การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา การผดุงครรภ์

ผู้บันทึกข้อมูล อ.จันทรมาศ  เสาวรส

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ.ขนิษฐา          เมฆกมล
2. อ.อารีรัตน์         วิเชียรประภา
3. อ.จรัญญา         ดีจะโปะ
4. อ.นริชชญา        หาดแก้ว
5. อ.จารุวรรณ์       ท่าม่วง

1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้

-  คณาจารย์ในทีมติวแสวงหารูปแบบวิธีการติว  เพื่อให้นักศึกษาได้ผ่อนคลายแล้วไม่เครียด  โดยหากิจกรรมและเรื่องเล่าที่สนุกสนานมานำก่อนการติวและระหว่างการติว
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเล่นเกมส์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ติวและมีรางวัลเล็กๆน้อยๆ

 

2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

-  เรียนเชิญวิทยากรจากวพบ.สระบุรี มาช่วยติว concept หลักๆ  ให้กับนศ.  เพื่อเป็นการกระตุ้นนักศึกษาและช่วยให้นักศึกษาได้ทราบถึงการเตรียมความพร้อมของเพื่อนนักศึกษาในสถาบันอื่น ทำให้นักศึกษาไม่เบื่อหน่ายและมีโลกทัศน์กว้างขึ้น  รวมทั้งได้เรียนรู้เทคนิคการทำข้อสอบจากอาจารย์ที่หลากหลาย

-  แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาเฉลยและอธิบายข้อสอบ  โดยให้คะแนนแต่ละกลุ่ม  และมีรางวัลให้เพื่อเป็นแรงจูงใจ
- นักศึกษาและผู้สอนค้นหาความรู้ใหม่ๆร่วมกัน  โดยการsearch  จาก Internet  ซึ่งมีภาพประกอบหรือเป็นสื่อวิดิทัศน์ที่สวยงาม  เพื่อไม่ให้ง่วง
- ขณะติวควรสรุปconcept หลักสั้นๆง่ายๆ  รวมทั้งเทคนิคการจำแต่ละประเด็นให้นศ.สามารถจำและเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาที่เรียนได้ (สรุปเป็น one page ให้ครอบคลุมทุกประเด็น  หัวข้อละ 1 แผ่น  รวบรวมและให้นักศึกษากลับไปทบทวนหลังการติว) และใช้ข้อสอบกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา เน้น Key  word สำคัญๆของเรื่องนั้น
- ฝึกให้นักศึกษาได้ทำข้อสอบที่หลากหลาย  โดยใช้โจทย์หรือสถานการณ์  ฝึกคิดอ้างอิงทฤษฎีและสอนเทคนิคการตัดตัวเลือกข้อสอบ  เน้นประเด็นหรือสิ่งที่ควรจำ  รวมทั้งช่วยทบทวนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องให้เป็นระยะ
- ประดิษฐ์อุปกรณ์เสริมการติวเพิ่ม “แผ่นหมุนกลไกการคลอด”  ในกลไกการคลอดแต่ละท่า  ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจดีและง่ายขึ้น

3.  วิธีการประเมินการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (ห้องเรียนที่มีนศ.มากกว่า 100 คน) มีดังนี้

- ทำข้อสอบและให้ฝ่ายประเมินผลตรวจ

 

4. การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯ อย่างมีประสิทธิภาพ  ควรเป็นดังนี้

- ควรมีการเตรียมนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่เริ่มขึ้นปี3 และปี4  โดยจัดสรรเวลาและตารางการติว  ให้อาจารย์ทบทวนความรู้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหา  โดยสม่ำเสมอ  และสิ่งที่สำคัญคือ  ควรต้องปลูกจิตสำนึก  และสร้างความตระหนักในการสอบสภาฯให้ผ่าน 8 รายวิชา  ในรอบแรกให้ได้ในใจของนักศึกษาทุกคน

 

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบฯ จากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยที่เห็นว่ามีประโยชน์ มีประเด็นดังนี้

- นักศึกษาทุกคน  ควรมีโอกาสวางแผนการติว/อ่านหนังสือด้วยตนเอง  และสรุปประเด็นสำคัญด้วยตนเองแต่แรกเริ่ม  หมั่นทบทวน  เมื่อมีข้อคำถาม  ต้องแสวงหาคำตอบให้ได้  อย่าปล่อยค้างไว้

 

6.  ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีผลการสอบสภาฯ ที่สูงขึ้น ดังนี้

- นักศึกษาควรมีความรู้พื้นฐานที่แม่นยำ  ถ้ามีความรู้พื้นฐานของแต่ละวิชาดี  ข้อสอบทุกสถาบัน  นักศึกษาจะสามารถทำได้

- นักศึกษาควรมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาวิทยาลัยอื่นๆ  ที่มีผลการสอบดี

- การจัดทีมอาจารย์ผู้ติวควรมีการคละช่วงวัย  และประสบการณ์  ถ้าเป็นไปได้  เพื่อให้นักศึกษาไม่เกิดความเบื่อหน่ายและควรสร้างบรรยากาศในการติวแบบผ่อนคลาย  ไม่ก่อให้เกิดความเครียด  จะช่วยเสริมความจำและเรียนรู้ดีขึ้น

 

7.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดการความรู้เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบฯ มีดังนี้

- ไม่มีข้อเสนอแนะ

Print Friendly
ผู้เขียน อ.จันทรมาศ เสาวรส (ประวัติการเขียน 4 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


Tags: , , , , ,

Comments are closed.