกษาที่สอบแล้วรวบรวมข้อสอบในแต่ละวิชาส่งให้วิทยาลัย
7. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้
- การใช้ข้อมูลจากการทำ KM ในกลุ่มผู้เรียน ( ทั้งกลุ่มอ่อน กลุ่มกลาง และกลุ่มสูง) หลังการติวเพื่อนำมาวางแผนการติวครั้งต่อไปน่าจะเกิดประโยชน์มาก