สรุปความรู้จากการอบรม “รูปแบบการวิจัยสุขภาพและการใช้สถิติขั้นสูง รุ่นที่ 13”

สรุปความรู้จากการอบรม “รูปแบบการวิจัยสุขภาพและการใช้สถิติขั้นสูง รุ่นที่ 13”

วันที่ 21-25 มกราคม พ.ศ. 2556 ณ ห้องประชุม 322 ชั้น 3 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Classifications of Research Studies: Three Main Types

1.Observational Studies:

  • Groups are studied & contrasts made between groups
  •  The observed data collected are analyzed

2.Analytic Studies:

  •  Also called Experimental
  •   Study the impact of a certain therapy
  •   Ultimately the investigator controls  factor being studied

3.Clinical Trial:

  • Considered the “true” experimental study
  • “Gold Standard” of clinical research
  • Often a prospective study that compares the effect and value of an intervention against a control in human subjects [...]

Tags: ,

สรุปความรู้จากการประชุมวิชาการ โครงการดูแลหัวใจเครือข่ายภาคตะวันออกจันทบุรี – ชลบุรี

สรุปความรู้จากการประชุมวิชาการ

โครงการดูแลหัวใจเครือข่ายภาคตะวันออกจันทบุรี – ชลบุรี

วันที่ 26 ตุลาคม 2555   โรงแรมเคพีแกรนด์ จังหวัดจันทบุรี

ชื่อ-สกุลผู้สรุป   อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วันที่ประชุมจัดการความรู้   14 ธันวาคม  2555   เวลา 14.00 – 15.00 น.

ณ ห้องทำงานภาควิชาการพยาบาลเด็ก  ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้

1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
3. อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
4. อ. ขวัญสุวีย์  อภิจันทรเมธากุล
5. อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
6. อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
7. อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
8. อ. ดร  ทองสวย  สีทานนห์
9. อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
10. อ. ปาลีรัญญ์  ฐาสิรสวัสดิ์
11. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
12. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
13. อ. นุชนาถ  ประกาศ
14. อ. จริยาพร วรรณโชติ
15. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
16. อ. สุภา คำมะฤทธิ์
17. อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
18. อ. อรพรรณ  บุญลือ

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

1. การ reperfusion ใน STEMI  แม้ว่าจะเกิน 12 ชมไปแล้ว  แต่ถ้ายังมี chest pain  ก็อาจให้ streptokinase (SK) ได้ เพราะ clot ในหลอดเลือดสามารถ on and off ได้

2. การวินิจฉัย STEMI นั้นไม่จำเป็นต้องรอผล troponin   ถ้า EKG ชัดเจนให้วินิจฉัยได้เลย

3. การใช้ Score ในการ dectect  STEMI  แนะนำให้ใช้ GRACE risk score มากกว่า TIMI score

4. การให้ SK ใน STEMI  ตำราในอดีตกล่าวว่า   ถ้าจะให้ซ้ำต้องรอเวลา 2 ปี   แต่ตำราใหม่กล่าวว่า สามารถให้ได้ภายใน 1 ปี   ส่วนการเกิด immune จะเกิดหลังจากวันที่ 5 ที่ได้รับยานี้

5. Reperfusion sign ได้แก่  [...]

Tags: , , ,

สรุปความรู้จากการประชุม วิชาการ Essential pain management(EPM)

ชื่อ-สกุลผู้สรุป   อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)
สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
วันที่ประชุมจัดการความรู้   14 ธันวาคม  2555   เวลา 13.00 – 14.00 น ณ ห้องทำงานภาควิชาการพยาบาลเด็ก  ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้

1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
3. อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
4. อ. ขวัญสุวีย์  อภิจันทรเมธากุล
5. อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
6. อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
7. อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
8. อ. ดร  ทองสวย  สีทานนห์
9. อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
10. อ. ปาลีรัญญ์  ฐาสิรสวัสดิ์
11. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
12. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
13. อ. นุชนาถ  ประกาศ
14. อ. จริยาพร วรรณโชติ
15. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
16. อ. สุภา คำมะฤทธิ์
17. อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
18. อ. อรพรรณ  บุญลือ

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

สืบเนื่องจาก อ. ยศพล  เหลืองโสมนภา ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ Essential pain management(EPM)  ในวันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน 2555  ณ. วพบ นครสวรรค์ โดยมีวิทยากรจาก นิวซีแลนด์  ออสเตรเลียและมาเลเซีย  ร่วมกับวิทยากรกลุ่มจาก สมาคมการศึกษาความปวดประเทศไทย  เนื้อหาการประชุมครั้งนี้ใช้หลักสูตร Essential pain management ที่พัฒนาและได้รับการสนับสนุนจาก Faculty of pain medicine (FPM), Australian and New Zealand College of Anaesthetists     ประกอบด้วย essential pain management  และหลักการสอนผู้ใหญ่ (Adult learning) โดยผู้จัดมีความคาดหวังว่า  ผู้เข้าร่วมประชุมจะเข้าใจแนวทางการจัดการความปวด และสามารถนำแนวทางที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปขยายผลให้กับผู้อื่นได้ต่อไป  การประชุมในครั้งนี้ใช้รูปแบบ การบรรยาย   การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นจากกลุ่ม  รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในกลุ่มย่อย  การฝึกสอนแบบบรรยายและการฝึกสอนแบบ group discussion       [...]

