ประโยชน์ของการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ ในงานส่งเสริมสุขภาพจิต

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง “ประโยชน์ของการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ ในงานส่งเสริมสุขภาพจิต” ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.อรัญญา  บุญธรรม วันที่ประชุม     20  กันยายน 2555 อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ 2. อ.อรัญญา     บุญธรรม 3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม 4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม 5. อ.ลลนา        ประทุม 6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์ 7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการจัดโครงการบูรณาการการเรียนการสอนให้นักศึกษาพยาบาลได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในโครงการบริการวิชาการแก่สังคมด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชนเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างยิ่ง เพราะแต่ละคนต่างมีศักยภาพที่มีความเด่นแตกต่างกัน  นักศึกษาพยาบาลมีความรู้ด้านตำราแต่ขาดทักษะและประสบการณ์ด้านการทำงานในชุมชน  ส่วนอสม.มีทักษะในการอยู่ร่วมกับชุมชนแต่อาจจะขาดองค์ความรู้เชิงวิชาการ ต่างคนต่างถ่ายทอดประสบการณ์ที่ตนเองมี ต่างเติมเต็มให้แก่กันและกัน สิ่งที่ได้คือประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่า ซึ่งหาไม่ได้จากตำราใดๆ  บทบาทและบุคลิกภาพของนักศึกษาพยาบาลที่เข้าไปปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตให้แก่ชุมชนได้  เป็นที่รักใคร่และยอมรับของคนในชุมชนคือ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือว่าตนเองมีความรู้เหนือกว่าคนในชุมชน  ยอมรับและรับฟังปัญหาของเขาโดยไม่ใช้ตนเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจแทนผู้อื่น  เอาใจใส่ที่จะช่วยเหลือทั้ง case และครอบครัวอย่างเต็มใจ [...]

Tags: , , , ,

กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง “กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต” ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม วันที่ประชุม     13  กันยายน 2555 อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ 2. อ.อรัญญา     บุญธรรม 3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม 4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม 5. อ.ลลนา        ประทุม 6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์ 7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการในโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตของคนในชุมชนที่ทำให้อสม.ได้ใช้ศักยภาพของเขาในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ลดปัญหาการฆ่าตัวตาย สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านจิตใจให้แก่คนในชุมชนนี้ได้เกิดจาก กระบวนการ 3 ข คือ เข้าใจ เข้าถึง เข้าร่วมพัฒนา โดยมีกลยุทธ์ดังนี้ เข้าใจ ใช้วิธีการให้ความรู้ทางภาคทฤษฎี โดยการจัดประชุมอบรมให้ความรู้เพื่อเป็นฐานความรู้เรื่องสุขภาพจิตและบทบาทการทำงานของอสม. เข้าถึง  เป็นการนำความรู้จากภาคทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการลงฝึกปฏิบัติกับคนในพื้นที่จริงโดยมีอาจารย์พยาบาลเป็นผู้นิเทศการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด เข้าร่วมพัฒนา [...]

Tags: , , , , ,

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง “ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน” ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม วันที่ประชุม  4 กันยายน 2555 อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ 2. อ.อรัญญา     บุญธรรม 3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม 4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม 5. อ.ลลนา        ประทุม 6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์ 7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. การจัดทำโครงการใดๆนั้น ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญหาที่พบ และทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาแล้วจึงจัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 2.  การดำเนินการนั้นควรอยู่ในเนื้องานของบุคคล  เพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะการปฏิบัติในงานของตน และจะไม่รู้สึกว่าเสียเวลาในการมาอบรมเพราะสิ่งที่เขาได้คือการพัฒนางานของเขานั่นเอง 3. งานสุขภาพจิตชุมชนต้องอาศัยใจในการเยียวยา  ในการทำงานจึงต้องคำนึงถึงใจผู้ปฏิบัติงานให้มาก เมื่อใดเกิดความรู้สึกไม่เข้าใจกัน จะทำให้เกิดความท้อแท้และการปฏิบัติงานจะสะดุดก้าวต่อไปได้ยากหรืออาจจะล้มได้เลย ถึงแม้ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดกับบุคคลเพียงแค่คนเดียว แต่ควรคำนึงว่าทุกคนคือน๊อตตัวสำคัญ ขาดคนหนึ่งคนใดงานจะไม่ประสบผลสำเร็จ  การให้กำลังใจ [...]

Tags: , , ,

รวมพลังสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน

สรุปผล  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ประจำภาควิชา, งานพัฒนาบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง  รวมพลังสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน จัดโดย 1. คณะกรรมการดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข 2. แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 3.  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 4. สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 5. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 6. วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ทำหน้าที่จัดประชุมสัมมนาพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ระดับเขต ผู้เขียน  อาจารย์วราภรณ์  จรเจริญ ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจารย์พัทธยา  เกิดกุล, อาจารย์จารุณี ตฤณมัยทิพย์, อาจารย์ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์, อาจารย์ศรีสกุล  เฉียบแหลม, อาจารย์คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร, อาจารย์เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, อาจารย์โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ, อาจารย์อรัญญา บุญธรรม, อาจารย์เชษฐา แก้วพรม, อาจารย์มงคล ส่องสว่างธรรม, อาจารย์ลลนา ประทุม, อาจารย์จันทรมาศ เสาวรส, อาจารย์จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์, อาจารย์วารุณี สุวรวัฒนกุล, อาจารย์ยศพล เหลืองโสมนภา, อาจารย์ลลิตา เดชาวุธ [...]

Tags: , , , ,

Up date การวัดความดันโลหิต

ประธาน อ. อรัญญา บุญธรรม ผู้บันทึกการเรียนรู้ อ. ลลนา ประทุม อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. อ.วราภรณ์ จรเจริญ 2. อ.โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ 3. ดร.เชษฐา แก้วพรม 4. อ. มงคล ส่องสว่างธรรม 5. ดร. ศรีสกุล เฉียบแหลม           จากการเตรียมการสอนภาคทดลองวิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล ฐาน การตรวจสอบสัญญาณชีพ โดยการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆพบมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวัดความดันโลหิตในบางขั้นตอน กล่าวคือ แต่เดิมในการพัน Cuff นั้นจะต้องให้สายยางของเครื่องวัดความดันทั้ง 2 สายคร่อมบริเวณ Bracial Pulse ซึ่งในตำราก็ไม่ได้ระบุเหตุผลว่าเพราะเหตุใด แต่จากการรวบรวมเอกสารเรื่องการวัดความดันโลหิตพบว่าตำราใหม่ๆทั้งตำราภาษาไทย และ Text book ใช้วิธีพัน Cuff โดยให้กึ่งกลางของ Bladder (ถุงลม) ทับบริเวณ Bracial Pulse ซึ่งการพัน Cuff ด้วยวิธีใหม่นี้จะทำให้ส่วนกลางของถุงลมซึ่งจะขยายตัวก่อนบริเวณอื่นเกิดแรงกดมากที่สุดซึ่งกั้นเลือดได้เร็วขึ้นโดยไม้ต้องบีบลมจนเต็ม Cuff [...]

Tags: , , ,