สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 เทคนิคการสอนการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 1

เทคนิคการสอนการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล   ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ภาควิชา     การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วันที่ประชุมจัดการความรู้      17  มกราคม  2556    เวลา  13.00 – 16.00 น. ณ ห้องรับรอง ๑  อาคารอำนวยการ

ผู้จดบันทึก

อ. จริยาพร      วรรณโชติ

อ.นุชนาถ        ประกาศ

อ.สุภา              คำมะฤทธิ์

ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้

  1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
  2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
  3. อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
  4. อ. ขวัญสุวีย์  อภิจันทรเมธากุล
  5. อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
  6. อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
  7. อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
  8. อ. ดร  ทองสวย  สีทานนห์
  9. อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
  10. อ. ปาลีรัญญ์  ฐาสิรสวัสดิ์
  11. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
  12. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
  13. อ. นุชนาถ  ประกาศ
  14. อ. จริยาพร วรรณโชติ
  15. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
  16. อ. สุภา คำมะฤทธิ์
  17. อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
  18. อ. อรพรรณ  บุญลือ

การใช้กระบวนการพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพยาบาล  การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเป็น 1 ใน 5 ขั้นตอน   ที่พบว่านักศึกษาพยาบาลมีปัญหามากที่สุด  จึงเป็นที่มาของภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่ทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในภาควิชา  ในการแลกเปลี่ยเรียนรู้ครั้งแรกนี้เป็นการค้นหาปัญหาที่แท้จริงจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3  ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ2 ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี    จากกการสอบถามนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในครั้งนี้   นักศึกษาได้เขียนบรรยายถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาในการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยสรุปประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้

  [...]

Tags: , ,

การพัฒนาการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของนักศึกษาในวิชา พย.1205 การสอนและการให้การปรึกษาทางสุขภาพ

โครงการวิจัยในชั้นเรียน

ชื่อเรื่องวิจัย          การพัฒนาการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของนักศึกษาในวิชา พย.1205 การสอนและการให้การปรึกษาทางสุขภาพ

ผุ้รับผิดชอบ         อาจารย์อรัญญา บุญธรรม

ความเป็นมาและความสำคัญ

มาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน ที่สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยทักษะทางปัญญาเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่กำหนดไว้ในลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาพยาบาลศาสตร์ นอกจากนี้วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี ยังได้กำหนดให้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นเอกลักษณ์ของบัณฑิตอีกด้วย จากประสบการณ์การสอนนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ที่ผ่านมาพบว่านักศึกษายังมีปัญหาในเรื่องของการคิดอย่างเป็นระบบในการเรียนภาคทดลองในวิชา พย.1205 การสอนและการให้การปรึกษาทางสุขภาพ จึงได้ออกแบบการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาเขียนชิ้นงานสรุปการเรียนรู้โดยการเขียนบันทึกการสะท้อนคิดในการเรียนภาคทดลอง จำนวน 5 ชิ้นงาน  แต่จากการตรวจงานการเขียนบันทึกการสะท้อนคิดของนักศึกษาชิ้นแรกพบว่ามี นักศึกษาที่สามารถเขียนรายงานการสะท้อนคิดได้ในระดับดีไม่ถึงร้อยละ 10  ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาเพื่อหา วิธีพัฒนาการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของนักศึกษา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อหาวิธีพัฒนาการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของนักศึกษาในวิชา พย.1205 การสอนและการให้การปรึกษาทางสุขภาพ

กลุ่มตัวอย่าง

นักศึกษาปี 2 ปีการศึกษา 2555 รวมจำนวน 35 คน  ดังนี้

นักศึกษาปี 2 ก เลขที่  17 – 24 และ 83 – 91

นักศึกษาปี 2 ข เลขที่  25 – 33 และ 76 – 84 [...]

Tags: , ,

New statin drug :pitavastatin

การจัดการความรู้

เรื่อง  New statin drug :pitavastatin

ชื่อ-สกุลผู้นำการจัดการความรู้   อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วันที่ประชุมจัดการความรู้   ๑๒ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖   เวลา ๑๕.๔๕ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องรับรอง ๑  อาคารอำนวยการ

ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้

  1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
  2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
  3. อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
  4. อ. ขวัญสุวีย์  อภิจันทรเมธากุล
  5. อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
  6. อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
  7. อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
  8. อ. ดร  ทองสวย  สีทานนห์
  9. อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
  10. อ. ปาลีรัญญ์  ฐาสิรสวัสดิ์
  11. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
  12. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
  13. อ. นุชนาถ  ประกาศ
  14. อ. จริยาพร วรรณโชติ
  15. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
  16. อ. สุภา คำมะฤทธิ์
  17. อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
  18. อ. อรพรรณ  บุญลือ

