การเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการสอบรับใบอนุญาตฯ วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ปีการศึกษา 2553

การพัฒนานักศึกษาโครงการปกติกลุ่มพิเศษในการสอบเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ปีการศึกษา 2553

กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาโครงการปกติ กลุ่มพิเศษ

          นักศึกษาโครงการปกติกลุ่มพิเศษ  หมายถึง นักศึกษาปี4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า ทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้คะแนนในการสอบรวบยอดเครือข่ายภาคกลางครั้งที่ 1  วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช น้อยกว่า 34 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน) จำนวน 17 คน

ระยะเวลาดำเนินการวิจัยวิจัย วันที่ 5 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 22 กุมภาพันธ์2554

วิธีดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย

          1. ทำเอกสารสรุปสาระสำคัญตามblueprint วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช แจกให้นักศึกษาก่อนการติวประมาณ 1 เดือน

          2. อาจารย์เตรียมข้อสอบที่จะใช้ให้นักศึกษาในการฝึกทำโจทย์(ข้อสอบเสมือนข้อสอบรวบยอด)

          3. แบ่งกลุ่มนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ปี 4 โครงการปกติออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มพิเศษวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชโดยเรียงลำดับการสอบรวบยอดครั้งที่1วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช จากคะแนนจากต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด แล้วคัดรายชื่อนักศึกษาจากคะแนนต่ำสุดขึ้นไป จำนวน  17  %ซึ่งมีจำนวน  17  คน (คะแนนอยู่ในช่วง 23-33 จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน) ส่วนนักศึกษาที่เหลือ จำนวน  85  คน เรียกว่ากลุ่มปกติ และแจ้งให้นักศึกษาทราบ

          4. อธิบายให้นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ปี 4 โครงการปกติทราบเกี่ยวกับเหตุผลและวิธีการติวในแต่ละกลุ่ม

          5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และซักถาม นักศึกษากลุ่มปกติถามว่านักศึกษาที่อยู่กลุ่มปกติสามารถไปเข้าในกลุ่มพิเศษได้หรือไม่  อาจารย์อธิบายที่มาของการแยกกลุ่มติวอีกครั้งก่อนตอบว่า ได้ แต่ต้องเป็นผู้สังเกตการณ์ได้อย่างเดียว ไม่เปิดโอกาสให้ซักถาม (สรุป ไม่มีนักศึกษากลุ่มปกติไปเข้าติวในกลุ่มพิเศษ)

          6. อาจารย์เล่าถึงสถิติการสอบผ่านของกลุ่มพิเศษในปีที่ผ่านๆมาให้นักศึกษาได้ทราบ

          7. อาจารย์อธิบายความสำคัญของแต่ละเนื้อหาแต่บทเพื่อให้นักศึกษาแบ่งเวลาในการทบทวนแต่ละบทได้เหมาะสม

          8. อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีการติวว่า นักศึกษาคิดว่าวิธีใดน่าจะทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้มากกว่ากันระหว่าง

                    วิธีที่1 อาจารย์อธิบายสาระสำคัญและเปิดโอกาสให้ซักถามในเนื้อหาแต่ละส่วนตั้งแต่แรกจนจบ แล้วจึงไปเฉลยข้อสอบรวบยอดเครือข่ายภาคกลางที่สอบไปแล้ว ตามด้วยการฝึกทำข้อสอบ

                    วิธีที่ 2 อาจารย์อธิบายสาระสำคัญและเปิดโอกาสให้ซักถามในเนื้อหาแต่ละบท แล้วจึงไปเฉลยข้อสอบรวบยอดเครือข่ายภาคกลางในส่วนเนื้อหานั้น   ตามด้วยการฝึกทำข้อสอบอื่นๆในแต่ละเนื้อหานั้น

          ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่เลือกวิธีที่2

          9. อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีการฝึกทำข้อสอบ (ช่วงสุดท้ายของการติว) ว่า นักศึกษาคิดว่าวิธีใดน่าจะทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้มากกว่ากันระหว่าง

                    วิธีที่1 อาจารย์นำข้อสอบขึ้นบนจอทีละข้อ  แล้วนักศึกษาทำไปทีละข้อ และเฉลยไปทีละข้อ (สอนวิธีการตีโจทย์ การตัดตัวเลือก)

                    วิธีที่2 แจกข้อสอบให้นักศึกษาแต่ละคนทำที่ละชุด (ชุดละ 75ข้อ)ให้เสร็จ แล้วเฉลยทีเดียว(สอนวิธีการตีโจทย์ การตัดตัวเลือก)

