สรุปความรู้จากการประชุม Prevention Preadiction and Promotion in Perination Health

 สรุปการประชุมวิชาการเรื่อง

Prevention, Prediction, and Promotion in Perinatal Health

ระหว่างวันที่   12-14 ตุลาคม    พ.ศ. 2554

การจัดการความรู้เรื่องคัดกรอง  ป้องกัน  และส่งเสริมสุขภาพทารกแรกเกิด

          การสังเกตอาการและสัญญาณเตือนภัยในทารกแรกเกิดนั้นเป็นบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งของแพทย์และพยาบาลทารกแรกเกิด  เพื่อสามารถวินิจฉัยและให้การพยาบาลทารกป่วยได้อย่างรวดร็วถูกต้อง  ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการจากการให้การดูแล  การแก้ไขและการรักษาทารกป่วยได้อย่างทันท่วงที   โดยทารกที่ป่วยอาจแสดงอาการได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์   พบได้ทันทีในห้องคลอดและการปรับตัวของทารกในระยะแรก   รวมทั้งทารกที่อยู่กับมารดาและก่อนกลับบ้าน  ดังนั้นเมื่อดูแลทารกในแต่ละช่วงเวลาดังกล่าวแพทย์และพยาบาลจำเป็นตั้งเอาใจใส่และให้ความสำคัญในการสังเกตอาการและสัญญาณเตือนภัยในทารกเหล่านี้เป็นอย่างดีก่อนที่ทารกเหล่านี้จะมีอาการรุนแรงขึ้นซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของทารกและครอบครัวในอนาคต   ในบทบาทพยาบาลทารกแรกเกิดนั้นจำเป็นต้องสังเกตทารกเหล่านี้อย่างใกล้ชิด
เนื่องจากเด็กทารกแรกเกิดนั้นมีข้อจำกัดด้านการสื่อสาร   สัญญาณเตือนภัยที่สำคัญทารกแรกเกิดที่พยาบาลทารกแรกเกิดจำเป็นต้องเอาใจใส่คืออาการและอาการแสดง หากอาการเหล่านี้ถูกละเลยและหรือเป็นระยะเวลานาน  อาการผิดปกติก็รุนแรงมากขึ้น   ดังนั้นพยาบาลทารกแรกเกิดควรศึกษาหาความรู้   ทำความเข้าใจอาการและอาการแสดงที่เป็นปกติ  เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับอาการและอาการแสดงที่พบที่อาจพบได้ทั้งปกติและผิดปกติได้ [...]

Tags: , , , , , , , ,

Trauma Care with and without Subspecialties : Traumatic Brain Injury (TBI)

               ปัจจุบันนิยามของ Traumatic Brain Injury (TBI) ยังไม่มีสถาบันหรือองค์ใดให้ความหมายชัดเจน บ้างก็ใช้คำว่า Head Injury หรือ Brain Injury ซึ่งทั้งสองคำนี้หากได้ศึกษา Journal ที่ตีพิมพ์ต่างประเทศในหลายประเทศ  คำว่า  Head Injury หรือ Brain Injury นั้นได้รวมถึง stroke ด้วย เพื่อให้ชัดเจน ดังนั้น คำว่า ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ (head injury) หมายถึง บาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำภายนอกทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มีต่อหนังศีรษะ กะโหลกและเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบภายในกะโหลก (สมอง หลอดเลือดสมองและโพรงสมอง)ซึ่งอาจมีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว (Hickey ,2009)  ส่วนการบาดเจ็บต่อสมอง (Traumatic Brain Injuries) หมายถึง บาดเจ็บใด ๆ ที่เกิดจากแรงกระทำภายนอกซึ่งมีผลต่อสมอง  เยื่อหุ้มสมอง หลอดเลือดและโพรงสมองสัมพันธ์กับระดับความรู้สึกตัว ที่ลดลงหรือเปลี่ยนแปลงร่วมกับการสูญเสียความจำ (amnesia) ทำให้เกิดความผิดปกติชั่วคราวหรือถาวร ทั้งร่างกาย การรู้คิด เชาว์ปัญญาและการทำหน้าที่สังคม (Hickey ,2009;Nolan,2005; Maartens&Lethbridge,2005)  ซึ่งผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง(Traumatic Brain Injuries)  กลุ่มนี้หากเกิดการบาดเจ็บขึ้นมักเกิดพยาธิสภาพรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตได้ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีการศึกษามากมายทั้งในและต่างประเทศต่างเพื่อหาวิธีการรักษาและดูแลให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ปลอดภัยและรอดชีวิตได้มากที่สุด ดังเช่น Guideline for the Management of severe Traumatic Brain  Injury  in Brain Trauma Foundation 2007 ได้สรุปสาระสำคัญของแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองดังนี้ [...]