เนื้อหาความรู้

Pitavastatin เป็นยาใหม่ในกลุ่ม statin ที่มีการศึกษาพบจุดเด่นหลายอย่างที่ดีมากกว่า statin ตัวเก่า ( เช่น atrovastatin(lipitor) , rosuvastatin(crestor) , simvastatin(zimmex หรือ zocor)    เนื้อหาของความรู้ในครั้งนี้เป็นเนื้อหาที่ผสมผสานจากข้อความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมการประชุมวิชาการ cardiac network forum ครั้งที่ ๕ , ๒๕๕๖ ร่วมกับการศึกษาจากเอกสารประชุมวิชาการเรื่อง place of pitavastatin in metabolic syndrome from clinical trials to clinical practice ระหว่าง April ๒๖th ๒๐๑๒ ณ  Ambassador City Jomtien , Pattaya  โดยมี ศ. นพ. ปิยะมิตร  ศรีธรา  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ทำหน้าที่ moderator  และ ผศ. นพ. ภากร จันทนมัฏฐะ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ทำหน้าที่ speaker   เนื้อหาความรู้มีดังนี้

ในปี ๒๐๑๐  American heart association ได้กำหนดให้มีกลยุทธ์ ๗ อย่างเพื่อให้ประชาชนอเมริกันบรรลุ ideal cardiovascular health ซึ่งมีดังนี้

  1. have never smoked or quit more than a year ago
  2. maintain a healthy body weight (a body mass index under ๒๕)
  3. spend at least ๑๕๐ minutes a week doing moderate physical activity or ๗๕ minutes a week doing vigorous activity
  4. eat a healthy diet
  5. keep your total cholesterol under(TC)  ๒๐๐ mg/dL
  6. keep your blood pressure under ๑๒๐/๘๐
  7. keep your fasting blood sugar under ๑๐๐ mg/dL.

ทั้งนี้ในส่วนของข้อ ๕ นั้น เป็นข้อที่เกี่ยวกับยาที่ใช้ลดไขมันในเลือด  เพราะ TC สัมพันธ์

กับการมีอันตรายต่อสุขภาพ    โดยเฉพาะ DLP ที่มีการเปลี่ยนแปลงของไขมันในเลือดคือ มี ระดับของ cholesterol , triglyceride(TG) , LDL เพิ่มขึ้น และมีระดับของ HDL ลดลง   ซึ่ง TC สามารถคำนวณได้จากสูตร  TC = HDL + LDL + VLDL  ; VLDL = TG / ๕   ไขมันในเลือดมีผลโดยตรงต่อการเกิด plaque ในหลอดเลือด   กรณีที่เป็น stable plaque พวกนี้จะมี fibrin เยอะ ไขมันไม่มาก    แต่ถ้า unstable plaque พวกนี้จะมี fibrin น้อย แต่มีไขมันเยอะในรูปของ form cell ที่ฝังอยู่ใน plaque ซึ่งจะแตกได้ง่ายและทำให้เกิด acute coronary syndrome ตามมาได้

เพื่อป้องกันจึงมีข้อเสนอว่า  ผู้ที่อายุมากกว่า ๒๐ ปีขึ้นไป ควรตรวจ TC ทุก ๕ ปี  ถ้าไม่มีความเสี่ยง   แต่ถ้ามีความเสี่ยงควรตรวจทุก ๑ – ๒ ปี

เพื่อทำความเข้าใจยา pitavastatin ได้ดี  จึงควรเข้าใจคำต่างๆที่เป็นพื้นฐานดังนี้ [...]

Tags: ,

สรุปความรู้จากการประชุมวิชาการ Cardiac network forum ครั้งที่ ๕

สรุปความรู้จากการประชุมวิชาการ

Cardiac network forum ครั้งที่ ๕

วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ – ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖   โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี

ชื่อ-สกุลผู้สรุป   อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วันที่ประชุมจัดการความรู้   ๑๒ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖   เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๕.๔๕ น. ณ ห้องรับรอง ๑  อาคารอำนวยการ

ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้

  1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
  2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
  3. อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
  4. อ. ขวัญสุวีย์  อภิจันทรเมธากุล
  5. อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
  6. อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
  7. อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
  8. อ. ดร  ทองสวย  สีทานนห์
  9. อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
  10. อ. ปาลีรัญญ์  ฐาสิรสวัสดิ์
  11. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
  12. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
  13. อ. นุชนาถ  ประกาศ
  14. อ. จริยาพร วรรณโชติ
  15. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
  16. อ. สุภา คำมะฤทธิ์
  17. อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
  18. อ. อรพรรณ  บุญลือ