Tags: , ,

ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคทดลอง ฐานการวัดสัญญาณชีพ วิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

ชื่อเรื่องวิจัย      ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคทดลอง ฐานการวัดสัญญาณชีพ วิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

ผุ้รับผิดชอบ      อาจารย์อรัญญา บุญธรรม

ความเป็นมาและความสำคัญ       จากประสบการณ์การสอนภาคทดลองในวิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล ฐานการวัดสัญญาณชีพในปีการศึกษา 2555 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง พบว่า นักศึกษาไม่สามารถปฏิบัติการวัดสัญญาณชีพได้ถูกขั้นตอนและประเมินค่าได้ถูกต้องภายในเวลาที่จัดให้ 4 ชั่วโมง นักศึกษาจึงจำเป็นต้องไปฝึกนอกเวลา รวมทั้งมีนักศึกษาจำนวน 16 คน ที่สอบภาคทดลองฐานวัดสัญญาณชีพไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด กล่าวคือประเมินค่าสัญญาณชีพตัวใดตัวหนึ่งไม่แม่นยำ หรือได้คะแนนน้อยกว่า 80 จาก 100 คะแนน และต้องมาสอบซ่อมเสริมนอกเวลา  ผู้วิจัยในฐานะผู้สอนจึงต้องการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนในกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคทดลองฐานการวัดสัญญาณชีพว่าแต่ละขั้นตอนที่ทำมาแล้วนั้นว่ามีความเหมาะสมและมีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคทดลองในปีการศึกษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคทดลองฐานการวัดสัญญาณชีพ ในวิชาพย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

กลุ่มตัวอย่าง    นักศึกษาปี 2 ห้อง ข จำนวน 101 คน (ปีการศึกษา 2555)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนฐานการวัดสัญญาณชีพ  วิชา พย. 1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล มี 2 ตอน

ตอนที่1 เป็นรายการประเมิน จำนวน 17 ข้อ มีลักษณะเป็น Rating Scale 5 ระดับ (1 = เห็นด้วยน้อยที่สุด และ5 = เห็นด้วยมากที่สุด)

และตอนที่ 2 เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน

การวิเคราะห์ข้อมูล  ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ)

งบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัย    ไม่มี

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล     อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ความปลอดภัยในการให้ข้อมูล  รวมถึงการนำเสนอข้อมูลในภาพรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษารุ่นต่อไป

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ         นำข้อมูลที่ได้จากการสะท้อนการจัดการเรียนการสอนภาคทอลองฐานการวัดสัญญาณชีพ วิชา พย. 1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลจากผู้เรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในวิชา วิชา พย. 1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลในปีการศึกษาต่อไป [...]

Tags: , ,

พยาบาลกับการเตรียมความพร้อมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างของอาเซียนบวก

“ พยาบาลกับการเตรียมความพร้อมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างของอาเซียนบวก ”

               การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)   กลุ่มประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์  มาเลเซีย  สิงค์โปร์   อินโดนีเซีย  บรูไน  เวียดนาม   กัมพูชา   และพม่า  รวม  10 ประเทศ

 

อาเซียนบวก (ASEAN Plus)  หมายถึงอะไร

ASEAN + 6  คือ  กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ บวกกับ  ประเทศจีน  อินเดีย  ญี่ปุ่น

เกาหลี    ออสเตรเลีย   และนิวซิแลนด์

ASEAN + 8        เพิ่มประเทศรัสเซีย  และอเมริกา

 

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน    มีดังนี้

1.  เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง   การส่งเสริมประชาธิปไตย  หลักนิติรัฐและการเคราพสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน  การระงับข้อพิพาทในภูมิภาคด้วยสันติวิธี

2.  สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ความมั่นคงทางการเงิน

3.  พัฒนาและลดความยากจน  ลดช่องว่างของระดับการพัฒนา เสริมสร้างให้เป็นสังคมเอื้ออาทร

อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

พยาบาลควรมีการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไร

พยาบาลควรมีความรู้/เชี่ยวชาญในศาสตร์ทางการพยาบาล  เน้นการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  ( Humanistic care ) ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  (Patient  center )  มีจรรยาบรรณวิชาชีพในการพยาบาล และ เข้าใจในหลักศาสนา  วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชนชาติต่างๆ  เช่น ผู้ป่วยที่เป็นชาวมุสลิม ช่วงเดือนรอมฎอน ต้องพิจารณาปรับวิธีการจ่ายยาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต  ควรงดนัดผู้ป่วยนอกชาวมุสลิม ในเดือนรอมฎอน เป็นต้น

 

ท่านควรปรับตัวและพัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง  เพื่อเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน

1.  ปรับแนวคิดเชิงบวกของตนเองเกี่ยวกับ  ASEAN

2.  การฝึกให้วัฒนธรรมคุณภาพเป็นวินัยในการทำงาน

3.  ฝึกทักษะภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน

4.  ฝึกทักษะต่าง ๆ ด้านการพยาบาลให้มีฝีมือ

5.  ศึกษาปัญหาสุขภาพของประเทศเพื่อนบ้าน

6.  เรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ของประเทศอาเซียนและชาติที่มาใช้บริการ

7.  ใช้  IT   ในการทำงาน

8.  ติดตามข่าวสารของประชาคมอยู่เสมอ

9.  รู้จักสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมืองของชาติ

10. พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

Tags: , , , ,