Tags: , , ,

การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนทางสูติกรรม

 

                                                    

สังกัดภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์

เข้าร่วมการประชุมเรื่อง Prevention  Prediction and  Promotion  in  Perinatal  Health    

วัน/เดือน/ปี     วันที่  12-14  ตุลาคม 2554

หน่วยงานที่จัด  สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิด

สถานที่   โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช  โฮเต็ลรีสอร์ท   พัทยา  จ.ชลบุรี    

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

  • การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนในทางสูติกรรม

เป้าหมายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ  โดยต้องให้ก่อนทำหัตถการนั้นๆและต้องให้เป็นระยะสั้นๆ (น้อยกว่า 24 ชั่วโมง) โดยระดับยาในเนื้อเยื่อต้องสูงพอที่จะรักษาถ้าเกิดมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคขึ้นและคงอยู่ในเนื้อเยื่อขณะกำลังผ่าตัดอย่างมากอีก 2-3 ชั่วโมง โดยเน้นลดการติดเชื้อและลดการดื้อยาด้วย ซึ่งการดื้อยามักเกิดจากจากการให้ยาไม่เหมาะสม เช่น การใช้ยา Broad  spectrum antibiotic ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อจาก E.coli ที่ดื้อยาเพิ่มขึ้น จากการศึกษางานวิจัยสรุปได้ว่าควรให้ปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนในกรณีผ่าตัดคลอด กรณีเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดและมีถุงน้ำแตก  ส่วนในรายคลอดปกติ กรณีล้วงรก  ผลงานวิจัยยังไม่เห็นประโยชน์อย่างชัดเจน ในกรณีเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดแต่ถุงน้ำยังไม่แตก แม้จะพบว่าช่วยลดการติดเชื้อแต่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะ cerebral palsy เมื่อติดตามถึงอายุ 7 ปี  สำหรับการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนในกรณี Infective  endocarditis ในทางสูติกรรมควรใช้ในผู้คลอดที่มีความเสี่ยงจริงๆ เช่น เคยป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน  เคยผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ส่วนในกรณีที่มีการฉีกขาดของปากช่องคลอดระดับ 3 หรือ 4  ผลการวิจัยพบว่ามีประโยชน์แต่เป็นงานวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่างค่อนข้างน้อย

  • การคลอดทารกท่าก้นทางช่องคลอดและการคลอดไหล่ยาก

เป็นภาวะที่ต้องให้ความสำคัญและมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสม

 โดยเฉพาะการวินิจฉัยก่อนคลอด เพราะเป็นกรณีที่พบการร้องเรียนค่อนข้างมาก เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือทำให้ทารกเสียชีวิตได้ง่าย

  • การป้องกันและดูแลภาวะตกเลือดหลังคลอด [...]

