ภาวะผู้นำ (Leadership)

รายงานผลการประชุมการจัดการความรู้
เรื่อง ภาวะผู้นำ (
Leadership)

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2554  เวลา 9.00 – 11.00 น.

ณ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ

อ.โสภา  ลี้ศิริวัฒนกุล                ประธานการประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. ดร.ศรีสกุล   เฉียบแหลม       ผู้นำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  2. อ.พุฒตาล    มีสรรพวงศ์
  3. อ.สุมาลี      ราชนิยม
  4. อ.รัชชนก    สิทธิเวช
  5. อ.จิตติยา    สมบัติบูรณ์
  6. อ.นิศารัตน์   รวมวงษ์
  7. อ.จีราภา     ศรีท่าไฮ
  8. อ.วิภารัตน์   ภิบาลวงษ์
  9. อ.ศราวุธ     อยู่เกษม
  10. อ.บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์
  11. อ.นครินทร์  สุวรรณแสง
  12. อ.ภโวทัย     พาสนาโสภณ     เลขาการประชุม

เริ่มประชุมเวลา  9.00 น.

วาระที่ 1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่อง ภาวะผู้นำ (Leadership)

  1. ความแตกต่างระหว่างภาวะผู้นำกับผู้บริหาร [...]

Tags: , , ,

สรุปความรู้จากการประชุม Prevention Preadiction and Promotion in Perination Health

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการไปพัฒนาตนเอง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

ชื่อ-สกุล   นางจันทร์เพ็ญ   อามพัฒน์   ตำแหน่ง   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา     การพยาบาลสูติศาสตร์

เข้าร่วมประชุมเรื่อง    Prevention Preadiction and Promotion in Perination  Health

วันเดือนปี    12 – 14  ตุลาคม  2554

หน่วยงานที่จัด    สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย 

สถานที่    โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช  โฮเต็ล  แอนด์  รีสอร์ท  จ. ชลบุรี

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับคือ

Workshop การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 

          การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของเต้านมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่  โดยการทำ  Ultrasound  imaging  พบว่า  กายวิภาคศาสตร์ของเต้านมที่ใช้มานานกว่า  150 ปีไม่ถูกต้อง  สิ่งที่พบใหม่คือ  ท่อน้ำนมมีเพียง      4-18  ท่อ  และอยู่ใต้บริเวณลานหัวนม  ไม่มีกระเปาะของท่อน้ำนม  แต่เป็นเพียงการบางออกชั่วคราวของท่อน้ำนมเมื่อมีน้ำนมหลั่งจากฮอร์โมนออกซิโตซิน  และแฟบเมื่อน้ำนมไหลออกทางหัวนม  ดังนั้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของคำแนะนำและการปฏิบัติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลายอย่าง  คือ

  1. การให้ลูกงับหัวนมเวลาดูดนม  เปลี่ยนจากการแนะนำให้งับลานหัวนมจนถึงกระเปาะน้ำนมอยู่ในช่องปาก  เป็นให้ทารกอ้าปากกว้างเมื่องับลานหัวนมแม่  ซึ่งสังเกตจากริมฝีปากบนและล่างอยู่ห่างกันชัดเจน
  2. เน้นท่าอุ้มดูดนมให้ถูกต้อง  เพื่อกระตุ้น  Let down reflex  ให้น้ำนมมาดี
  3. การบีบนมจากเต้า  ไม่วางมือบนกระเปาะน้ำนมแล้ว  เนื่องจากสรีระที่บอกว่าไม่มีกระเปาะแล้ว  แต่ให้วางนิ้วมือห่างจากฐานหัวนม  3-4 เซนติเมตร
  4. การบีบ/ปั๊มนมต้องไม่กดบริเวณลานหัวนมแรงเกินไป  เพราะทำให้ท่อน้ำนมตีบ  ซึ่งส่งผลให้น้ำนมไหลน้อยลง
  5. การผ่าตัดเต้านมต้องระวังการตัดถูกท่อน้ำนม  เนื่องจากท่อน้ำนมมีน้อยท่อ (มีเพียง  4-18 ท่อ) [...]

