สาระสำคัญของการเรียนรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของบุคลากรทางสาธารณสุข

การจัดการความรู้ด้านการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ
สาระสำคัญของการเรียนรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของบุคลากรทางสาธารณสุข
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554
ประธานการประชุม:
อ.ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ
ผู้เข้าร่วมประชุม
     1. อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์
     2. อ.ดร.พรฤดี นิธิรัตน์
     3. อ.ดร.ปิ่นนเรศ กาศอุดม
     4. อ.คณิสร แก้วแดง

สาระสำคัญของการเรียนรู้จากการอบรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของบุคลากรทางสาธารณสุข
     สาระสำคัญที่สรุปได้คือ “ต้องทำให้ทุกขั้นตอนของการวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก น่าสนใจ และทำวิจัยแล้วผู้วิจัยรู้สึกว่าตนเองฉลาดขึ้น”

     จากประสบการณ์ที่ได้ดำเนินโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยให้กับบุคลากรทางสาธารณสุขและจากการเป็นวิทยากรบรรยายและวิทยากรพี่เลี้ยงตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการอบรม ซึ่งรวมทั้งหมดประมาณ 7 วงรอบ คณาจารย์ที่ร่วมทีมงานดังกล่าวมีข้อสรุปสาระสำคัญขององค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผลงานวิจัยและการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยให้กับบุคลากรทางสาธารณสุข ดังนี้ [...]

Tags: , , , , , ,

การเตรียมนักศึกษาสอบใบประกอบวิชาชีพฯ วิชาการพยาบาลมารดาและทารกและวิชาการผดุงครรภ์

….สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้…..

การเตรียมนักศึกษาให้มีความพร้อมในการสอบ

ใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสูง

รายวิชาการพยาบาลมารดาและทารกและวิชาการผดุงครรภ์

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

ปีการศึกษา 2553

………………………………………………………………………

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ.ขนิษฐา      เมฆกมล                             2. อ.อารีรัตน์     วิเชียรประภา

3. ดร.กมลทิพย์  ตั้งหลักมั่นคง                        4. อ.จันทร์เพ็ญ  อามพัฒน์

5. อ.ธนพร       ศนีบุตร                                6. อ.ทิพวรรณ    ลิ้มประไพพงษ์

7. อ.จันทรมาศ   เสาวรส                              8. อ.เพ็ญนภา    พิสัยพันธุ์

9. อ.จรัญญา     ดีจะโปะ                             10. อ.วรัญญา    ชลธารกัมปนาท

11. อ.นริชชญา  หาดแก้ว                           12. อ.โสระยา    ซื่อตรง

       การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ในการเตรียมนักศึกษาให้มีความพร้อมสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสูง  รายวิชาการพยาบาลมารดาและทารกและวิชาการผดุงครรภ์ สรุปสิ่งที่ได้ ดังนี้

ผู้สอน

  • มีการวางแผนการติวโดยการบูรณาการเนื้อหาในรายวิชามารดาและทารกและวิชาการผดุงครรภ์  โดยนำเนื้อหามาต่อยอดกันจากวิชาการพยาบาลมารดาและทารกไปสู่วิชาการผดุงครรภ์ ตาม Blueprint รายวิชา
  • Ÿ จัดแบ่งเวลาโดยดูว่าเนื้อหาส่วนใดที่ค่อนข้างยาก ใช้เวลาในการทำความเข้าใจ จะให้จำนวนชั่วโมงในการติวในเนื้อหานั้นมาก
  • Ÿ วางแผนผู้ติวโดยอาจารย์ท่านใดสอนหัวข้อไหนจะให้ติวในหัวข้อนั้นๆเพราะอาจารย์จะมีความชำนาญในหัวข้อนั้นๆเป็นอย่างดี

[...]

Tags: , , ,

อาหาร การออกกำลังกาย กับข้อเสื่อม

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่ 2  วันที่   16  กุมภาพันธ์ 2554  เวลา 13.30-16.00 น.