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

การประชุม Cardiac network forum เป็นการประชุมวิชาการระดับชาติในขอบเขตของโรคหัวใจและหลอดเลือด  ผู้เข้าร่วมประชุมจึงเป็นบุคลากรทางการแพทย์ทั้งแพทย์ เภสัชกรและ  พยาบาลที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวเช่น โรคหัวใจทั้งติดเชื้อ ไม่ติดเชื้อ    โรคหลอดเลือดเช่น โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคที่ common ในกลุ่มของหลอดเลือด   การประชุมในปีนี้ หัวข้อของการประชุมในส่วนของการบรรยายเน้นมาที่ โรคของลิ้นหัวใจ   ส่วนการ work shop มีทั้ง การ update ความรู้เรื่องการจัดการโรคความดันโลหิตสูง    การอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจสำหรับพยาบาล     ยา warfarin เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของประเด็นการวิจัยในโรคหัวใจด้วย    ซึ่งความรู้ที่คิดว่าเป็นประเด็นใหม่และน่าสนใจในการนำมาใช้ในการสอนและศึกษาวิจัยมีดังนี้ [...]

Tags: ,

พลังกอด : ปาฏิหารย์ที่เป็นจริง

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

 เรื่อง “พลังกอด : ปาฏิหารย์ที่เป็นจริง”

จากการประชุมวิชาการสามัญประจำปี ๒๕๕๕

โดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯสาขาภาคตะวันออก

วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน – ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมสตาร์ จ.ระยอง

……………………………………………………………

ผู้เขียน  อ.ขนิษฐา  เมฆกมล

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   อ.ธนพร ศนีบุตร  อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์  อ.จันทรมาศ เสาวรส              อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์  อ.จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์  อ.อารีรัตน์ วิเชียรประภา  อ.จรัญญา ดีจะโปะ      อ.วรัญญา ชลธารกัมปนาท  อ.จารุวรรณ ท่าม่วง อ.กฤษณี สุวรรณรัตน์ อ.กรรณิการ์ แซ่ตั้ง

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          จากการประชุมวิชาการสามัญประจำปี ๒๕๕๕ ของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ          สาขาภาคตะวันออก เรื่อง “จากใจถึงใจ : คุณภาพการพยาบาลแบบประคับประคอง” มีการพยาบาล หลายรูปแบบที่นำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหนึ่งในการพยาบาลที่ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้าย    มีกำลังใจคือการใช้พลังกอด วิทยากร ได้แก่ คุณพรวรินทร์ นุตราวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ        คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ซึ่งมีประสบการณ์ในการนำพลังกอดไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  โดยมีหลักการว่าการกอดเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว หลักของการกอดเพิ่มพลัง คือ การกอดแน่นๆ กอดนิ่งๆ และกอดนานๆ การกอดเพิ่มพลังไม่ต้องใช้มือลูบหลังหรือตบไหล่   ให้ใช้ความสงบเงียบและนิ่ง ให้ผู้ป่วยได้รับรู้ถึงความรู้สึกและพลังที่ถ่ายทอดไปยังผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึก    มีกำลังใจ มีพลังที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่าที่สุด นอกจากการกอดแล้วญาติหรือผู้ดูแลต้องมีการตอบสนองต่อความต้องการในระยะสุดท้ายของผู้ป่วยด้วย  โดยดูความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยในระยะสุดท้ายคืออะไร อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ยิ่งใหญ่แต่อาจเป็นสิ่งเล็กๆแต่เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมาตลอดชีวิต      ญาติหรือผู้ดูแลต้องสร้างความหวังและกำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยมีความหวัง มีความมุ่งมั่นที่จะมีชีวิตอยู่ และจะทำอะไรให้ผู้ป่วยตามความต้องการของเขาต้องลงมือทำทันที เพราะผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจไม่มีเวลารอเรา  สิ่งที่สำคัญของการนำพลังกอดไปใช้คือต้องมีการเตรียมทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับการกอด เพราะสังคมไทยอาจไม่คุ้นเคยในเรื่องของการกอด

จากผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาควิชาสรุปได้ว่าการใช้พลังกอดเป็นสิ่งที่ดี เป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ ผู้กอดควรจะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและเป็นผู้ที่ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย เป็นผู้ที่ผู้ป่วยศรัทธาซึ่งจะทำให้พลังกอดมีอานุภาพมากขึ้น

……………………………………………………………………………………………………

 

Tags: , , ,