การสะท้อนการจัดการเรียนการสอน วิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

โครงการวิจัยในชั้นเรียน

ชื่อเรื่องวิจัย การสะท้อนการจัดการเรียนการสอน วิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

ผุ้รับผิดชอบ อาจารย์อรัญญา บุญธรรม

ความเป็นมาและความสำคัญ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า นักศึกษาให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการเรียนรู้ในวิชาการพยาบาลจิตเวชว่า ลักษณะเนื้อหาวิชาเป็นนามธรรม เข้าใจยาก การเรียนภาคทฤษฎียังไม่สามรถทำให้นักศึกษาเข้าใจในบทเรียนได้ดี แต่เมื่อได้ผ่านการฝึกภาคปฏิบัติ ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามาก  ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษารายละเอียดในกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ว่าแต่ละขั้นคอนที่ทำมาแล้วนั้น ตามการรับรู้ของผู้เรียนมีความเหมาะสม และ มีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในปีการศึกษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนในวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาปี 4 ข ที่จบการฝึกภาคปฏิบัติวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ปีการศึกษา 2553 จำนวน 135 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการเรียนการสอนวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS(ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่นงเบนมาตรฐาน และร้อยละ)

งบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัย ไม่มี

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ความปลอดภัยในการให้ข้อมูล  รวมถึงการนำเสนอข้อมูลในภาพรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษารุ่นต่อไป

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นำข้อมูลที่ได้จากการสะท้อนการจัดการเรียนการสอนวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตจากผู้เรียน มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตในปีการศึกษาต่อไป [...]

Tags: , , , , , , ,

การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 สอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553 [ประชุมครั้งที่ 1]

การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 สอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553

นักศึกษารุ่นที่ 43  จำนวนทั้งหมด 279 คน

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้            และอาจารย์ผู้สอนทั้ง 9 รายวิชา (แยกวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน กับวิชารักษาพยาบาลเบื้องต้น)

การประชุม ครั้งที่ 1 วันที่ 29 ธันวาคม 2553

ประธานการประชุม: อ.มัณฑนา  เหมชะญาติ  ประธานการประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุม

1.             อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร                      9.   อ.จิตติยา   สมบัติบูรณ์

2.             อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร                                10.   อ.นุชนาถ  ประกาศ

3.             อ.สุชาดา นิ้มวัฒนากุล                             11.  อ.ขนิษฐา  เมฆกมล

4.             อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์                     12.  อ.จริยาพร วรรณโชติ

5.             อ.นันทวัน  ใจกล้า                                    13.  อ.ศรีสุดา  งามขำ

6.             อ.คงขวัญ  จันทรเมธากุล                          14.  อ.รุ่งนภา  เขียวชะอ่ำ

7.             อ.รัชชนก  สิทธิเวช                                   15.  อ.วรรณศิริ  ประจันโน

8.             อ.อรัญญา  บุญธรรม                                  16.  อ.อรพรรณ  บุญลือ

การเตรียมนักศึกษาหลังการฝึก Elective  มีการปฏิบัติดังนี้

- แจก Blue print ของเนื้อหาทุกรายวิชา ให้กับนักศึกษา

- จัดนักศึกษาเป็น 3 ห้องๆละ ประมาณ 90-100 คน

- จัดตารางสอนเสริมทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 8:00-16:00 น. และช่วงเย็น ในเวลา 18:00-21:00 น. โดยจัดหมุนเวียนให้ครบทุกรายวิชา สำหรับวันเสาร์-อาทิตย์ ใช้สำหรับการสอบหรือสอนเสริมในบางรายวิชาที่นักศึกษายังมีความรู้ความเข้าใจน้อย

- เตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้นักศึกษาก่อนการสอนเสริม โดยการบรรยายที่มุ่งสร้าง empowerment เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ในแต่ละห้องเรียน

- จัดอาจารย์ดูแลประจำห้องเรียน เพิ่มเติมจากอาจารย์ประจำชั้น เพื่อการดูแลเอาใจใส่ กระตุ้น กวดขันการเข้าเรียน และดูแลเกี่ยวกับการลาของนักศึกษา

- จัดการสอบทั้ง 8 รายวิชา เป็นระยะๆ เมื่อสอนเสริมครบทุกรายวิชาในแต่ละรอบ โดยจัดสอบตามที่ สบช. กำหนด  คณะพยาบาลศาสตร์ ม.บูรพากำหนด (มหาวิทยาลัยที่สมทบ) และจัดสอบเสริมโดยใช้ข้อสอบที่มีอยู่

- ให้นักศึกษาทำข้อสอบเสมือนเครือข่ายภาคกลาง 1 ชุดที่ 1 และชุดที่ 3 ในเว็ปไซด์ของวิทยาลัย ในช่วงเวลาที่กำหนด แล้วส่งรายงานผลการทำข้อสอบตามแบฟอร์มที่แจกให้ ที่อาจารย์ผู้ดูแลประจำห้องเรียน เป็นการตรวจสอบความรู้เบื้องต้นของนักศึกษาแต่ละคน