ณ ห้องลีลาวดี โรงพยาบาลพระปกเกล้า

เรื่อง อาหาร การออกกำลังกาย กับข้อเสื่อม

วิทยากร นายแพทย์วินัย บรรจงการ     นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางออร์โธปิดิกส์

นางนภาพร  เฉลิมพรพงศ์      พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ทางด้านการพยาบาลออร์โธปิดิกส์

ผู้เข้าร่วมประชุม

จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน 15 คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  43 คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  58  คน

สรุปรายงานการประชุม

สรุปประเด็นสำคัญจาก การนำเสนอของ นพ. วินัย บรรจงการ

  • ข้อเข่าเป็นข้อที่เสื่อมได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นข้อที่รับน้ำหนักร่างกายมาก ความเสื่อมเกิดจาก cartilage ถูกขัดสี แล้วปล่อยสารออกมาทำให้ข้ออักเสบ (Osteoarthritis) ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการใช้งานมาก
  • เมื่ออายุมากขึ้นน้ำหล่อข้อลดลง การเคลื่อนไหวจะเกิดการขัดสีมากขึ้นจึงเกิดความเสื่อมได้ง่าย
  • โดยปกติ เยื่อหุ้มข้อถ้าสึก จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วย เพราะไม่มีเลือดไปเลี้ยง ได้อาหารจากการซึมผ่านจาก synovial fluid  อาการเจ็บปวดที่ข้อ เกิดจากการเสียดสี ลุกลามไปที่กระดูก
  • การผ่าตัดซ่อมแซม (repair)  จะไม่สามารถทำให้ข้อมีสภาพเหมือนเดิมได้ เพราะอาจมีการงอกของกระดูก (spur)
  • โดยธรรมชาติ ทุกข้อมีกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง เมื่อได้รับการกระทบกระเทือน แต่ต้องใช้เวลา ดังนั้น ถ้ามีการขัดสีมากๆ บ่อยๆ การซ่อมแซมข้อโดยธรรมชาติจึงเกิดขึ้นไม่ทัน ทำให้ข้อเสื่อมลงเรื่อยๆ
  • ในผู้สูงอายุ cartilage จะบางกว่าเด็ก ทำให้เกิดการขัดสีได้มากกว่า
  • การวินิจฉัย cartilage เสื่อม หรือฉีกขาด ไม่สามารถเห็นได้จาก x-ray เพราะโดยปกติ x-ray ไม่เห็น cartilage
  • สาเหตุ ของข้อเสื่อม ได้แก่ อายุมากขึ้น พันธุกรรม มี inflammation ของข้อ มี joint injury หรือมี medical conditions เช่น SLE
  • Risk factors ของข้อเสื่อม ได้แก่ สูงอายุ  ผู้หญิง  อ้วน เคยมีข้อบาดเจ็บมาก่อน  การออกกำลังกาย เช่นกีฬาบางประเภท ที่มีการกระแทกต่อข้อโดยตรง อย่างรวดเร็วและรุนแรง
  • การนั่งยองและการวิ่งเหยาะๆ ทำให้ข้อเข่าได้รับน้ำหนักกระทบที่ข้อเข่าประมาณ 7 เท่าของน้ำหนักตัว
  • อาการของข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ อาการเจ็บปวดเมื่อพักแล้วทุเลาลง  และปวดมากขึ้นถ้ามีอาการลุกลามไปที่กระดูกมากขึ้น ถ้าเป็นนานๆ จะมีอาการข้อติดได้
  • การรักษา ทำได้โดย การปรับเปลี่ยนกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การใช้ยา และการผ่าตัดถ้าใช้ยาแก้ปวดแล้วอาการปวดไม่ทุเลา
  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา ทำโดย ให้พักข้อที่อักเสบ 12-24 ชม.  ลดน้ำหนัก  ทำกายภาพบำบัด ใช้อุปกรณ์ช่วย ประคบร้อน/เย็น การออกกำลังกายในน้ำเพื่อการบริการข้อโดยไม่มีแรงมากระทบที่ข้อมากเกินไป
  • การรักษาด้วยยา มีจุดประสงค์เพื่อ [...]