Tags: , , ,

สรุปความรู้จากการประชุมวิชาการประจำปี 2554 ครั้งที่ 21 (Prevention,Prediction and Promotion in Perinatal Health)

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการไปพัฒนาตนเอง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

…………………………………………………

ชื่อ-สกุล         นางสาวเพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์        ตำแหน่ง    พยาบาวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา/งาน  การพยาบาลสูติศาสตร์

เข้าร่วมการประชุม/อบรม/สัมมนา เรื่อง การประชุมวิชาการประจำปี 2554 ครั้งที่ 21  (Prevention,Prediction and Promotion in Perinatal Health)

วัน/เดือน/ปี     12-14 ตุลาคม 2554

หน่วยงานที่จัด  ชมรมเวชศาสตร์ปริกำเนิด

สถานที่           โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช พัทยา

 

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ คือ

 

เรื่องสัญญาณเตือนภัยในมารดาขณะตั้งครรภ์   ที่พบบ่อย ได้แก่

-  ทารกดิ้นน้อย พบว่ามารดาจำนวนร้อยละ 55 รับรู้ถึงการดิ้นน้อยลงก่อนทารกเสียชีวิต การดิ้นของทารกได้แก่ การหมุนตัว  การโก่ง  การถีบ  การเตะ ส่วนการสะอึกไม่ถือเป็นการดิ้น  โดยเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ และดิ้นมากขึ้นเรื่อยๆจนสูงสุดเมื่อ 32 สัปดาห์  เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนดทารกจะดิ้นอยู่ที่ 31 ครั้งต่อชั่วโมง  ในปัจจุบันควรแนะนำให้มารดาเริ่มนับเด็กดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ (เดิมให้เริ่มนับเมื่อ 30 สัปดาห์)  เมื่อก่อนจะพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้การดิ้นของทารกคือระดับน้ำตาลในเลือด  แต่จากการศึกษาพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด  ไม่มีความสัมพันธ์กับการดิ้นของทารก ปัจจัยที่ส่งผลได้แก่ ท่านอน นั่ง ยืน ความเครียด บุหรี่  ตำแหน่งการเกาะของรกด้านหน้าจะรับรู้การดิ้นได้น้อยกว่ารกเกาะด้านหลัง  สิ่งสำคัญคือ  ความใส่ใจในการนับเด็กดิ้น

- การตกเลือดก่อนคลอด  รกเกาะต่ำ  ในปัจจุบันไม่วินิจฉัยภาวะนี้ด้วยการตรวจภายในหรือ ทำ double set up เนื่องจากเสี่ยงต่อการตกเลือดมากกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับการรักษามีผู้เสนอให้แบ่งชนิดของรกเกาะต่ำใหม่ โดยอาศัยข้อมูลจากการ U/S คือ 1. รกคลุม internal os ทั้งหมด  2. marginal previa คือ ขอบรกห่างจาก internal os ไม่เกิน 2 ซ.ม. 3. low  lying placenta  คือ ขอบรกห่างจาก internal os  2-3.5 ซ.ม. หากตรวจพบรกเกาะต่ำในไตรมาสที่ 2 ควรนัดตรวจเพื่อดูตำแหน่งของรกอีกครั้งที่ 32-36 สัปดาห์ ถ้าพบว่าขอบรกอยู่ใกล้ internal os มากต้องเฝ้าระวังภาวะเลือดออกและเตรียมพร้อมผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง

- การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด  การประเมินเบื้องต้นในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะนี้ ได้แก่  การหดรัดตัวของมดลูก  การแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำ  อายุครรภ์ สุขภาพทารกในครรภ์ การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาภาวะติดเชื้อ GBS (Groub B streptococcus)  UTI  Bacteria vagina ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ และยังไม่ได้คัดกรองการติดเชื้อ GBS ควรได้รับยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS และทำ rectovaginal swab เพื่อเพาะเชื้อ GBS [...]

Tags: , ,

สรุปความรู้จากการประชุม Advanced course in breastfeeding : common problems in breastfed infants

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการไปพัฒนาตนเอง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

ชื่อ-สกุล   นางจันทร์เพ็ญ   อามพัฒน์   ตำแหน่ง   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา     การพยาบาลสูติศาสตร์

เข้าร่วมประชุมเรื่อง    Advanced  course  in  breastfeeding : common problems  in

                            breastfed infants

วันเดือนปี    2 – 5  ตุลาคม  2554

หน่วยงานที่จัด    ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย 

สถานที่    โรงแรมมิราเคิล  แกรนด์  คอนเวนชั่น  กรุงเทพฯ

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับคือ

การให้นมแม่อย่างเดียวในระยะ 2-3  วันแรกหลังคลอด  มีความสัมพันธ์กับการเกิด  breastfeeding  jaundice  จากการได้รับน้ำนมไม่พอ  American  Academy  of  Pediatrics (AAP)  และองค์การอนามัยจึงแนะนำว่าเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่และเพื่อให้ทารกได้น้ำนมเพียงพอ  ควรให้ทารกดูดนมแม่โดยเร็วภายใน    1  ชั่วโมงหลังเกิด  และดูดนมแม่  8-12 มื้อต่อวัน  ให้ดูดนาน  10-15 นาทีต่อเต้า  และให้ดูดทั้งสองเต้าทุกมื้อ  เพื่อให้ทารกได้น้ำนมเพียงพอ  และกระตุ้นการสร้างน้ำนมของแม่  ปลุกให้ทารกตื่นดูดนม  หากเวลาผ่านไป  4  ชั่วโมงหลังจากเวลาที่ทารกเริ่มดูดนมมื้อล่าสุด

