พลังกอด : ปาฏิหารย์ที่เป็นจริง

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

 เรื่อง “พลังกอด : ปาฏิหารย์ที่เป็นจริง”

จากการประชุมวิชาการสามัญประจำปี ๒๕๕๕

โดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯสาขาภาคตะวันออก

วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน – ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมสตาร์ จ.ระยอง

……………………………………………………………

ผู้เขียน  อ.ขนิษฐา  เมฆกมล

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   อ.ธนพร ศนีบุตร  อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์  อ.จันทรมาศ เสาวรส              อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์  อ.จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์  อ.อารีรัตน์ วิเชียรประภา  อ.จรัญญา ดีจะโปะ      อ.วรัญญา ชลธารกัมปนาท  อ.จารุวรรณ ท่าม่วง อ.กฤษณี สุวรรณรัตน์ อ.กรรณิการ์ แซ่ตั้ง

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          จากการประชุมวิชาการสามัญประจำปี ๒๕๕๕ ของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ          สาขาภาคตะวันออก เรื่อง “จากใจถึงใจ : คุณภาพการพยาบาลแบบประคับประคอง” มีการพยาบาล หลายรูปแบบที่นำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหนึ่งในการพยาบาลที่ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้าย    มีกำลังใจคือการใช้พลังกอด วิทยากร ได้แก่ คุณพรวรินทร์ นุตราวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ        คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ซึ่งมีประสบการณ์ในการนำพลังกอดไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  โดยมีหลักการว่าการกอดเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว หลักของการกอดเพิ่มพลัง คือ การกอดแน่นๆ กอดนิ่งๆ และกอดนานๆ การกอดเพิ่มพลังไม่ต้องใช้มือลูบหลังหรือตบไหล่   ให้ใช้ความสงบเงียบและนิ่ง ให้ผู้ป่วยได้รับรู้ถึงความรู้สึกและพลังที่ถ่ายทอดไปยังผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึก    มีกำลังใจ มีพลังที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่าที่สุด นอกจากการกอดแล้วญาติหรือผู้ดูแลต้องมีการตอบสนองต่อความต้องการในระยะสุดท้ายของผู้ป่วยด้วย  โดยดูความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยในระยะสุดท้ายคืออะไร อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ยิ่งใหญ่แต่อาจเป็นสิ่งเล็กๆแต่เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมาตลอดชีวิต      ญาติหรือผู้ดูแลต้องสร้างความหวังและกำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยมีความหวัง มีความมุ่งมั่นที่จะมีชีวิตอยู่ และจะทำอะไรให้ผู้ป่วยตามความต้องการของเขาต้องลงมือทำทันที เพราะผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจไม่มีเวลารอเรา  สิ่งที่สำคัญของการนำพลังกอดไปใช้คือต้องมีการเตรียมทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับการกอด เพราะสังคมไทยอาจไม่คุ้นเคยในเรื่องของการกอด

จากผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาควิชาสรุปได้ว่าการใช้พลังกอดเป็นสิ่งที่ดี เป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ ผู้กอดควรจะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและเป็นผู้ที่ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย เป็นผู้ที่ผู้ป่วยศรัทธาซึ่งจะทำให้พลังกอดมีอานุภาพมากขึ้น

……………………………………………………………………………………………………

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.ขนิษฐา เมฆกมล (ประวัติการเขียน 7 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


Tags: , , ,

Comments are closed.