                    วิธีที่3 แจกข้อสอบให้นักศึกษาทำเป็นรายกลุ่มๆละ5 คน ทีละชุด (ชุดละ 75ข้อ)ให้เสร็จ แล้วเฉลยทีเดียว (สอนวิธีการตีโจทย์ การตัดตัวเลือก)

          ซึ่งนักศึกษาเลือกวิธีการที่2 โดยให้เหตุผลว่าแต่ละคนใช้เวลาในการคิดแต่ละข้อนานไม่เท่ากัน วิธีการที่1 และ3ทำให้นักศึกษาบางคนยังไม่ทันได้คิดแต่เพื่อนตอบแล้ว

          10. อาจารย์ให้ข้อมูลแก่นักศึกษาว่านักศึกษาสามารถเสนอแนะวิธีการติวหรือปรับเปลี่ยนข้อตกลงได้ตลอดเวลาหากมีเหตุผลที่เห็นว่าจะเป็นการดีต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา

          11. วันที่ 5 มกราคม 2554 เวลา 8.00-16.00 และ18.00-21.00 น.ดำเนินการติวตามที่ได้ตกลงร่วมกับนักศึกษาโดยอาจารย์วางแผนการใช้เวลาในเนื้อหาแต่ละส่วนให้เหมาะสมตามความสำคัญของแต่ละเนื้อหา(ตาม blueprint) โดยภาคเช้าติวconcept  บทที่ 1 -3 และฝึกทำตัวอย่างข้อสอบท้ายแต่ละเนื้อหาทีละข้อพร้อมกับเฉลยวิธีการวิเคราะห์โจทย์ และการตัดตัวเลือก ภาคบ่ายติวconcept บทที่4 -6และฝึกทำตัวอย่างข้อสอบท้ายแต่ละเนื้อหาทีละข้อพร้อมกับเฉลยวิธีการวิเคราะห์โจทย์ และการตัดตัวเลือก ซึ่งพบว่านักศึกษาเข้าร่วมการติวทุกคนตามเวลาที่กำหนด ทุกคนมีความตั้งใจ มีเพียง 1 คนที่สัปหงกและ 18.00-21.00 น. เฉลยข้อสอบรวบยอดเครือข่ายภาคกลางปีการศึกษา2553 ชุดที่ 1 และ 2

          12. ประเมินผลการติวในวันแรกโดยสอบถามความคิดเห็น ปัญหา/อุปสรรค เพื่อปรับแก้ในการติวครั้งต่อไป โดยเฉพาะนักศึกษาที่สัปหงก แนะนำให้นักศึกษาที่รู้ตัวว่าง่วงขึ้นมานั่งแถวหน้า

          13. ประเมินผลการติวในวันแรกโดยแบบสอบถามความคิดเห็น  พบว่านักศึกษากลุ่มพิเศษทุกคนพึงพอใจกับการติวมาก  โดยบอกว่าทำให้ตนเองเข้าใจมากขึ้นมาก และเสนอให้ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มพิเศษในการติวรอบ2 ก่อนสอบรวบยอดของม.บูรพา

          14. ดำเนินการติวรอบที่ 2   ตามตารางที่ฝ่ายวิชาการจัดให้ โดยยังแยกนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม เช่นเดิม

                    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 8.00-12.00 ทบทวนconcept เนื้อหาบทที่ 1- 3 แล้วให้ฝึกทำข้อสอบบนจอทีละข้อ และเฉลยวิธีการวิเคราะห์โจทย์ วิธีพิจารณาตัวเลือกและวิธี ตัดตัวเลือก ทีละข้อ

                    เวลา 13.00-16.00 น.ทบทวนconcept เนื้อหาบทที่ 4 และ 6   แล้วให้ฝึกทำข้อสอบบนจอทีละข้อ และเฉลยวิธีการวิเคราะห์โจทย์ วิธีพิจารณาตัวเลือกและวิธี ตัดตัวเลือก ทีละข้อ

                    เวลา  18.00-21.00 ทบทวนconcept เนื้อหาบทที่ 5  แล้วให้ฝึกทำข้อสอบบนจอทีละข้อ และเฉลยวิธีการวิเคราะห์โจทย์ วิธีพิจารณาตัวเลือกและวิธี ตัดตัวเลือก ทีละข้อ