ทารกแรกเกิดทุกคนทั้งที่ไม่ป่วยและเจ็บป่วยขณะอยู่ในโรงพยาบาลต้องได้รับการชั่งน้ำหนักอย่างน้อยวันละครั้งในเวลาเดียวกันทุกวัน  ซึ่งทารกแรกเกิดจะมีการลดลงของน้ำหนักตัวที่เป็นภาวะปรกติ (physiologic weight loss)  ได้ไม่เกินร้อยละ  10  ของน้ำหนักแรกเกิด  หลังจากนั้นน้ำหนักของทารกแรกเกิดจะเพิ่มวันละ  30  กรัม/วัน

คำแนะนำ เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม

  • สอนแม่ให้อุ้มลูกดูดนมให้ถูกต้อง
  • ให้ลูกดูดกระตุ้น  8-12  มื้อต่อวัน
  • ควรให้ลูกดูดนมเมื่อทารกแสดงอาการหิว  ได้แก่  การตื่นตัว (alertness) มากขึ้น  การเคลื่อนไหว (physical activity) มากขึ้น  การทำท่าดูดนม (mouthing)  หันปากหาหัวนม (rooting)  ไม่ควรรอจนกระทั่งลูกร้อง  เพราะการร้องเป็นอาการแสดงท้ายสุดของความหิว
  • ให้ดูดนานจนกระทั่งลูกพอใจ  ปรกติให้ดูดแต่ละเต้านาน  10-15 นาที
  • การเริ่มต้นการดูดแต่ละมื้อ  ให้ดูดสลับเต้าที่เริ่มต้นดูดในมื้อที่แล้ว
  • ในสัปดาห์แรกๆ  หลังคลอด  แม่อาจต้องปลุกลูกให้ดูดนม  หากลูกเว้นช่วงตื่นเพื่อดูดนมแต่ละมื้อนานเกิน  4  ชั่วโมง [...]

Tags: , , ,

AAR – การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้น การเคลื่อนย้าย และการใช้ผ้าพัน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

After Action Review เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้

หลังจากการทำโครงการบริการวิชาการ

โครงการลำดับที่ Service_add8 การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้น การเคลื่อนย้าย

และการใช้ผ้าพัน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

วันที่ 10 ตุลาคม 2554

ผู้ร่วมทำ After Action Review

  1. นางโสภา ลี้ศิริวัฒนกุล    พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ  ลายเซ็น………………………………..
  2. นส.พุฒตาล มีสรรพวงศ์   วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ       ลายเซ็น………………………………..
  3. นายภโวทัย พาสนาโสภณ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ  ลายเซ็น………………………………..
  4. นางรัชชนก สิทธิเวช       พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ  ลายเซ็น………………………………..
  5. นส.นิศารัตน์ รวมวงษ์     พยาบาลวิชาชีพ                     ลายเซ็น………………………………..
  6. นส.จีราภา ศรีท่าไฮ       พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ  ลายเซ็น………………………………..

สรุปองค์ความรู้หลักที่ได้จากการบริการวิชาการ

ประเด็นที่ 1 การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้น กรณี 1 คน ท่าในการกดนวดหน้าอกเพื่อกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ผู้ช่วยฟื้นคืนชีพนอกจากจะเข้าทางด้านข้างของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บแล้ว สามารถเข้าช่วยแหลือ โดยผู้ช่วยฟื้นคืนชีพเข้าด้านข้างผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วแยกขาออกคร่อมบริเวณหัวไหล่ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ           แล้วปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้น ตามขั้นตอน จะทำให้การช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บได้คล่องตัวขึ้น สามารถหยิบ ambu bag ได้เร็วขึ้น มีผลทำให้อัตราการกดหน้าอกเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น ส่งผลดีต่อผู้ได้รับบาดเจ็บ

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน /การวิจัย

นำความรู้จากการให้บริการวิชาการมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาพย.1425  การรักษาพยาบาลเบื้องต้นและ พย.1426ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในหัวข้อ1. หลักการ การปฐมพยาบาล  การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน อุบัติเหตุหมู่และสาธารณภัย 2. ปฏิบัติ การปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินอุบัติเหตุหมู่ และสาธารณภัย โดยให้ความรู้และสาธิต อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิเคราะห์ร่วมกันทั้งในชั้นเรียนและการออกฝึกภาคปฏิบัติ

 

 

 

Tags: , , , , , ,