Tags: , , , , ,

การเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการสอบรับใบอนุญาตฯ วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ปีการศึกษา 2553

การพัฒนานักศึกษาโครงการปกติกลุ่มพิเศษในการสอบเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ปีการศึกษา 2553

กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาโครงการปกติ กลุ่มพิเศษ

          นักศึกษาโครงการปกติกลุ่มพิเศษ  หมายถึง นักศึกษาปี4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า ทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้คะแนนในการสอบรวบยอดเครือข่ายภาคกลางครั้งที่ 1  วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช น้อยกว่า 34 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน) จำนวน 17 คน

ระยะเวลาดำเนินการวิจัยวิจัย วันที่ 5 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 22 กุมภาพันธ์2554

วิธีดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย

          1. ทำเอกสารสรุปสาระสำคัญตามblueprint วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช แจกให้นักศึกษาก่อนการติวประมาณ 1 เดือน

          2. อาจารย์เตรียมข้อสอบที่จะใช้ให้นักศึกษาในการฝึกทำโจทย์(ข้อสอบเสมือนข้อสอบรวบยอด)

          3. แบ่งกลุ่มนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ปี 4 โครงการปกติออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มพิเศษวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชโดยเรียงลำดับการสอบรวบยอดครั้งที่1วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช จากคะแนนจากต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด แล้วคัดรายชื่อนักศึกษาจากคะแนนต่ำสุดขึ้นไป จำนวน  17  %ซึ่งมีจำนวน  17  คน (คะแนนอยู่ในช่วง 23-33 จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน) ส่วนนักศึกษาที่เหลือ จำนวน  85  คน เรียกว่ากลุ่มปกติ และแจ้งให้นักศึกษาทราบ

          4. อธิบายให้นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ปี 4 โครงการปกติทราบเกี่ยวกับเหตุผลและวิธีการติวในแต่ละกลุ่ม

          5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และซักถาม นักศึกษากลุ่มปกติถามว่านักศึกษาที่อยู่กลุ่มปกติสามารถไปเข้าในกลุ่มพิเศษได้หรือไม่  อาจารย์อธิบายที่มาของการแยกกลุ่มติวอีกครั้งก่อนตอบว่า ได้ แต่ต้องเป็นผู้สังเกตการณ์ได้อย่างเดียว ไม่เปิดโอกาสให้ซักถาม (สรุป ไม่มีนักศึกษากลุ่มปกติไปเข้าติวในกลุ่มพิเศษ)

          6. อาจารย์เล่าถึงสถิติการสอบผ่านของกลุ่มพิเศษในปีที่ผ่านๆมาให้นักศึกษาได้ทราบ

          7. อาจารย์อธิบายความสำคัญของแต่ละเนื้อหาแต่บทเพื่อให้นักศึกษาแบ่งเวลาในการทบทวนแต่ละบทได้เหมาะสม

          8. อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีการติวว่า นักศึกษาคิดว่าวิธีใดน่าจะทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้มากกว่ากันระหว่าง [...]

Tags: , , , , , ,

การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 สอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553 [ประชุมครั้งที่ 2]

รายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 สอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553

นักศึกษารุ่นที่ 43  จำนวนทั้งหมด 279 คน

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ และอาจารย์ผู้สอน

การประชุม ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554


ประธานการประชุม: อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร  ประธานการประชุม

ผู้บันทึกการประชุม: อ.มัณฑนา  เหมชะญาติ                                

ผู้เข้าร่วมประชุม

1.             อ.มัณฑนา  เหมชะญาติ                                7.   อ.จิตติยา     สมบัติบูรณ์

2.             อ.รัชสุรีย์    จันทเพชร                                  8.   อ.ขนิษฐา    เมฆกมล

3.             อ.ธนพร      ศนีบุตร                                     9.   อ.ลลนา       ประทุม

4.             อ.นันทวัน  ใจกล้า                                      10.  อ.รสสุคนธ์  เจริญสัตย์ศิริ

5.             อ.สุชาดา     นิ้มวัฒนากุล                            11.  อ.นครินทร์  สุวรรณแสง

6.             อ.จันทร์เพ็ญ  อามพัฒน์

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ในช่วงของการสอนเสริมเพื่อเตรียมนักศึกษาสอบสภาฯ  ระหว่างวันที่ 5 มกราคม ถึง 11 กุมภาพันธ์ 2554 แต่ละรายวิชาได้มีการเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบ ดังนี้