                    วันที่ 24 มกราคม 2554 สอบรวบยอดสถาบันพระบรมราชชนกในวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช พบว่านักศึกษา กลุ่มพิเศษจำนวน 12 ใน 17 คน สอบผ่านเกณฑ์ 60 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 70.59

                     เฉลยข้อสอบรวบยอดสถาบันพระบรมราชชนกโดยสอนวิธีการวิเคราะห์โจทย์ เน้นย้ำ CONCEPT  สำคัญในเรื่องนั้นๆ  วิธีพิจารณาตัวเลือกและวิธีตัดตัวเลือก อธิบายเพิ่มเติมในตัวเลือกที่นักศึกษาเลือกผิด

          15. สอบครั้งที่ 2 โดยใช้ข้อสอบรวบยอด ม.บูรพาประจำปีการศึกษา 2553  ในวันที่ 17กุมภาพันธ์ 2554 ติดตามผลการสอบครั้งที่2  เปรียบเทียบกับการสอบครั้งแรก ซึ่งพบว่า นักศึกษากลุ่มพิเศษทั้ง 17 คน สอบผ่านที่เกณฑ์ 70 เปอร์เซ็นต์ ทุกคน  คิดเป็นร้อยละร้อย

     หมายเหตุ  โดยนักศึกษาในกลุ่มพิเศษที่ได้คะแนนสูงสุดทำคะแนนได้ถึง    67 คะแนน จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน (นักศึกษาที่ทำคะแนนสูงสุดในรุ่นทำได้ 68 คะแนน)

          16. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เฉลยข้อสอบ ม.บูรพา  โดยสอนวิธีการวิเคราะห์โจทย์ วิธีพิจารณาตัวเลือกและวิธี ตัดตัวเลือก อธิบายเพิ่มเติมในตัวเลือกที่นักศึกษาเลือกผิด

          17. ประเมินผลความพึงพอใจในการติว พบว่านักศึกษากลุ่มพิเศษมีความพึงพอมากต่อเอกสารประกอบการติวมาก เพราะปริมาณเอกสารที่ลดน้อยลงทำให้มีกำลังใจในการอ่าน และจดจำสาระสำคัญได้ดี  รวมทั้งมีความพึงพึงอใจในการติวมาก โดยให้เหตุผลว่าการติวแยกเฉพาะกลุ่มพิเศษซึ่งมีนักศึกษากลุ่มละ 17 คน ทำให้มีสมาธิมากขึ้นกว่าการติวรวมห้องใหญ่ (เพราะในห้องใหญ่มักจะมีเพื่อนที่คุยกันทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิ  การนั่งไกลๆก็ทำให้สมาธิลดลง)  อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด รวมทั้งเน้นย้ำในเนื้อหาที่สำคัญ และเปิดโอกาสให้ซักถามตลอดเวลา ทำให้ตนเองกล้าที่จะซักถามในเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจหรือยังไม่แน่ใจความรู้สึกเกรงใจเพื่อนและอายเพื่อนจากการถามคำถามหายไป  ทุกครั้งที่ถามทำให้ตนเองและเพื่อนคนอื่นเข้าใจมากขึ้น และทำให้มีกำลังใจมากขึ้น และมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ติว

สรุปปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสิทธิผลของการติวสูง ได้แก่

          1. เอกสารประกอบการติวที่อาจารย์เตรียมให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมก่อนการติว

          2. การแยกนักศึกษาเฉพาะกลุ่มที่มีคะแนนตำซึ่งมีจำนวนไม่มาก (17 คน) ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา

          3. อาจารย์อธิบายละเอียดในสาระสำคัญในแต่ละบท เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม นักศึกษาสามารถซักถามในส่วนที่ตนไม่เข้าใจ อาจารย์เพิ่มเติมในส่วนที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ

          4. มีการฝึกทำข้อสอบตาม blueprint เสมือนข้อสอบจริง โดยสอนวิธีการวิเคราะห์โจทย์ วิธีพิจารณาตัวเลือกและวิธี ตัดตัวเลือก อธิบายเพิ่มเติมในตัวเลือกที่นักศึกษาเลือกผิด

          5. นักศึกษาทุกคนมีความรับผิดชอบในตนเอง  เข้าติวตรงเวลาตามกำหนดทุกคน ทุกครั้ง และมีความตั้งใจในการติวทุกครั้ง

Print Friendly
ผู้เขียน อ.อรัญญา บุญธรรม (ประวัติการเขียน 17 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์


Tags: , , , , , ,

Comments are closed.