สรุปความรู้จากประชุมเชิงปฏิบัติการ “การวางแผนการจัดการเรียนการสอนการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic Care)”

สรุปความรู้ที่และประเด็นสำคัญที่ได้จากประชุมเชิงปฏิบัติการ “การวางแผนการจัดการเรียนการสอนการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic  Care)” : แนวทางการนำไปใช้

 

ชื่อ-สกุล อ.ลลนา  ประทุม

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ(ด้านการสอน)

สังกัดภาควิชา การพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์

วัน เดือน ปีที่จัดประชุม 2- 3 มิถุนายน 2554

หน่วยงานที่จัด สถาบันพระบรมราชชนก

รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. อ.โศภิณสิริ     ยุทธวิสุทธิ
  2. อ.วราภรณ์      จรเจริญ
  3. อ.อรัญญา       บุญธรรม
  4. อ.เชษฐา          แก้วพรม
  5. อ.ศรีสกุล        เฉียบแหลม
  6. อ.มงคล          ส่องสว่างธรรม
  7. อ.เพ็ญนภา      พิสัยพันธุ์

วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้   1 กันยายน 2554

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

ตามที่สถาบันพระบรมราชชนกได้กำหนดอัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก คือ “บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” และเห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาให้มีศักยภาพ เน้นการดูแลอย่างเอื้ออาทร (Caring) และเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ (Humanize) ซึ่งเป็นแกนของหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนนั้น สถาบันพระบรมราชชนกได้จัดคณะอาจารย์จากวิทยาลัยและนักวิชาการจากส่วนกลางเข้าอบรมการจัดการเรียนการสอนการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ Mount of Vincent College ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา รุ่นที่1 เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.- 18 ก.ค. 53  และภายหลังจากคณะศึกษาดูงานได้กลับมายังประเทศไทยจึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นเพื่อร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอนการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และแนวทางการนำไปใช้ ซึ่งสาระสำคัญของการประชุมมีดังนี้ [...]

Tags: , , , ,

วิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

รายงานผลการประชุมการจัดการความรู้
เรื่อง วิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2554  เวลา 11.00 – 12.00 น.

ณ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ

อ.โสภา  ลี้ศิริวัฒนกุล                ประธานการประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. ดร.ศรีสกุล   เฉียบแหลม       ผู้นำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  2. อ.พุฒตาล    มีสรรพวงศ์
  3. อ.สุมาลี      ราชนิยม
  4. อ.รัชชนก    สิทธิเวช
  5. อ.จิตติยา    สมบัติบูรณ์
  6. อ.นิศารัตน์   รวมวงษ์
  7. อ.จีราภา     ศรีท่าไฮ
  8. อ.วิภารัตน์   ภิบาลวงษ์
  9. อ.ศราวุธ     อยู่เกษม
  10. อ.บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์
  11. อ.นครินทร์  สุวรรณแสง
  12. อ.ภโวทัย     พาสนาโสภณ     เลขาการประชุม

เริ่มประชุมเวลา  11.00 น.

วาระที่ 1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่อง วิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

จากการศึกษาดูงานที่      Leciester  University เน้นให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางความคิดและการกระทำมากกว่าการสอนโดยเน้นเนื้อหาจากผู้สอนเป็นผู้บรรยายซึ่งผู้สอนควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. ผู้สอนมีการเตรียมตัวที่ดีทั้งด้านเนื้อหา  สื่อการสอนและวิธีการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง ความรู้ที่ได้เกิดจากผู้เรียนคิด วิเคราะห์ด้วยตนเอง หรือกลุ่มเพื่อน
  2. ผู้สอนทำหน้าที่สรุป  Concept จากที่ผู้เรียนคิดและเรียนรู้ร่วมกับกลุ่ม แล้วโยงเข้าสู่เนื้อหาที่เตรียมมาโดยไม่ต้องสอนทั้งหมดที่เตรียมมา ให้อธิบายเฉพาะส่วนที่ผู้เรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจ
  3. ผู้สอนต้องตรงต่อเวลาเข้าห้องเรียนเพื่อติดตั้ง Power Point ลงคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนก่อนทำการสอน 15 นาที
  4. ให้กำลังใจผู้เรียนโดยให้คำชมเชยเมื่อผู้เรียนตอบคำถาม ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ไม่ตำหนิกัน

ตัวอย่างวิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง [...]

Tags: , ,