1. วิชาการผดุงครรภ์และวิชาการพยาบาลมารดาและทารก

อาจารย์ของภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ สอนเสริมให้กับนักศึกษา โดยรวม 2 รายวิชานี้เข้าด้วยกัน เพราะเนื้อหามีความเกี่ยวเนื่องกัน ใช้การสอนด้วยการติว  concepts หลังทำข้อสอบ สบช. ชุดที่ 2  และหลังการติว  concepts ให้นักศึกษาทำข้อสอบทั้ง 2 วิชาอีก 1 ชุด ให้เวลาทำข้อสอบชุดละประมาณ 2 ชั่วโมง เพราะนักศึกษาทำไม่ทันภายในเวลา 75 นาทีที่กำหนด หลังจากทำข้อสอบแล้ว มอบหมายให้นักศึกษาจับคู่กันเพื่อเฉลยและอธิบายคำตอบคู่ละ 1-2 ข้อ โดยให้นักศึกษาอธิบายหน้าชั้นเรียนและอาจารย์เพิ่มเติมหรือแก้ไขถ้านักศึกษาอธิบายไม่ครอบคลุมหรือไม่ถูกต้อง

ปัญหาที่พบ คือ  (1) concept บางอย่างที่ใช้ในการปฏิบัติ ไม่ตรงกับทฤษฎี  แก้ไขโดยให้ใช้ตามแนวคิดทางทฤษฎีเป็นหลัก และ (2) นักศึกษาเข้าห้องเรียนช้าทำให้ ทำข้อสอบไม่ทัน จึงต้องเพิ่มเวลาในการทำข้อสอบให้กับนักศึกษา ดังนั้น ขอให้ฝ่ายวิชาการเข้มงวดการใช้เวลาในการทำข้อสอบเมื่อจัดการสอบรวบยอดแต่ละครั้ง โดยใช้เวลาเท่ากับเวลาที่สภาการพยาบาลจัดให้ในแต่ละรายวิชา

2. วิชาการพยาบาลเด็ก

อาจารย์ของภาควิชาเด็กฯ จัดให้นักศึกษาทำข้อสอบ โดยให้เวลาข้อละ 1 นาที ตามการสอบจริงที่สภาฯ หลังจากทำข้อสอบแล้ว อาจารย์เฉลยข้อสอบพร้อมทั้งอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม นอกจากนั้นมีการติว concept ตาม Blueprint ของสภาฯ  สำหรับช่วง 18-21 น.ให้นักศึกษาทำข้อสอบเพื่อทบทวนความเข้าใจอีกครั้ง โดยให้เวลาข้อละ 1 นาที แล้วเฉลยหลังจากที่นักศึกษาทำข้อสอบเสร็จ

ประเด็นที่อาจารย์ได้เรียนรู้ คือ การติวที่มีประสิทธิภาพ อาจารย์ผู้สอนแต่ละคนต้องสามารถอธิบายเนื้อหาทั้งรายวิชาได้ เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหาแบบเชื่อมโยงและจำได้ดียิ่งขึ้น

ปัญหาที่พบ คล้ายกับวิชาการผดุงครรภ์และวิชาการพยาบาลมารดาและทารก คือนักศึกษาบางกลุ่มเข้าห้องเรียนช้าอยู่เป็นประจำ

3. วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

ในช่วงแรกของการติวที่ฝ่ายวิชาการจัดเวลาให้วิชาละ 2 วัน วันแรกมีการติว concept โดยอาจารย์หลายคน คนละหนึ่งประเด็นหลักๆ เพื่อให้อาจารย์มีการเตรียมเนื้อหาที่จะสอนได้อย่างลึกซึ้ง และทำข้อสอบในช่วง 18-21 น. แล้วเฉลย  สำหรับวันที่สอง ติว concept เพิ่มเติม และทำข้อสอบอีกหนึ่งชุด เฉลยและอธิบายหลังการสอบ ส่กระดาษคำตอบให้งานประมวลผลวิเคราะห์ผลการสอบและข้อสอบ เพื่อการหาจุดอ่อน (เนื้อหาที่ยังทำข้อสอบไม่ได้/ได้น้อย) ของนักศึกษา ซึ่งในรอบนี้พบว่านักศึกษายังทำคะแนนได้น้อยในส่วนของนรีเวช  EENT การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต

ปัญหาที่พบ คือ (1) ห้องเรียน ของนักเรียนกลุ่ม 1 และ 3 กว้างเกินไป ทำให้อาจารย์สอดส่องพฤติกรรมไม่ทั่วถึง แก้ไขโดยอาจารย์ต้องพยาบาลกระตุ้นความสนใจของนักศึกษาให้ทั่วถึงโดยเฉพาะนักศึกษาที่นั่งหลังห้อง ซึ่งมักเป็นนักศึกษาชายและเข้าห้องเรียนช้า (2) มีนักศึกษาประมาณห้องละ 10% ไม่เข้าเรียนในช่วงเย็น 18-21 น. นอกจากนั้น ยังมีบางคนไม่เข้าติวในช่วงเวลากลางวันด้วย อาจารย์ผู้สอนยังไม่สามารถหาวิธีจัดการหรือช่วยเหลือนักศึกษากลุ่มนี้ได้  และ(3) จากผลการทดสอบ พบว่านักศึกษาบางคนมีคะแนนต่ำมาก อาจต้องแยกมาสอนเสริมเพิ่มเติม ถ้าผลการสอบของ ม.บูรพายังมีคะแนนต่ำอยู่

4. วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ

ในการสอนเสริม 2 วัน มีกิจกรรมดังนี้

- วันแรก เริ่มจากให้นักศึกษาทำความเข้าใจขอบเขตเนื้อหาวิชาจาก Blueprint เพราะไม่มีรายวิชานี้ในหลักสูตร

- สอนและแนะนำให้นักศึกษาทำสมาธิ

- ให้นักศึกษาทำข้อสอบ 2 ชุด (ชุดละ 40 ข้อ) หลังจากนั้น อาจารย์ตรวจคำตอบและวิเคราะห์ว่าเนื้อหาส่วนใดบ้างที่นักศึกษายังทำข้อสอบได้น้อย ในช่วงเวลาเดียวกันนี้มอบหมายให้นักศึกษาจับคู่กันค้นหาคำตอบ แล้วเฉลยหน้าชั้นเรียน อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม

- วันที่สอง ให้นักศึกษาทำข้อสอบอีกหนึ่งชุด โดยใช้เวลา  40 นาที อาจารย์ตรวจให้คะแนนและเฉลยคำตอบแก่นักศึกษาทั้งชั้นเรียน  ผลการทำข้อสอบในวันที่สองนี้ นักศึกษาทำคะแนนได้มากขึ้น

ปัญหาที่พบ คือ นักศึกษาไม่สามารถแยกแยะเนื้อหาผู้สูงอายุจากวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพในหลักสูตรได้ แก้ไขโดยใช้ blueprint แยกขอบเขตของเนื้อหาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ

5. วิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์

- อาจารย์ผู้สอนทำเอกสารประกอบการสอนโดยใช้ blueprint ในการกำหนดขอบเขตของเนื้อหา โดยแจกให้นักศึกษาก่อนฝึก elective เน้นความเข้าใจตาม concept ที่สำคัญก่อนการทำข้อสอบ

- จัดแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มอ่อน โดยการใช้คะแนนสอบ 60% เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง มีนักศึกษากลุ่มอ่อนห้องละประมาณ 20 คน รวม 60 กว่าคน

- หลังทำข้อสอบ สบช. แล้ว จัดกลุ่มใหม่ตามคะแนนที่ได้ โดยใช้เกณฑ์เดิม คือ 60%

- ติว concept โดยอาจารย์ 4 คน ร่วมกันติวตามเนื้อหาที่ถนัด

- ทดสอบความรู้โดยใช้ข้อสอบ 75 ข้อ ในช่วง 18-21 น. ให้ทำข้อสอบแล้วเฉลย

ปัญหาที่พบเหมือนรายวิชาอื่นๆ คือ นักศึกษาบางส่วนเข้าห้องเรียนช้า หรือไม่เข้าในบางช่วงเวลา

6. วิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

- ให้นักศึกษาทดสอบความรู้โดยใช้ข้อสอบวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 1 ชุด (60 ข้อ ให้เวลา 60 นาที)  เพื่อดูว่านักศึกษายังขาดความเข้าใจเนื้อหาส่วนใดบ้าง

- ทำเอกสารสรุปเนื้อหาในประเด็นที่สำคัญ ใช้ประกอบการสอน

- ให้นักศึกษาทำข้อสอบอีกหนึ่งชุด (60 ข้อ ให้เวลา 60 นาที) เพื่อประเมินความก้าวหน้า หลังจากนั้นอาจารย์เฉลยและอธิบายสู่ concept ชี้ประเด็นในการวิเคราะห์โจทย์ และตัวเลือก

ปัญหาที่พบเหมือนรายวิชาอื่นๆ คือ นักศึกษาบางส่วนเข้าห้องเรียนช้า หรือไม่เข้าในบางช่วงเวลา

7. วิชาการรักษาพยาบาลขั้นต้น

มีเวลาสำหรับการสอนเสริม 1 วัน เนื่องจาก เนื้อหาและข้อสอบของสภาฯ น้อยกว่าวิชาอื่น

- ในช่วงเช้าอธิบายเนื้อในประเด็นที่สำคัญ และให้นักศึกษาทำข้อสอบ

- ช่วงบ่ายติวโดยใช้ข้อสอบ อาจารย์สรุปประเด็นสำคัญ

- ช่วงเย็น 18-21 น. ให้นักศึกษาทำข้อสอบจำนวน 65 ข้อ โดยให้นักศึกษาอ่านและทำพร้อมๆกัน

ประเด็นที่อาจารย์ได้เรียนรู้ คือ อาจารย์ต้องพูดซ้ำๆ หรือเชื่อมโยงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อย้ำให้นักศึกษากลุ่มอ่อนและปานกลาง ตามทันหรือตอกย้ำให้นักศึกษาจำได้แม่นยำขึ้น

8. วิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล

มีเวลาสำหรับการสอนเสริมในช่วงนี้ 2 วัน เริ่มต้นด้วยการทำข้อสอบ แล้วให้นักศึกษาเปลี่ยนกันตรวจ ประเมินคะแนนของแต่ละคน หลังจากนั้น ให้นักศึกษาที่ได้คะแนนมากจับคู่กับเพื่อนที่ได้คะแนนน้อย แล้วช่วยกันหาคำอธิบายคำตอบทั้งตัวเลือกและตัวลวง โดยให้นักศึกษาอธิบายแก่เพื่อนหน้าชั้นเรียน อาจารย์อธิบายเสริมเนื้อหา ในช่วงท้ายให้นักศึกษาทำข้อสอบเพื่อประเมินความก้าวหน้าของแต่ละคน

          โดยสรุป อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาใช้เทคนิค วิธีการสอนหลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหาวิชา และความกว้างขวางของขอบเขตสาระสำคัญใน blueprint  ในช่วงแรกนี้เป็นการเตรียมสอบแบบทำเหมือนกันหมด เป็นส่วนใหญ่ มีบางรายวิชาแยกนักศึกษากลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน การจัดให้นักศึกษาสอบเป็นช่วงๆ หลังจากจัดกิจกรรมการเตรียมสอบครบทุกรายวิชาแล้ว โดยฝ่ายวิชาการจัดตารางกิจกรรมให้ตามความเหมาะสมของจำนวนข้อสอบที่สภาฯ จัดสอบ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนและหัวหน้าภาควิชามีส่วนร่วมในการจัด  การจัดให้นักศึกษาทำข้อสอบในช่วงเวลาการสอนเสริมของแต่ละรายวิชาและจัดสอบเสมือนจริงโดยฝ่ายวิชาการเป็นการประเมินความก้าวหน้าของความพร้อมในการสอบของนักศึกษาเป็นระยะ โดยภาพรวม พบว่านักศึกษามีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Tags: , , , , ,