สรุปความรู้จากการประชุม Prevention Preadiction and Promotion in Perination Health
สรุปการประชุมวิชาการเรื่อง
Prevention, Prediction, and Promotion in Perinatal Health
ระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคม พ.ศ. 2554
การจัดการความรู้เรื่องคัดกรอง ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพทารกแรกเกิด
การสังเกตอาการและสัญญาณเตือนภัยในทารกแรกเกิดนั้นเป็นบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งของแพทย์และพยาบาลทารกแรกเกิด เพื่อสามารถวินิจฉัยและให้การพยาบาลทารกป่วยได้อย่างรวดร็วถูกต้อง ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการจากการให้การดูแล การแก้ไขและการรักษาทารกป่วยได้อย่างทันท่วงที โดยทารกที่ป่วยอาจแสดงอาการได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ พบได้ทันทีในห้องคลอดและการปรับตัวของทารกในระยะแรก รวมทั้งทารกที่อยู่กับมารดาและก่อนกลับบ้าน ดังนั้นเมื่อดูแลทารกในแต่ละช่วงเวลาดังกล่าวแพทย์และพยาบาลจำเป็นตั้งเอาใจใส่และให้ความสำคัญในการสังเกตอาการและสัญญาณเตือนภัยในทารกเหล่านี้เป็นอย่างดีก่อนที่ทารกเหล่านี้จะมีอาการรุนแรงขึ้นซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของทารกและครอบครัวในอนาคต ในบทบาทพยาบาลทารกแรกเกิดนั้นจำเป็นต้องสังเกตทารกเหล่านี้อย่างใกล้ชิด
เนื่องจากเด็กทารกแรกเกิดนั้นมีข้อจำกัดด้านการสื่อสาร สัญญาณเตือนภัยที่สำคัญทารกแรกเกิดที่พยาบาลทารกแรกเกิดจำเป็นต้องเอาใจใส่คืออาการและอาการแสดง หากอาการเหล่านี้ถูกละเลยและหรือเป็นระยะเวลานาน อาการผิดปกติก็รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลทารกแรกเกิดควรศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจอาการและอาการแสดงที่เป็นปกติ เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับอาการและอาการแสดงที่พบที่อาจพบได้ทั้งปกติและผิดปกติได้
การป้องกันการเจ็บป่วยเป็นเป้าหมายสำคัญของการดูแลทารกแรกเกิด การสังเกตอาการและสัญญาณเตือนภัยในทารกแรกเกิดเหล่านี้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลทารกแรกเกิดแบบองค์รวม
เพื่อช่วยให้ทารกรอดชีวิตจากความเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต การควบคุมอุณหภูมิกายให้เป็นปกติเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการดูแลทารกแรกเกิดแบบองค์รวม ที่ยังได้การเอาใจใส่มากในปัจจุบัน เพราะเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยในทารกแรกเกิดข้อหนึ่งโดยปัจจุบันได้มีแนวทางปฏิบัติการดูแลควบคุมอุณหภูมิกายทารกแรกเกิดออกมาอย่างต่อเนื่อง และยังมีการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับทารกแรกเกิดเช่นเดิมซึ่งประกอบด้วยตู้อบสำหรับทารกที่มีทั้งที่ปรับอุณหภูมิด้วยมือและแบบอัตโนมัติ เช่นเดียวกันกับเครื่องให้ความอบอุ่นโดยการแผ่รังสี เป็นต้น
มีอะไรใหม่ในวัคซีน 2011? ในปัจจุบันยังคงมีการช็วัคซีนในการป้องกันโรคซึ่งวัคซีนที่ใช้นั้นเป็นทั้งวัคซีนพื้นฐานตามกำหนดและวัคซีนเสริมที่เด็กควรจะได้รับให้เหมาะสมกับวัย โดยแนวทางการให้วัคซีนนี้ได้กำหนดขึ้นโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โดยล่าสุดในปี พ.ศ 2554 นั้นได้เผยแพร่ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าวัคซีนป้องกันวัณโรคชนิดใหม่ที่อยู่ในระหว่างการวิจัย โดยวัคซีนชนิดใหม่นี้จะนำมาใช้แทนที่วัคซีนบีซีจีเดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ในคนที่ไม่เคยได้รับเชื้อ M. Tuberculosis ใดๆ มาก่อน โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดและสามารถมีภูมิคุ้มกันสูงและนานจนถึงผู้ใหญ่ โดยวัคซีนชนิดใหม่นี้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพดี
©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©©
รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
- อ. สาคร พร้อมเพราะ
- อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
- อ. คงขวัญ จันทรเมธากุล
- อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
- อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
- อ. สุปราณี ฉายวิจิตร์
- อ. ยศพล เหลืองโสมนภา
- อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
- อ. พจนาถ บรรเทาวงษ์
- อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
- อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
- อ. นุชนาถ ประกาศ
- อ. จริยาพร วรรณโชติ
- อ. ศศิโสภิต แพงศรี
- อ. สุภา คำมะฤทธิ์
วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 26 ตุลาคม 2554