- การจัดทำเอกสารประกอบการสอนโดยไม่คิดเงินนักศึกษา และไม่จำกัดจำนวน โดยส่งต้นฉบับให้เจ้าหน้าที่ห้องพิมพ์จัดทำให้โดยเขียนว่าโครงการเตรียมนักศึกษาสอบสภาฯ

- การสอนโดยใช้เทคนิค วิธีการต่างๆ  ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอาจารย์ผู้สอนและภาควิชาซึ่งภาควิชาอาจมีการประชุมแลกเปลี่ยนกันเป็นระยะๆ ในกลุ่มอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาซ

Tags: , , , , , ,

หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก
ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า
ครั้งที่ 1 วันที่ 24 มกราคม 2554 เวลา 13.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

เรื่อง หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
วิทยากร ดร. มัณฑนา เหมชะญาติ
คุณกนกพร สิงขร
คุณพรหมมาตร์ ปฏิสังข์
ผู้เข้าร่วมประชุม
จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และวิทยากร 30 คน
จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า 16 คน
รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 46 คน

สรุปรายงานการประชุม
ปัจจุบัน พบว่าโรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อส่วนรวม ดังนั้น บุคลากรทางด้านสาธารณสุขจึงควรให้ความสำคัญในการช่วยกันป้องกันและดูแลผู้ที่เจ็บป่วยเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ในปัจจุบันการรับประทานอาหาร Fast foods นับว่าเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคเรื้อรัง เพราะมีการพัฒนาเทคนิคการขายและการโฆษณา ให้เป็นที่สนใจแก่ผู้บริโภค ประกอบกับการผลิต package ของอาหารที่ใหญ่ขึ้น ทำให้มีการรับประทานในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังมากขึ้น
ความหมายของโรคเรื้อรัง ขององค์การอนามัยโลก หมายถึง โรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงการพยุงไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น มักรักษาเกิน 6 เดือน โดยให้ความสำคัญกับโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มของการเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการปรุงอาหารเองลดลง มักซื้ออาหารรับประทานมากขึ้น ทั้งที่ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกทำให้เวลาในการหุงข้าวลดลง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญได้แก่ การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม การไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ โดยแนะนำหลักการป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs) ดังนี้
1. Promote ส่งเสริมการมีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่คุณภาพมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ทำให้เกิดสังคมสุขภาพที่ดี ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ยากจนหรือด้อยโอกาส
2. Prevent ป้องกันการตายก่อนวัยอันควรและหลีกเลี่ยงความเสื่อมหรือความพิการจากโรคเรื้อรัง ซึ่งบางครั้งเกิดจากสาเหตุธรรมดาที่น่าป้องกันได้
3. Treat ควรพัฒนาการรักษาโรคเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยากจนมากที่สุด
4. Care ควรจัดหาหรือช่วยเหลือผู้ป่วยเรื้อรัง ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมสุขภาพที่แพงที่สุดในโลก

[...]

Tags: , , ,

[ rate 18+ ] สำหรับผู้ใช้ computer ทุกคน..ที่ไม่อยากผ่าตัด


คำเตือน : มีภาพที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก


การวางมือ และการนั่งใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง

[...]

Tags: , , , , , , ,

ข้อเสนอแนะในการใช้งานระบบจัดการแผนฯ

ข้อเสนอแนะในการใช้งานระบบจัดการแผนฯ
1. เมื่อโครงการของท่านมีข้อมูลที่จะต้องใส่เข้าไปในระบบมากๆ ให้ทำการพิมพ์ข้อมูลของท่านไว้ใน Microsoft Word ก่อนแล้วบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในเครื่องของท่าน จากนั้นให้ทำการคัดลอกข้อมูลที่ท่านได้พิมพ์เก็บไว้มาวางตอนที่ท่านจะเพิ่มโครงการเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล เนื่องจากอาจเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตขาดหาย ไฟดับ ระบบจัดการแผนเกิดผิดพลาด ฯ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่ท่านได้ทำการบันทึกการเพิ่มโครงการอยู่พอดี มีผลทำให้ข้อมูลที่ท่านได้พิมพ์ใส่เข้าไปในระบบหายไป ถ้าเราไม่ได้พิมพ์เก็บเอาไว้เราก็จะต้องทำการพิมพ์ข้อมูลใหม่ทั้งหมด
2. การเพิ่ม/ปรับ/ยกเลิกโครงการผ่านระบบจัดการแผนฯนั้น ควรทำตามลำดับขั้นตอนของระบบฯ ในขณะใช้งานระบบฯอยู่ห้ามใช้ปุ่ม Back/Next/Refresh ของ Explorer มิฉะนั้นอาจเกิดการผิดพลาดของข้อมูลโครงการของท่านได้

Tags: