การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนทางสูติกรรม

 

                                                    

สังกัดภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์

เข้าร่วมการประชุมเรื่อง Prevention  Prediction and  Promotion  in  Perinatal  Health    

วัน/เดือน/ปี     วันที่  12-14  ตุลาคม 2554

หน่วยงานที่จัด  สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิด

สถานที่   โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช  โฮเต็ลรีสอร์ท   พัทยา  จ.ชลบุรี    

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

  • การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนในทางสูติกรรม

เป้าหมายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ  โดยต้องให้ก่อนทำหัตถการนั้นๆและต้องให้เป็นระยะสั้นๆ (น้อยกว่า 24 ชั่วโมง) โดยระดับยาในเนื้อเยื่อต้องสูงพอที่จะรักษาถ้าเกิดมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคขึ้นและคงอยู่ในเนื้อเยื่อขณะกำลังผ่าตัดอย่างมากอีก 2-3 ชั่วโมง โดยเน้นลดการติดเชื้อและลดการดื้อยาด้วย ซึ่งการดื้อยามักเกิดจากจากการให้ยาไม่เหมาะสม เช่น การใช้ยา Broad  spectrum antibiotic ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อจาก E.coli ที่ดื้อยาเพิ่มขึ้น จากการศึกษางานวิจัยสรุปได้ว่าควรให้ปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนในกรณีผ่าตัดคลอด กรณีเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดและมีถุงน้ำแตก  ส่วนในรายคลอดปกติ กรณีล้วงรก  ผลงานวิจัยยังไม่เห็นประโยชน์อย่างชัดเจน ในกรณีเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดแต่ถุงน้ำยังไม่แตก แม้จะพบว่าช่วยลดการติดเชื้อแต่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะ cerebral palsy เมื่อติดตามถึงอายุ 7 ปี  สำหรับการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนในกรณี Infective  endocarditis ในทางสูติกรรมควรใช้ในผู้คลอดที่มีความเสี่ยงจริงๆ เช่น เคยป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน  เคยผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ส่วนในกรณีที่มีการฉีกขาดของปากช่องคลอดระดับ 3 หรือ 4  ผลการวิจัยพบว่ามีประโยชน์แต่เป็นงานวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่างค่อนข้างน้อย

  • การคลอดทารกท่าก้นทางช่องคลอดและการคลอดไหล่ยาก

เป็นภาวะที่ต้องให้ความสำคัญและมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสม

 โดยเฉพาะการวินิจฉัยก่อนคลอด เพราะเป็นกรณีที่พบการร้องเรียนค่อนข้างมาก เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือทำให้ทารกเสียชีวิตได้ง่าย

  • การป้องกันและดูแลภาวะตกเลือดหลังคลอด

ได้นำเสนอปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดเป็น  4 TS  ได้แก่ Tone =การหดรัดตัวของ

มดลูก ,Tissue=รกหรือชิ้นส่วนของรกค้างในโพรงมดลูก , Trauma =การฉีกขาดหรือบาดแผลบริเวณช่องทางคลอด , Thrombin=การแข็งตัวของเลือด  ปัจจุบันทางราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร (RCOG) ได้แบ่งปัจจัยเสี่ยงออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อช่วยในการประเมินความเสี่ยงและป้องกันการตกเลือดหลังคลอด ได้แก่ กลุ่มปัจจัยที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนคลอดและมีความเสี่ยงสูงต่อการตกเลือดหลังคลอดคือภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด  รกเกาะต่ำ ครรภ์แฝด ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ กลุ่มปัจจัยเสี่ยงที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนคลอดและมีความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการตกเลือดหลังคลอด คือประวัติตกเลือดหลังคลอดในครรภ์ก่อน  เชื้อชาติเอเชีย  ภาวะอ้วน ( BMI มากกว่า 35 ) ภาวะซีด ( Hb น้อยกว่า 9 กรัมต่อเดซิลิตร ) ปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจพบในระยะเจ็บครรภ์จนกระทั่งคลอดบุตร คือ การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง  การชักนำการคลอด  รกค้าง การตัดฝีเย็บแบบ mediolateral  episiotomy การทำหัตถการทางช่องคลอด การคลอดยาวนานเกินกว่า 12  ชั่วโมง  ทารกน้ำหนักเกินกว่า   4  กิโลกรัม  มีไข้ในระยะเจ็บครรภ์และอายุสตรีตั้งครรภ์มากกว่า 40 ปี

          ปี ค.ศ. 2004 International Confederation of Midwives  ( ICM ) และ International Federation  of Gynaecologists and Obstretricians ( FIGO) ได้แนะนำให้ใช้ active management of  third  stage of  labour  อันได้แก่ การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก  การใช้ controlled  cord traction  การนวดคลึงมดลูก  ควรหนีบสายสะดือหลังการคลอดอย่างน้อย 60 วินาที ซึ่งจะลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิด Intraventricle  hemorrhage ในทารกคลอดก่อนกำหนดและช่วยเพิ่มระดับธาตุเหล็กและฮีโมโกลบิน ในช่วงอายุ  6  เดือนแรกของทารกคลอดครบกำหนด  แต่ต้องระวังภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด   

          นอกจากการป้องกันและดูแลช่วยเหลือภาวะตกเลือดหลังคลอดที่มีประสิทธิภาพแล้ว  การบันทึกรายละเอียดของการตกเลือดหลังคลอดเป็นลายลักษณ์อักษร ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาต่างๆที่จะตามมาได้

 

ผู้บันทึก อ. ทิพวรรณ   ลิ้มประไพพงษ์

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อ.ธนพร  ศนีบุตร  อ.ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์   อ. จันทรมาศ  เสาวรส          อ.เพ็ญนภา  พิสัยพันธ์  อ.จันทร์เพ็ญ  อามพัฒน์  อ.ขนิษฐา เมฆกมล     อ.อารีรัตน์  วิเชียรประภา  อ.จรัญญา  ดีจะโปะ  อ.นริชชญา  หาดแก้ว  อ. วรัญญา ชลธารกัมปนาท    อ. โสระยา  ซื่อตรง  อ. จารุวรรณ์  ท่าม่วง 

 

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ (ประวัติการเขียน 10 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


Comments are closed.